Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66279
Title: การศึกษาการผลิตปูนซีเมนต์อลูมินาสูงจากซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้ว
Other Titles: Study on the production of high alumina cement from used silica-alumina
Authors: เปรมฤดี กาญจนปิยะ
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Petchporn.C@Chula.ac.th
Subjects: ปูนซีเมนต์ -- การผลิต
Cement -- Production
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการนำซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ในการเป็นวัตถุดิบผลิตปูนซีเมนต์อลูมินาสูง (HAC) ร่วมกับหินปูนและตะกรันเหล็ก (GGBS) ซึ่งปูนซีเมนต์ที่ผลิตได้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำ เสถียรตะกอนโลหะหนักนิเกิลให้เป็นก้อนแทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ในการทดลองแรกทำการศึกษาถึงผลกระทบที่มีผลต่อการผลิต HAC และแสดงสมบัติทางกายภาพเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานได้แก่ ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความหนาแน่นและค่าระยะเวลาก่อตัว นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจสอบสารประกอบที่เกิดขึ้นด้วยเครื่องเอ็กซเรย์ดีฟแฟรกชั่น (X-Ray Diffraction) ในการวิจัยมีการทดลองสามส่วนคือ ส่วนแรกทำการศึกษาอัตราส่วนของหินปูนต่อซิลิกา-อลูมินาที่ใช้แล้ว (L/Si-AI) ซึ่งแปรค่า ตั้งแต่ 35/65 40/60 45/55 และ 50/50 การทดลองชุดที่สองทำการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิในการเผาซึ่งแปรค่าตั้งแต่ 1200 1300 1400 และ 1450℃ และการทดลองส่วนที่สามทำการศึกษาผลกระทบของเวลาในการ เผาซึ่งแปรค่าตั้งแต่ 1.5 2.5 3.5 และ 4.5 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนนํ้าต่อปูนซีเมนต์ (w/c) ที่ทำให้กำลังรับแรงอัดของ HAC ที่ L/Si-AI เท่ากับ 40/60 อุณหภูมิเผา 1200 ℃ เวลาเผา 2.5 ชั่วโมง ณ อายุ 3 วัน และ HAC ผสม GGBS ณ อายุ 28 วัน มีค่าสูงสุดคือ 0.65 และ 0.60 ตามลำดับ สัดส่วนของ L/Si-AI อุณหภูมิและเวลาเผาที่เหมาะสม ในการผลิต HAC และ HAC ผสม GGBS คือ 40/60 1300 ℃ และ 3.5 ชั่วโมง ตามลำดับโดยกำลังรับแรงอัดของ HAC น้อยกว่าค่ามาตรฐาน ส่วนกำลังรับแรงอัดของ HAC ผสม GGBS ให้ค่าน้อยกว่ามาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่อายุ 28 วัน แต่ที่ 60 วัน จะให้ค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กำลังรับแรงอัดของ HAC ณ สัดส่วน L/Si-AI อุณหภูมิและเวลาเผาที่เหมาะสม อายุการบ่ม 28 วัน จะมีค่าลดลงจากอายุ 3 วัน เท่ากับ 16.7% เป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนเฟส CAH10 ไปเป็น C3AH8 ส่วนกำลังรับแรงอัดของ HAC ผสม GGBS ที่อายุ 28 วัน และ 60 วัน มีค่าเพิ่มขึ้นจากอายุ 3 วัน เท่ากับ 127% และ 186% เป็นผลเนื่องมาจากการ เปลี่ยน เฟส C2AH8 ไปเป็น C3ASH8 ระยะเวลาก่อตัวของ HAC และ HAC ผสม GGBS มีค่าน้อยลงเมื่ออัตราส่วน CaO/Al2O3 สูงขึ้นและระยะเวลาก่อตัวมีค่ามากขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิในการเผา โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าระยะเวลาก่อตัวของ HAC ณ สัดส่วน L/Si-AI อุณหภูมิและเวลาเผาที่เหมาะสมกับมาตรฐาน พบว่ามีค่าไม่ผ่านมาตรฐานและมีค่าน้อยกว่ามาก ส่วนระยะเวลาก่อตัวของ HAC ผสม GGBS เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ต์แลนด์ พบว่ามีค่าผ่านมาตรฐาน เกิดปฏิกิริยาคอนเวอร์ชันใน HAC โดยเปลี่ยนเฟสจาก CAH10ไปเป็น C3AH8 และเกิดปฏิกิริยาลดการคอนเวอร์ชันใน HAC ผสม GGBS ซึ่งเปลี่ยนเฟสจาก C2AH8 ไปเป็น C2ASH8 ซึ่งพบที่อายุ 3 วัน การทดลองที่สองได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของ HAC และ HAC ผสม GGBS ทีผลิตได้ในการทำเสถียรตะกอนโลหะหนักให้เป็นก้อนโดยใช้อัตราส่วนผสมของตะกอนโลหะหนักต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 1.0 w/c = 0.65 ผลการทดลองพบว่าค่ากำลังรับแรงอัด ค่าความหนาแน่น และการชะละลายมีค่าผ่านมาตรฐานโดยมีประสิทธิภาพในการลดการชะละลายเท่ากับ 99.99%
Other Abstract: This research investigated the utilization of spent silica-alumina combined with limestone and ground granulated blast-furnace slag (GGBS) to produce High Alumina Cement (HAC) mixed with GGBS. These cements were used to stabilize Nickel sludge instead of Portland cement. The first experiment was performed to determine not only the factors affecting the HAC manufacturing process, but also the physical properties of HAC and HAC mixed with GGBS, such as the compressive strength, density and setting times. In addition, X-Ray diffraction was utilized in analysing the mineral properties. A total of three kinds of experiment were performed. The first experiment indicated the effect of chemical composition by varying the lime/spent silica-alumina ratio (L/Si-AI) at 35/65 40/60 45/55 and 50/50. The second experiment indicated the effect of the firing temperature by varying temperatures at 1200 1300 1400 and 1450 ℃ The third experiment Indicated the effect of the firing time by varying times at 1.5 2.5 3.5 and 4.5 hours. The results showed that the water/cement ratio (w/c) which made the highest compressive strength in HAC ( L/SI-AI = 40 /60 firing temperature = 1200 ℃ ; firing time = 2.5 hours) and HAC mixed with GGBS at 3 days and at 28 days were 0.65 and 0.60 respectively . The optimum conditions of th e L/Si-AI, firing temperature and firing times for producing HAC and HAC mixed with GGBS were 40/60, 1300 ℃ and 3.5 hours, respectively. By using these conditions, the compressive strength of HAC was lower than Standard and the compressive strength of a HAC mixed with GGBS was lower than standard at 28 days, but within the standard limit of 60 days. The compressive strength of HAC at 28 days decreased by 16.7 % when compared with that of 3 days, due to the changing of phase CAH10 to phase C3AH8, while the compressive strength of HAC mixed with GG BS at 28 days and 60 days increased by 127 % and 186 % in comparison to that of 3 days, due to changing phase C2AH8 to phase C2ASH8. When the setting time of HAC and HAC mixed with GGBS decreased , CaO/AL2O3 ratio increased. In contrast, the setting time of HAC and HAC mixed with GGBS increased when the firing temperature decreased. The setting time of HAC was much lower than standard while HAC mixed with GGBS was within standard. Upon using XRD, it was found that the convertion reaction in HAC occurred by changing CAH10 to phase C3AH8. Similarly, the reconvertion reaction in HAC mixed with GGBS occurred by changing phase C2AH8 to phase C3AH8 at 3 days. As optimum results were obtained from the second experiment, it was reapplied in order to detect the preliminary properties of HAC and HAC mixed with GGBS in the stabilization of nickel sludge by using a nickel sludge/cement ratio of 1.0 and a water/cement ratio of 0.65. The results indicated that compressive strength, density and extraction tests on specimens were all within standard limits.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66279
ISBN: 9740303161
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Premrudee_ka_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch1_p.pdf630.7 kBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch2_p.pdf606.67 kBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch3_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch4_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch5_p.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch6_p.pdf620.27 kBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_ch7_p.pdf599.54 kBAdobe PDFView/Open
Premrudee_ka_back_p.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.