Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6639
Title: การศึกษาระบบการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา : รายงานการวิจัย
Other Titles: A study of undergraduate system in teacher education
Authors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
ประกอบ คุปรัตน์
ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Email: Sukanya.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Pateep.M@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา -- การรับนักศึกษา
วิทยาลัยครู -- การรับนักศึกษา
นักการศึกษา
ครู -- อุปทานและอุปสงค์
บุคลากรทางการศึกษา
การฝึกหัดครู
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของระบบการผลิตบัณฑิตทางการศึกษา สภาพแวดล้อมของสถาบันที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษา องค์ประกอบสภาพแวดล้อมที่สำคัญของสถาบันที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ต่อลักษณะของนิสิตนักศึกษา อันได้แก่ ความเกี่ยวข้องกับสถาบัน คุณค่าส่วนตัว ความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมและการเมือง ทัศนคติต่อวิชาชีพและทัศนะต่อวิชาชีพในบางกรณี และเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อระบบผลิตบัณฑิตทางการศึกษาในระดับต่าง ๆ ในด้านการบริหาร และวิชาการ เพื่อให้การผลิตบัณฑิตทางการศึกษาได้มีประสิทธิภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสถาบัน 3 ประเภทคือ มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Universities) ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยที่เน้นสายการศึกษา (Education Concentrated Universities)ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้ง 8 วิทยาเขต สถานศึกษาเฉพาะการฝึกหัดครู (Specialized Teacher Training Institutions) ได้แก่ วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มอาจารย์คือ อาจารย์ที่ทำการสอนในคณะวิชาหรือสถาบันที่ทำการสอนในทางศึกษาศาสตร์ในระบบมหาวิทยาลัย ศึกษาเฉพาะคณาจารย์ที่เป็นบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์ การศึกษา ส่วนในวิทยาลัยครูผู้วิจัยศึกษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในคณะวิชาการศึกษา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจารย์โดยวีธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยคิดจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรที่มีอยู่ในรายชื่ออาจารย์ประจำของสถาบันและหน่วยงานดังกล่าว ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 506 คน และกลุ่มนิสิตนักศึกษา คือ นิสิตนักศึกษาที่ทำการศึกษาอยู่ในสถาบันต่าง ๆ ดังกล่าว โดยศึกษาในสาขาวิชาเอกครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือต่ำกว่า (Undergraduate) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยคิดจำนวนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรในกลุ่มนี้ทั้งหมด ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 5,197 บาท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ประเภทคือ แบบสำรวจข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่เปิดสอนทางการศึกษา รวมทั้งสิ้น 50 สถาบัน แบบสอบถามนิสิตนักศึกษา แบบสอบถามอาจารย์ การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์สถิติทางสังคมศาสตร์ (The Statistical Package for the Social Sciences : SPSS) ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้การวิเคราะห์ Analysis of Variance และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ สถานภาพของสถาบันการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสายการศึกษาจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ วิทยาลัยที่เน้นสายการศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่ง มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ 5 แห่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยที่มีพื้นฐานจากการเป็นสถาบันการศึกษาเดิม ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งมีทั้งหมด 8 วิทยาเขต วิทยาเขตประสานมิตร วิทยาเขตบางแสน วิทยาเขตพิษณุโลก วิทยาเขตมหาสารคาม วิทยาเขตปทุมวัน วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตพลศึกษา และวิทยาเขตสงขลา ในด้านระยะเวลาการก่อตั้งสถาบันนั้น พบว่า มีทั้งสถาบันที่มีอายุการก่อตั้งน้อยที่สุด คือ ก่อตั้งได้เพียง 1 ปี และเก่าแก่ที่สุด คือ ก่อตั้งมา 60 ปีมาแล้ว รวมอายุเฉลี่ยของสถาบันประมาณ 29.91 ปี ในด้านความหลากหลายของสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ววิทยาลัยครูจะมี 3 คณะวิชา มหาวิทยาลัยทั่วไปจะมี 11 คณะวิชา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะมี 8 คณะวิชา เงินลงทุนทางการศึกษา แหล่งที่มาของเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินงบประมาณแผ่นดินในกลุ่มวิทยาลัยครูในปี 2520 คิดเป็นร้อยละ 65.12 และลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งเหลือร้อยละ 15.98 ส่วนในกลุ่มมหาวิทยาลัยทั่วไปและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ในลักษณะเดียวกันกับวิทยาลัยครู คือ เงินลงทุนทางการศึกษาส่วนใหญ่มาจากเงินงบประมาณ จะมีเงินนอกงบประมาณเยงไม่เกินร้อยละ 10 ลักษณะทั่วไปของนักศึกษา จากผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนระหว่างจำนวนนักศึกษาชายและหญิงใกล้เคียงกันในสถานศึกษาทุกประเภท การเรียนภาคสมทบ มีจำนวนมาในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยครูและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับที่ทำการศึกษาของนักศึกษาพบว่า ในระบบวิทยาลัยครูยังมีจำนวนนักศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีอยู่ร้อยละ 29.27 ส่วนในมหาวิทยาลัยทั่วและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไม่มีเลย ในระดับปริญญาโทนั้น วิทยาลัยครูยังไม่มีสอน แต่ในมหาวิทยาลัยทั่วและมหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒจะมีสอนอยู่ร้อยละ 4.00 และ 4.57 ตามลำดับ จำนวนผู้เรียนในสายการศึกษานั้น พบว่า ในวิทยาลัยครูร้อยละ 100 เป็นผู้เรียนสายการศึกษาทั้งหมด ในมหาวิทยาลัยทั่วไปในปี 2519 มีนักศึกษาสายการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 39.85 และลดลงเรื่อย ๆ จนในปี 2523 เหลือเพียงร้อยละ 27.20 ส่วนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น ในปี 2519 มีผู้เรียนสายการศึกษาร้อยละ 100 แต่ในช่วง 5 ปี ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 94.00 วุฒิการศึกษาที่จบพบว่า ในปี 2519 นักศึกษาวิทยาลัยครูจบการศึกษาระดับอนุปริญญาถึงร้อยละ 89.20 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 10.78 และนักศึกษาที่จบปริญญาตรีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในปี 2523 มีนักศึกษาจบปริญญาตรีถึงร้อยละ 29.78 ในมหาวิทยาลัยทั่วไป ในปี 2519 ในทางปฏิบัติแทบไม่มีนักศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเลย ส่วนในระดับปริญญาโทนั้นก็ได้เริ่มมีจำนวนผู้จบมากขึ้นเป็นลำดับ คือ จากร้อยละ 1.01 ในปี 2519 เป็นร้อยละ 3.23 ในปีการศึกษา 2523 เช่นเดียวกันกลุ่มมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่ผู้จบการศึกษาส่วนใหญ่จะมาจากวิทยาเขตประสานมิตร สถานภาพของอาจารย์ จากผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มวิทยาลัยครูมีบุคลาในตำแหน่ง "อาจารย์" ในอัตราสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 98.92 ในขณะที่มหาวิทยาลัยทั่วไปมีตำแหน่ง "อาจารย์" ร้อยละ 73.97 นอกนั้นเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ส่วนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีตำแหน่ง "อาจารย์" ร้อยละ 65.07 และมีร้อยละ 34 ที่มีตำแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ คุณวุฒิของอาจารย์ พบว่า ในวิทยาลัยครูมีอาจารย์ในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า ร้อยละ 55.62 ในมหาวิทยาลัย มีร้อยละ 56.53 ส่วนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีถึงร้อยละ 70.41 สำหรับอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโทนั้น พบว่า ในวิทยาลัยครูมีถึงร้อยละ 43.24 ส่วนมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีอยู่ร้อยละ 28.76 และ 23.80 ตามลำดับ อายุอาจารย์ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ระหว่าง 26-40 ปี วุฒิการศึกษา ส่วนใหญ่อาจารย์จะมีวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 64.8 ส่วนในระดับปริญญษเอกนั้น พบว่า ในวิทยาลัยครูมีเพียงร้อยละ 1.7 ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีร้อยละ 16.4 และ 12.0 ตามลำดับ ตำแหน่งทางวิชาการพบว่า ส่วนมากยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงกว่าอาจารย์ที่คงอยู่ในตำแหน่งอาจารย์เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 87.7 โดยจำแนกตามสถาบันแล้วพบว่า กลุ่มวิทยาลัยครูมีตำแหน่งทางวิชาการเพียงอาจารย์ถึง ร้อยละ 95.4 มหาวิทยาลัยทั่วไป และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีอาจารย์ร้อยละ 46.3 และ 72.0 ตามลำดับ อาจารย์ส่วนใหญ่ทำงานสอนประมาณ 5-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 70.1 เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า กลุ่มอาจารย์ในวิทยาลัยครูสอนตั้งแต่ 13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 22.2 ส่วนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ และมหาวิทยาลัยศรรีนครินทรวิโรฒ สอนตั้งแต่ 13 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 7.5 และ 8.0 ตามลำดับ อาจารย์ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 23.5 ทำงานบริหารนอกเหนือจากงานสอนด้วยประมาณ 6-10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 23.5 เกี่ยงกับกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มอาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วไปใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการสอนค่อนข้างมาก และแตกต่างจากลุ่มอาจารย์จากวิทยาลัยครู และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติต่อวิชาชีพครู พบว่าอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีทัศนคติแตกต่างจากอาจารย์กลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ มีทัศนคติต่ำกว่ากลุ่มอาจารย์จากมหาวิทยาลัยทั่วไปและวิทยาลัยครู ความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสในการทำงาน พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์จากวิทยาลัยครู และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยอาจารย์จากวิทยาลัยครูมีความคิดเห็นว่าจะมีโอกาดีกว่าถ้าหากได้ย้ายไปทำงานในมหาวิทยาลัยอื่น การเขียนบทความทางวิชาการ พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่เคยเขียนบทความทางวิชาการ จำนวนหนังสือหรือตำราทีได้เคยเขียน พบว่า ส่วนมากเคยเขียนตำรามาแล้ว 1-2 เล่ม การเน้นการวิจัยหรืองานสอน พบว่า อาจารย์ส่วนมากทำทั้งการวิจัยและงานสอนพร้อมกันไปด้วย การให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่นิสิตนักศึกษาต่อสัปดาห์พบว่า อาจารย์ส่วนมากให้คำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษา 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วุฒิการศึกษาของอาจารย์ ส่วนมากเป็นสายการศึกษาหรือวิชาครูและส่วนมากสายวิชาที่ทำการสอนในปัจจุบันเป็นสายการศึกษาหรือวิชาครูทั้งสิ้น สถานภาพของนิสิตนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตนักศึกษาทั้งสามสถาบันนั้นส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง20-24 ปี ที่พักของนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ บ้านหรือหอกักเอกชนให้เช่า โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วไปและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะพักหอพักกมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก รองลงมานักศึกษาวิทยาลัยครูจะพักอยู่บ้านบิดามารดาหรือบ้านส่วนตัวเป็นอันดับรองลงมา ด้านการทำงานหารายได้ พบว่า นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ทุกสถาบันจำนวนร้อยละ 75 ยังไม่ได้ทำงานใด ๆ การศึกษาของบิดามารดาของนิสิตนักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ของผู้อุปการะนิสิตนักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ผู้อุปการะนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั่วไปและมหาวิทยราลัยศรีนครินทรวิโรฒจะมีรายได้ระหว่าง 3,001-5,000 บาทต่อเดือน ส่วนรายได้ของผู้อุปการะนักศึกษาวิทยาลัยครูส่วนใหญ่จะมีรายได้ระหว่าง 2,001-3,000 บาทต่อเดือน องค์ประกอบสภาพแวดล้อมที่สำคัญของสถาบันที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ต่อลักษณะของนิสิตนักศึกษา จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของค่านิยมด้านต่าง ๆ ของนิสิตนักศึกษาตามประเภทของสถาบัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่านิยมในด้านความเกี่ยวข้องสถาบัน พบว่า นักศึกษาทุกหลักสูตร ทุกชั้นปีมีความคิดเห็นเกี่ยงกับความเกี่ยงข้องกับสถาบัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี ไม่พบว่ามีความแตกต่างในความเกี่ยวข้องกับสถาบัน ค่านิยมในด้านคุณค่าส่วนตัว พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยครู หลักสูตร ป.กศ สูง 2 ปี มีความแตกต่างระหว่างชั้นปีของคุณค่าส่วนตัว ในด้านความสนใจในการเล่าเรียน และความคิดสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสิติ ส่วนคุณค่าส่วนตัวด้านอื่น ๆ ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน นักศึกษาวิทยาลัยครู หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปีมีความแตกต่างระหว่างชั้นปีของคุณค่าส่วนตัวในด้านความเมตตากรุณา ความสนใจในการเล่าเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนคุณค่าส่วนตัวด้านอื่น ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน นักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วไป หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี มีความแตกต่างระหว่างชั้นปี ของคุณค่าส่วนตัวในด้านคุณค่าในเชิงปรัชญา ความเมตตากรุณา การควบคุมตัวเองในสังคม ความซื่อสัตย์ และความคิดสร้างสรรค์ ส่วนคุณค่าส่วนตัวในด้านอื่น ไม่พบว่ามีความแตกต่าง นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี มีความแตกต่างระหว่างชั้นปีของคุณค่าส่วนตัว ในด้านความซื่อสัตย์ และความในใจในการเล่าเรียน ส่วนคุณค่าส่วนตัวในด้านอื่น ไม่พบว่ามีความแตกต่าง นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี ไม่มีความแตกต่างระหว่างชั้นปีของคุณค่าส่วนตัวทุก ๆ ด้าน ค่านิยมในด้านความคอดเห็นเกี่ยวกับสังคมและการเมือง พบว่า ในแต่ละชั้นปีเมื่อจำแนกตามประเภทของสถาบันแล้วพบว่า นักศึกษาวิทยาลัยครู หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี มีความแตกต่างของความคิดเห็นเกี่ยงกับสังคมและการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนสถาบันอื่นไม่พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน ค่านิยมในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติต่อวิชาชีพ พบว่า ในแต่ละชั้นปีเมือจำแนกตามประเภทของสถาบันแล้วพบว่า นักศึกษาวิทยาลัยครู หลักสูตร ป.กศ. สูง 2 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยศรรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี มีความแตกต่างของความคอเห็นเกี่ยวกับทัศนคติต่อวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสถาบันอื่น ไม่พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน จากผลการวิจัยที่พบผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระบบผลิตบัณฑิตทางการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อให้การผลิตบัณฑิตทางการศึกษาได้มีประสิทธิภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ดังนี้ ด้านวิชาการ: การพัฒนาคณาจารย์ 1. จัดหาครู-อาจารย์ที่มีความสามารถเข้ามาสู่ระบบ โดยสอดส่องสรรหาผู้รู้มาช่วยพัฒนา โดยอาจมีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกันระหว่างสถาบันกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ขึ้น อันเป็นการแสดงหาความรู้ทางวิชาการเพิ่มขึ้น 2. ส่งเสริมให้คณาจารย์ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ให้มีโลกทัศน์กว้างอันจะมีผลต่อการทำงานและคิดอะไรได้ไกล 3.จัดหาทุนเพื่อเปิดโอกาให้ครู-อาจารย์ไปศึกษาอบรมดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในและต่างประเทศ และควรทำอย่างต่อเนื่อง 4. สนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการ หรือทำงานวิจัยมากขึ้น เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 5. ส่งเสริมให้ครู-อาจารย์ได้ศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจะได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น 6. จัดให้มีการบรรยายพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคนิคความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเรียนการสอน และของสังคมแก่ครู-อาจารย์ เพื่อที่ครูจะนำความรู้นั้นไปใช้ในการเรียนการสอนที่เป็นผู้สอน 7. จัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อสร้างความเข้าใจ โดยมุ่งอนาคตบนพื้นฐานความเข้าใจอดีตและปัจจุบัน และพัฒนาระบบการอบรมสัมมนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว การพัฒนานักศึกษา 1. การเรียนการสอนควรเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ สนับสนุนและติดตามผลการเรียนมากกว่าครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้อย่างเดียว โดยอาจใช้กระบวนการกลุ่ม (group dynamics) ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 2. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้าน วิถีชีวิตสังคมเมือง ประเทศชาติและประชาคมโลก เพื่อให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนท้องถิ่น เรียนรู้สภาพที่เป็นจริง และอันจะเป็นการสร้างความเข้าใจ ความผูกพันกับชุมชนท้องถิ่นด้วย 3. จัดให้มีทุนสนับสนุให้มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการวิจัยภาคสนามของนักศึกษาและอาจารย์เพื่อการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น 4. จัดเวที (forum) ทางวิชาการของอาจารย์และนิสิตนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อพัฒนาความคิดความรอบรู้ ด้านบริหาร 1. พัฒนาคณาจารย์ระดับผู้บริหารหรือผู้นำ (key persons) ขึ้นก่อนแล้วให้ผู้บริหาร หรือผู้นำไปพัฒนาครู -อาจารย์ที่อยู่ในสังกัดต่อไป เพื่อให้โอกาสผู้นำธรรมชาติ (natural leaders) มากกว่าผู้นำโดยสถานภาพ (status leaders) 2. จัดงบประมาณในการดำเนินการพัฒนาคณาจารย์ โดยจะต้องจัดในรูปของเงินอุดหนุนที่มากเพียงพอที่จะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และจะต้องจัดสรรงบประมาณส่วนนี้อย่างชัดเจน และรัฐต้องให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 3. พัฒนาคุณภาพบัณฑิตทางการศึกษาทุกแห่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เคียงบ่าเคียงไหล่กับมาตรฐานต่างประเทศ 4. ปรับปรุงห้องสมุดและจัดสรรงบประมาณเพิ่มสำหรับการจัดหาหนังสือ เอกสาร วัดสุการเรียนการสอนให้เป็นศูนย์สารสนเทศให้เพียงพอ และให้เอื้อต่อการศึกษาและค้นคว้าของครู-อาจารย์ และนักศึกษา โดยการจัดหาเครื่องช่วยในการเรียนการสอน ได้แก่ สื่อต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ และวิดีโอ เป็นต้น 5. จัดรูปองค์การของสถาบันที่รับผิดชอบในการผลิตครู โดยอาจปรับรูปแบบการบริหารและกลไกในการบริหารใหม่ เพื่อให้ความเป็นเอกภาพในการบริหาร และการปรับปรุงพัฒนาทางด้านวิชาการ เป็นต้น
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6639
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukunya(Study).pdf8.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.