Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66402
Title: Effect of Serotonin depletion and chemically-induced inflammation on nociceptive behavior and expression of 5-HT[subscript 2A] receptor in rat central nervous system
Other Titles: ผลของภาวะพร่องซีโรโตนินและการอักเสบที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยสารเคมีต่อพฤติกรรมเจ็บปวดและการแสดงออกของตัวรับ 5-HT[subscript 2A] ในระบบประสาทส่วนกลางของหนูขาว
Authors: Maroot Kaewwong
Advisors: Anan Srikiatkhachorn
Other author: Chulalongkorn University. Graduate school
Advisor's Email: Anan.S@Chula.ac.th
Subjects: Pain
Inflammation
Serotonin
ความเจ็บปวด
การอักเสบ
เซโรโทนิน
Issue Date: 2005
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Background – Serotonin (5-HT) is important neurotransmitters in pain pathway. This transmitter modulates pain perception via its diversity of receptor. 5-HT₂ receptor has controversial roles in pain modulation. Its role in nociceptive behavior and cortical activity are still unclear. Objectives- The proposed study aims at investigating (1) the role of 5-HT₂ receptor in chronic pain model as well as the development of chronic pain state (2) the effect of 5-HT depletion on the changes of pain sensation including role 5-HT₂ receptor as well. Methods – This study separated into 2 parts. The First experiment male Wistar rats were divided into inflammation and control group (25 rats each) The inflammation was induced by subcutaneous injection of complete Freund’s Adjuvant (CFA, 0.05 ml) or saline into rats’ right hind paw. After injection both groups were subdivided into 5 subgroups each (n=5) Rats were observed their behaviors at 0 hour 1,3,5 and 7 days Then were evaluated thermal hyperalgesia by paw withdrawal test. After that rats were sacrificed and brains were removed for Fos immunohistochemical study. The day-3 group was selected to study the effect of ketanserin a 5-HT₂ receptor antagonist Ketanserin (0.3 mg/kg body-weight) was i.p administered l hour prior to a 30-minute video recording the study their behavior Four hours after the first injection ketanserin was administered again to study its effect on thermal hyperalgesia Rats were sacrificed for Fos immunohistochemical study The second experiment, male Wistar rats were divided into 5-HT depletion and control group (25 rats each ) The 5-HT depleted state was induced by i.p injection of para-chlorophenylalanie (PCPA) 100 mg/kg body-weight Three days after rats were subcutaneous injection of saline into rats right hind paw Then subdivided ir.to 5 subgroups each (n=5) After that rats were evaluated by 3 procedures as in the first experiment The role of 5-HT2A was perfomed by using ketanserin same as in the first experiment.
Other Abstract: ความเป็นมา – ซีโรโตนิน (5-HT) เป็นสารสี่อประสารที่สำคัญในวิถีความเจ็บปวด สารสื่อประสาทชนิดนี่ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนความรับรู้สึกเจ็บปวดผ่านทางตัวรับที่หลากหลาย ตัวรับซิโรโตนินชนิด 2 เอ ยังมีบทบาทที่ขัดแย้งกันอยู่ บทบาทของตัวรับชนิดนี้ในพฤติกรรมความเจ็บปวดและกระบวนการทำงานของสมองใหญ่ยังไม่เป็นที่แน่นชัด วัตถุประสงค์ – การทดลองแรก ใช้หนูพันธุ์วิสตาร์เพศผู้ (หนัก 200-300 กรัม ) แบ่งเป็นกลุ่มที่ทำให้เกิดการอักเสบและกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 25 ตัว) การเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบทำโดยการใช้ complete Freund’s Adjuvant (CFA) 0.05 มิลลิลิตร ฉีดเข้าที่ฝ่าเท้าขวาและให้น้ำเกลือในกลุ่มควบคุม หลังจากฉีดยาแล้วแบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย (กลุ่มละ 5 ตัว) ทำการสังเกตพฤติกรรมความเจ็บปวดของหนูเมื่อเวลาผ่านไป 0 ชั่วโมง. 1, 3, 5 และ 7 วัน โดยทำการบันทึกวีดีโอเป็นเวลา 30 นาที หลังจากนั้นนำหนูมาทำการทดสอบความเจ็บปวดโดยใช้ความร้อนเหนี่ยวนำ จากนั้นทำการเก็บสมองมาศึกษา อิมมูโนฮิลโตเคมของโปตีน Fos หนูกลุ่ม 3 วันถูกเลือกมาศึกษาผลของคีดานเซอรีน ซึ่งเป็นเอนตาโกนิสต่อตัวรับซีโรโตนินชนิด2เอ โดยให้0.3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเข้าทางช่องท้อง ก่อนที่จะทำการบันทึกวิดีโอ 1 ชั่วโมง เพื่อศึกษาพฤติกรรมของหนู หลังจากให้คีตานเซอรีนครั้งแรก 4 ชั่วโมงทำการให้คีตานเซอรีนอีกครั้ง เพื่อศึกษาการทดสอบของโปรตีน Fos การทดลองที่ 2 ใช้หนูพันธุ์วิสตาร์เพศผู้แบ่งเป็นกลุ่มพร่องซีโรโตนิน และกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 25 ตัว) การเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะพร่องซีโรโตนินโดยการฉีด para-chlorophenylalanine (PCPA) 100 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้าทางช่องท้อง หลังจากนั้น 3 วัน นำมาฉีดน้ำเกลือเข้าที่ฝ่าเท้าขวา จากนั้นทำมาแบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย แล้วทำการศึกษาโดยใช้กระบวนการวัดเช่นเดียวกับในการทดลองแรก บทบาทของตัวรับซีโรโตนินชนิด 2เอ ทำเช่นเดียวกับการทดลองแรก ผลการทดลอง – ในการทดลองแรก หนูแสดงพฤติกรรมความเจ็บปวด เช่น การลงน้ำหนักที่ไม่เท่ากันของเท้าทั้ง 2 ข้าง การยกเท้าการเลียแผลในด้านที่ทำให้เกิดการอักเสบในหนูที่ได้ CFA ตลอดเวลา 5 ช่วงที่ทำการสังเกต (575.7±273.0, 685.3±138.1, 136.3±81.6, 23.3±302, 18.5±37.0 วินาทีในช่วงเวลา 30 นาที ตามลำดับ) ในขณะที่หนูกลุ่มควบคุมไม่แสดงพฤติกรรมเหล่านี้เลย หนูทดลองมีระยะเวลาชักขาออกจากการเหนี่ยวนำด้วยความร้อนเร็วขึ้นในขาข้างที่อักเสบ (4.5±0.7, 6.3±1.8, 5.3±1.3, 5.9±1.5 ,8.9±1.8วินาที ตามลำดับ p<0.05) และยังพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการแสดงออกของโปรตีน Fos ในวันที่ 3 ในเปลือกสมองส่วนรับรู้สึกทั้งด้านตรงข้ามกับอักเสบ และด้านที่อักเสบ (22±6, 24±12 เซลล์ต่อพื้นที่ ตามลำดับ p<0.05) พฤติกรรมความเจ็บปวดลดลงอย่างมากเมื่อให้คีตานเซอรีน (5.6±12.52 วินาที p<0.05)และให้ผลในการเอนตาโกไนซ์การอักเสบที่เกิดขึ้นจาก CFA (14.3±2.2 วินาที p<0.05) ในการทดสอบความเจ็บปวดโดยใช้ความร้อนเหนี่ยวนำ และยังลดการแสดงออกของ Fos ในเปลือกสมองส่วนรับรู้สึกด้านตรงข้ามที่อักเสบได้ (7±2 เซลล์ต่อพื้นที่) ในขณะที่พบแนวโน้มการลดลงในด้านเดียวกับที่อักเสบ (7±3 เซลล์ต่อพื้นที่) การทดลองที่ 2 พบว่าการให้ PCPA ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่มีผลต่อพฤติกรรมของหนู) อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการลดลงของเวลาในการชักขาออกในด้านที่ฉีดน้ำเกลือเฉพาะในวันที่ 1 (7.9±1.2 วินาที ) และ 7 (6.8±1±8 วินาที) หลังจากฉีดน้ำเกลือ นอกจากนี้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงจำนวน Fos โปรตีน ตลอดระยะเวลาทดลอง การให้คีตานเซอรีนมีผลทำให้เพิ่มพฤติกรรมการพักผ่อนและนอนหลับมากขึ้นในหนูกลุ่มที่พร่องซีโรโดนินแต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาการชักขาออกเมื่อเหนี่ยวนำความเจ็บปวดด้วยความร้อนและการแสดงออกของจำนวน Fos โปตีน สรุป - การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ตัวรับซีโรโตนินชนิด 2 เอ มีบทบาทในการเหนี่ยวนำให้เกิดความเจ็บปวดในภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรัง และพบว่าในภาวะปกติตัวรับชนิดนี้มีบทบาทที่ไม่สำคัญในการปรับเปลี่ยนความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยความร้อน
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66402
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1822
ISBN: 9745310719
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1822
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maroot_ka_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.26 MBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1650.24 kBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch2_p.pdfบทที่ 22.03 MBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch3_p.pdfบทที่ 31.11 MBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch4_p.pdfบทที่ 43.41 MBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch5_p.pdfบทที่ 5715.09 kBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_ch6_p.pdfบทที่ 6625.39 kBAdobe PDFView/Open
Maroot_ka_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.