Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66476
Title: การสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Communication for ecotourism management of Bangnumpeung community, Phapradaeng district, Samutprakarn province
Authors: กรชวัล น้ำใจดี
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- สมุทรปราการ
บางน้ำผึ้ง (สมุทรปราการ)
การสื่อสารระหว่างบุคคล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารของสมาชิกในชุมชนบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ที่ใช้ในการจัดการการท่องเที่ยว 2. เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1.วิธีการสื่อสารของสมาชิกในชุมชนบางน้ำผึ้งที่ใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวมี 3 ระยะสำคัญคือ 1.1ระยะก่อตัว ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้งริเริ่มความคิดในการแก้ไขปัญหา โดยวิธีการสื่อสารในชั้นนี้จะเป็นการสื่อสารภายในตนเอง จากนั้นจึงนำความคิดที่ได้ไปปรึกษากับกลุ่มผู้นำชุมชน โดยวิธีการสื่อสารในชั้นนี้จะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างไม่เป็นทางการ อาศัยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยประเด็นที่พูดคุยจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ต่อมาจึงนำประเด็นนี้ไปสู่การประชุมประชาคมตำบลบางน้ำผึ้ง ซึ่งวิธีการสื่อสารในชั้นนี้จะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมประชาคมตำบล การติดป้ายประกาศ การสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การพูดคุยแบบปากต่อปาก ประเด็นในการพูดคุยคือ กำหนดการนัดหมายประชุมประชาคมตำบลความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาด การท่องเที่ยวภายในชุมชน 1.2ระยะดำเนินการ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลและชาวบ้านบางน้ำผึ้งเริ่มดำเนินการเปิดตัว โดยวิธีการสื่อสารในชั้นนี้จะเป็นการประชุมพูดคุยอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมกับหน่วยราชการภายนอก และการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ การพูดคุยกับประชาชนในชุมชน ช่องทางการสื่อสารที่ใช้ คือ การออกจดหมายจากส่วนราชการถึงส่วนราชการ การพูดคุยกับผู้นำครอบครัว โดยประเด็นในการพูดคุย คือ โน้มน้าวใจและชี้ให้เห็นประโยชน์ของการท่องเที่ยวภายในชุมชน 1.3ระยะประสานงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว ได้แก่ การประสานงานกับกลุ่มองค์กรและกลุ่มอาชีพในชุมชน โดยวิธีการสื่อสารในชั้นนี้จะเป็นการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำกลุ่ม โดยชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการท่องเที่ยว การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยวิธีการสื่อสารที่ใช้จะเป็นการพูดคุยอย่างเป็นทางการ เพื่อขอความร่วมมือและการสนับสนุนการประสานงานไปยังสื่อมวลชนเพื่อทำการประชาสัมพันธ์ในชั้นนี้วิธีการสื่อสารจะเป็นการให้ผู้นำชุมนุมเป็นผู้บอกข่าวไปยังสื่อมวลชน มีการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารระหว่างสมาชิกในชุมชน จะเป็นการพูดคุยแบบปากต่อปากอย่างเป็นกันเอง ช่องทางการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ การพูดคุยในร้านชำ ป้ายประกาศ และหอกระจ่ายข่าว โดยประเด็นเนื้อหาที่สื่อสารคือ การท่องเที่ยวที่ไม่ทำลาย และการท่องเที่ยวที่คงไว้ซึ่งประเพณีและวิถีชีวิต 2.บทบาทของผู้นำชุมชนที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบางน้ำผึ้งมี 3 ระยะสำคัญคือ 2.1ระยะก่อตัว ผู้ที่ริเริ่มแนวความคิดการท่องเที่ยวภายในชุมชนบางน้ำผึ้ง นายสำเนาว์ รัศมิทัต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โดยเริ่มจากความต้องการแก้ไขปัญหาของชุมชน 2.2ระยะดำเนินการ ผู้ที่มีบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบางน้ำผึ้งในชั้นนี้คือ กลุ่มผู้นำและผู้อาวุโสในชุมชนบางน้ำผึ้งซึ่งนำโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง โดยมีส่วนในการกำหนดแผนการจัดการและกฎระเบียบ 2.3ระยะประสานงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว กลุ่มผู้นำมีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ คือ บทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร บทบาทในการดูแลและบริการนักท่องเที่ยว และบทบาทในการแก้ไขปัญหา
Other Abstract: The objectives of this research are to study the communication methods of members of Bangnumpeung Community, Phapradaeng District, Samutprakarn Province in eco-tourism development, and to study the role of the community leaders in eco-tourism development in the community. Key methodologies used for the qualitative research are participated and non-participated observation, as well as in-depth interview with key informants. The results are as follows: 1. The methods of communications used by Bangnumpeung Community members for tourism development can be divided into three phases, 1.1 Initiation Phase – Communication methods used in this phase were intra-personal communication, informal interpersonal communication and formal interpersonal communication. At first, the President of Bangnumpeung District Administration Organization used intra-personal communication to initiate ideas to solve problems in the community. Then, he used informal interpersonal communication to discuss his ideas with the community leaders. After that, the ideas were discussed by using formal interpersonal communication (district hearing, public announcement) and infornal interpersonal interpersonal communication (verbal communication). Topics discussed were agenda for district hearings, possible solution for solving the problems of oversupply, and eco-tourism development in the community. 1.2 Preparation Phase – While the District Administration Organization and community leaders started communicate with people in the community, communication method used in this phase were formal interpersonal communication (formal meeting with public organizations concerned) and informal interpersonal communication (discussions with people in the community.) Channels of communication were letters from public organizations and discussion with family leaders. The object of the communication during this phase was to convince people in the community about the benefits of eco-tourism development within the community . 1.3 Implementation Phase – During this phase, the leaders of the community tried to co-ordinate with key local organizations in the community to promote and manage co-tourism in the community. Communication methods used during this phase were informal and formal interpersonal communication. Informal discussion about the benefits of tourism promotion was held between the community leaders and leaders of local organizations. Formal discussion was used to communicate with the public sector in order to ask for support. In addition the community leaders also coordinated with the media promote tourism in the community. In doing so, communication methods used were word-of-mouth communication with the media, leaflets, and exhibition boards. Communication between members of the community, meanwhile, was conducted using informal oral communication. Key channels of communications were verbal communication in grocery stores, public announcement and local news station. Key topics communicated were sustainable tourism development. 2. Role of community leaders in eco-tourism development in Bangnumpeung Community, can be divided into three phases namely; 2.1 Initiation Phase – Mr. Samnau Rasamitud, the President of Bangnumpeung District Administration Organization, was the one who initiated the idea of tourism promotion in the community as he wanted to improve the quality of life people in the areas. 2.2 Preparation Phase – Leaders and senior citizens of the community, led by the President of Bangnumpeung District Administration Organization who helped set the implementation plan, played major role in eco-tourism development in Bangnumpeung Community.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66476
ISBN: 9741438176
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornchawan_na_front_p.pdf952.14 kBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_ch1_p.pdf962.96 kBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_ch2_p.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_ch3_p.pdf763.92 kBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_ch4_p.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Kornchawan_na_back_p.pdf683.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.