Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6647
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปิยนาถ บุนนาค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-22T07:20:13Z | - |
dc.date.available | 2008-04-22T07:20:13Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6647 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคมของบุคคลในสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือ ตั้งแต่รัชการที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2325-2394) โดยเน้นการเลื่อนชั้นทางสังคมในระบบราชการซึ่งเป็นวิถีทางที่บุคคลจะได้เลื่อนชั้นทางสังคมมากที่สุดทั้งนี้โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 บท นอกเหนือจากบทนำซึ่งกล่าวถึงแนวความคิดเบื้องต้นทางด้านสังคมวิทยาเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นทางสังคมแล้ว ได้แก่บทที่ 1 ว่าด้วยการจัดช่วงชั้นทางสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น และแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นทางสังคมในสมัยรัตนโกสิทนร์ตอนต้น บทที่ 2 เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของบ้านเมืองที่ส่งผลต่อสถานการณ์ในการเลื่อนชั้นทางสังคม บทนำและสองบทแรกนี้เป็นพื้นฐานและแนวทางสำหรับการศึกษาการเลื่อนชั้นทางสังคม ในสถานการณ์บ้านเมืองปกติ บทที่ 4 และการศึกษาเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นทางสังคมในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ ในบทที่ 5 การศึกษาในสามบทหลังนี้จะพิจาณาถึงประเภทของบุคคลที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในแต่ละสถานการณ์ สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลื่อนชั้นทางสังคม แบบและลักษณะของการเลื่อนชั้นทางสังคม ตลอดจนผลต่อสังคมโดยส่วนรวม ผลจากการศึกษาพบว่า การจัดช่วงชั้นทางสังคมของสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นแบ่งบุคคลออกเป็นสองชนชั้นใหญ่ คือ ชนชั้นผู้ปกครองซึ่งได้แก่ เจ้ากับขุนนางและชนชั้นผู้ถูกปกครอง ซึ่งได้แก่ ไพร่ กับทาส นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะพิเศษไปจากสองชนชั้นดังกล่าว ได้แก่บุคคลนอกระบบไพร่ คือชาวจีน กับชาวตะวันตกประเภทหนึ่ง และสมณชีพราหมณ์ อีกประเภทหนึ่ง ปรากฏว่าบุคคลที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในทุกสถานการณ์ คือ กลุ่มเจ้าและขุนนาง เช่นเดียวกับพระสงฆ์ซึ่งแม้จะมีจำนวนผู้ได้เลื่อนชั้นทางสังคมไม่มากเท่าบุคคลสองกลุ่มแรกแต่ก็เป็นพวกที่ได้เลื่อนชั้นทางสังคมในทุกสถานการณ์ ส่วนไพร่เพิ่งมาปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมอย่างชัดเจนในภาวะบ้านเมืองปกติ เช่นเดียวกับบุคคลนอกระบบไพร่ทั้งชาวจีนและชาวตะวันตก สำหรับทาสนั้น ไม่ปรากฏการเลื่อนชั้นทางสังคมให้เห็นเป็นตัวบุคคล ทั้งๆที่กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการเลื่อนชั้นทางสังคมได้ นอกจากนี้ เจ้าและขุนนางเมืองประเทศราชได้เลื่อนชั้นทางสังคมเป็นจำนวนมากในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติอันเกิดจากการขัดแย้งทางการเมืองภายนอก สำหรับสตรีนั้นปรากฏว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมมีบ้าง แต่น้อยกว่าบุรุษมาก การเลื่อนชั้นทางสังคมมีทั้งการเลื่อนขึ้น ซึ่งเป็นการเลื่อนขึ้นแบบปกติ กับการเลื่อนขึ้นแบบข้ามขั้น และการเลื่อนลง ซึ่งได้แก่การถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ และตำแหน่งลงเป็นไพร่ ถูกจำคุกหรือประหารชีวิต การเลื่อนขึ้นและการเลื่อนลงนี้ส่งผลกระทบต่อการเลื่อนลงนี้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและเครือญาติด้วย ปรากฎว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมส่วนใหญ่เป็นการเลื่อนชั้นทางสังคมในแนวตั้ง และเป็นการเลื่อนขึ้นมากกว่าเลื่อนลง นอกจากนี้มีบุคคลจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางได้เลื่อนชั้นทางสังคมทางขึ้นและลงภายในช่วงอายุของตนหลายครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลื่อนชั้นทางสังคมระหว่างชั่วอายุของบุคคลนั้นกับบิดาแล้วเท่าที่พบ ขุนนางกลุ่มนี้ได้เลื่อนขึ้นทัดเทียมกับบิดาสำหรับการจะเลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลงในลักษณะอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่างๆทั้งภายนอกและภายในประกอบกัน ผลการศึกษาเรื่องนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการเลื่อนชั้นทางสังคมในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมเปิดที่บุคคลกลุ่มและประเภทต่างๆ คือชนชั้นผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองซึ่งอยู่ในระบบไพร่ บุคคลนอกระบบไพร่ สมณชีพราหมณ์ ตลอดจนสตรีได้มีโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคม แม้ว่าโอกาสของชนชั้นผู้ปกครองจะมีมากกว่าก็ตาม | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยโครงการไทยศึกษา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.format.extent | 48594744 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชนชั้นในสังคม | en |
dc.subject | ไทย -- ภาวะสังคม | en |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- 2325- | en |
dc.title | การวิเคราะห์โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคมในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Piyanart.B@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Social Research - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyanart(up).pdf | 47.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.