Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66485
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัปสรสุดา ศิริพงศ์-
dc.contributor.advisorสุรชัย รัตนเสริมพงศ์-
dc.contributor.authorสร้อยวิสา สร้อยคำ-
dc.date.accessioned2020-06-18T09:21:12Z-
dc.date.available2020-06-18T09:21:12Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741770596-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66485-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรีถึงเขาตะเกียบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งจากข้อมูลดาวเทียมหลายช่วงเวลา ได้แก่ ข้อมูลภาพดาวเทียมแลนด์แสทปี พ.ศ. 2530 2531 2537 2541 2542 และ 2545 และ ข้อมูลภาพดาวเทียมลปอทปี พ.ศ. 2531 2532 2536 2537 2538 และ 2540 ด้วยวิธีการซ้อนภาพร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง พบว่าการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่ง บริเวณนี้มีทั้งแบบกัดเซาะและงอกยื่นสลับกันไปแต่ละช่วงของชายฝั่ง แต่การเปลี่ยนแปลงแต่ละแห่งมีอัตราไม่มากนัก จากการศึกษาถึงปัจจัยทางธรรมชาติที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ได้แก่ คลื่นลม กระแสน้ำและปริมาณตะกอนชายฝั่งพบว่าปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันตามช่วงฤดูมรสุมด้วย โดยในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งค่อนข้างมีกำลังแรงคลื่นลมและกระแสน้ำ โดยรวม จะมีทิศเคลื่อนจากเหนือลงใต้พัดพาเอาตะกอนตามแนวชายฝั่งเคลื่อนลงทางใต้ด้วย แต่เมื่อพิจารณาทั้งปี พบว่าปริมาณของตะกอนสุทธิจะเคลื่อนขึ้นไปทางเหนือ ทั้งนี้เป็นเพราะแม้ว่าช่วงฤดูมรสุมใต้ซึ่งมีกำลังอ่อนกว่า กลับมีการพัดพาเอาตะกอนมาได้มากกว่าเนื่องจากระยะเวลาที่ลมพัดมีมากกว่าตะกอนที่ทับถมจึงมาจากทางด้านใต้มากกว่า และเมื่อวิเคราะห์ผลของการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ยื่นออกไปในทะเลและขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนตามแนวชายฝัง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยบริเวณที่เป็นด้านรับตะกอนจะมีการทับถมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านที่ตะกอนเคลื่อนที่ไปไม่ได้เนื่องจากมีโครงสร้างมาดักไว้ก็จะมีการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินพบว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งเช่นเดียวกัน โดยที่บริเวณที่มีการเพิ่มขึ้นของป่าชายเลนจะมีการเปลี่ยนแปลงของชายฝังในแบบทับถม-
dc.description.abstractalternativeThe changing coastlines from Lam Phak Bia Changwat Petchabri to Kao Ta Kiab Changwat Prachuap Kirikhan were studied using Lansat TM-5 data from year 1987, 1988, 1994, 1998, 1999 and 2002 and SPOT data from year 1988, 1989, 1993, 1994 and 1995. Image Registration technique were carried out to analyze the data from those different dates. Analysis results showed both accretion and deposition at different areas along the shoreline. Though, the changing rates were small. When studying the physical factors such as wind, wave, current and near-shore sediment transport that might influence shoreline changes, it was found that monsoonal wind-generated wave and wind-driven circulation controlled near-shore sediment transport. During northeast monsoon season, wave and long-shore current generated by northerly and northeasterly winds caused southward long-shore sediment transport while the weather and coastal conditions during the southwest monsoon season caused northward long-shore sediment transport. Even though the wind and wave conditions were stronger during the northeast monsoon season, the net annual sediment transport was northward because the southwest monsoon lasted longer than the northeast monsoon. Man-made coastal structures also affected shoreline changes in the study area. Shore-normal structures such as breakwater or jetties obstructed natural long-shore sediment transport. The sediment was deposited on the front side, causing shoreline progression while the sediment on the lee-wave side was eroded, causing shoreline recession. Vegetation also played the role in shoreline change. Mangrove area tended to sustain the muddy sediment, causing the progressing of the shoreline.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทยen_US
dc.subjectชายฝั่ง -- ไทยen_US
dc.subjectCoast changes -- Thailanden_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตั้งแต่แหลมผักเบี้ยจังหวัดเพชรบุรีถึงเขาตะเกียบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์en_US
dc.title.alternativeFactors influencing coastline changes from Laem Puk Bia Changwat Petchburi to Khao Takiab Changwat Prachuap Khiri Khanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soiwisa_so_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ949.18 kBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_ch1_p.pdfบทที่ 1771.14 kBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.72 MBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_ch3_p.pdfบทที่ 31.3 MBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_ch4_p.pdfบทที่ 42.85 MBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_ch5_p.pdfบทที่ 5787.75 kBAdobe PDFView/Open
Soiwisa_so_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.