Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66498
Title: การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แนวคิดการศึกษาบำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
Other Titles: Development of education process using curative education and transformative learning for parents of young children with special needs
Authors: ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
ศรินธร วิทยะสิรินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Cheerapan.B@Chula.ac.th
Sarinthorn.V@Chula.ac.th
Subjects: เด็กพิเศษ -- การศึกษาปฐมวัย
การศึกษาพิเศษ
Exceptional children -- Education (Early childhood)
Special education
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนากระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แนวคิดการศึกษาบำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมกระบวนการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในด้านการกระทำ คือ การปฏิบัติต่อเด็ก ด้านความรู้สึก คือ มุมมองต่อตนเองและเด็ก และด้านความคิด คือ การคิดใหม่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตผู้เข้าร่วม ได้แก่ 1) ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งเรียนอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 - ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษา ในกำกับของสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 8 ครอบครัว 2) ครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 คน จำนวน 1 คน และ 3) ผู้วิจัย ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ประกอบด้วย 1) การเตรียมการก่อนลงภาคสนาม 2) การพัฒนาการปฏิบัติการในภาคสนาม และ 3) การนำเสนอกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยมีดังนื้ 1.ได้กระบวนการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนวคิดการศึกษาบำบัดและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ประการ สำหรับขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รวมกลุ่ม สร้างความสัมพันธ์ 2) ปฏิบัติการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการ คือ (1) การจัดการประชุมร่วมกัน (2) การส่งเสริมการปฏิบัติกับลูกที่บ้าน (3) การประสานงานให้ห้องเรียนพิเศษ และ (4) การติดตามการบำบัดรายบุคคล และ 3) ถอดประสบการณ์ 2.เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมใน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกระทำ คือ การปฏิบัติใหม่ในการส่งเสิรมพัฒนาการเด็กบนฐานการประสานมุมมองระหว่างกันในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม 2) ด้านความรู้สึก คือ การสร้างสมดุลระหว่างมุมมองต่อตนเองและเด็ก ได้แก่ การรกู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง การให้เวลาสำหรับการตอบสนองต่อเด็กอย่างเหมาะสม การมีความกระตือรือร้นและมีพลังในการปฏิบัติ การยอมรับและเข้าใจในตัวตนรวมทั้งศักยภาพที่แท้จริงขงอเด็ก และ 3) ด้านความคิด คือ การขับเคลื่อนความคิดสู่ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ถูกต้อง
Other Abstract: The purposes of this study were 1) to develop the education process by using curative education and transformative learning for parents of young children with special needs, and 2) to investigate the outcomes of participants’ transformative learning in terms of doing which was the way of treating children, of feeling which was the attitude toward themselves and children, and of thinking which was the new point of views about their way of life. The participants were 1) eight families having young children with special needs from kindergarten to grade 4 in a private elementary school, 2) a special education teacher, and 3) the researcher. The procedures of this participatory action research were; 1) preparation before the field study, 2) development of the operational process, and 3) presentation of the developed process3 Research results were as follows: 1.The education process formation by using curative education and transformative learning for parents of young children with special needs consisted of 5 elements fo r3 steps of operational procedures: 1) learning group formation, 2) operation of the parent education including (1) meeting arrangement, (2) enhancement of practices with children at home, (3) coordination with resource room at school, and (4) individual therapy follow-up, and 3) evaluation of the process3 2.Participants’ transformative learning experiences were found in 3 dimensions: 1) doing which was new action on child development promotion bases on integrated view on early intervention, 2) feeling which was balancing attitude toward themselves and children such as becoming conscious of their own feeling, allocation time for healthy responses, becoming enthusiastic and energetic for constructive action and accepting and understanding the child’s individuality as well as his/her true potential, and 3) thinking which was gaining the new mobilized knowledge concerning working with children with special needs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66498
ISBN: 9741422881
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasilak_kh_front_p.pdf995.25 kBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch1_p.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch2_p.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch3_p.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch4_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch5_p.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch6_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_ch7_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sasilak_kh_back_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.