Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6653
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี | - |
dc.contributor.advisor | ประชา แสงสายัณห์ | - |
dc.contributor.author | ศรัทธา เจริญรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-23T01:33:57Z | - |
dc.date.available | 2008-04-23T01:33:57Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741749902 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6653 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | สมเด็จพระสังฆราชถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สถาปนาด้วยพระองค์เอง จึงทำให้ทรงต้องมีพระจริยวัตรและศาสนกิจต่างๆ ที่มากกว่าภิกษุสงฆ์ทั่วไป รวมไปถึงเครื่องใช้ต่างๆ ก็จะต้องแสดงออกถึงสมณศักดิ์ของพระองค์ด้วย โดยเฉพาะกุฏิอันเป็นที่ประทับพบว่ามีการสร้างให้มีรูปแบบที่มีความพิเศษกว่ากุฏิสงฆ์โดยทั่วไปและเรียกกุฏิเหล่านี้ว่า "ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งในงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกถึงฐานานุศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนอันได้รับการขัดเกลาสืบเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันภายใต้เงื่อนไขแห่งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องเป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลด้านเอกสารและข้อมูลจากการสำรวจรังวัดในสถานที่จริงเป็นหลัก โดยตำหนักสมเด็จพระสังฆราชที่ศึกษาจะเน้นเฉพาะที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ หลัง จาก ๙ วัด แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าตำหนักแต่ละหลังต่างมีขนาดที่ใหญ่โตและมีการจัดผังที่ซับซ้อนกว่ากุฏิพระสงฆ์โดยทั่วไปอันเกิดจากความต้องการใช้งานที่มีมากตามตำแหน่งที่ได้รับ แต่ก็ยังคงยึดอยู่ในกรอบพระวินัยเป็นหลักทั้งขนาดของห้องบรรทม ความสูงของฝากั้นห้อง และรูปทรงของเรือนต่างๆ เป็นต้น ส่วนการประดับตกแต่งอาคารก็จะใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ฐานอาคาร บานประตูหน้าต่าง หน้าจั่วและหน้าบัน มาประกอบกันเพื่อให้อาคารมีลักษณะที่สำคัญกว่ากุฏิหลังอื่นๆ แต่จะไม่ตกแต่งให้เทียบเท่ากับอาคารในเขตพุทธาวาส หรือพระที่นั่งและตำหนักต่างๆ ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เลย อันถือเป็นการจัดลำดับฐานานุศักดิ์ของอาคารได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง | en |
dc.description.abstractalternative | The Supreme Patriarch is the most important position in Buddhist which is created by the king. Its make him has more authorized than other monks and his accessories show the dignity of Buddhist monk. Especially his residence was built in unique style of architecture called "The Supreme Patriarch abode". The objective of this research is studying about architectural form and elements are brought to show the dignity of the Supreme Patriarch which have characteristic be developed from past to present day under Buddhist doctrine. The method of research was based on documentary and field survey of 16 buildings from 9 temples was built in Rattanakosin period for analyzed all information in conclusion. According to study, it has found that The Supreme Patriarch abode has larger size and complicated plan than general monk's residence. Because of that building need a lot of facilities and still follow in Vinaya Pitaka such as size of bedchamber, height of partition wall and building form, etc. Building ornaments were used many kind of architectural elements to decorated characteristic such as base, door, window, rake and gable. It will not decorate as well as other building in public precincts of a monastery or royal building of the king and member of the royal family. Those are representing the dignity of building. | en |
dc.format.extent | 29277046 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สมเด็จพระสังฆราช | en |
dc.subject | กุฏิ | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา | en |
dc.subject | ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช | en |
dc.title | แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล | en |
dc.title.alternative | Design guidelines for the Supreme Patriarch's abode and Buddhist lodgings in monks' quarter : a case study of Buddhamonthon | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | psuwan2006@yahoo.com | - |
dc.email.advisor | wana2547@yahoo.co.th | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.