Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66573
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล วิรุฬห์รักษ์-
dc.contributor.authorสุรัตน์ จงดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-06-25T01:13:21Z-
dc.date.available2020-06-25T01:13:21Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743324119-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66573-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractฟ้อนผีฟ้านางเทียม : การฟ้อนรำในพิธีกรรมและความเชื่อของชาวอีสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟ้อนในพิธีกรรมของชาวบ้าน ณ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัย จากการสัมภาษณ์ และจากการสังเกตพิธีกรรมและการฟ้อน ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มนางเทียน หรือพิธีกร และผู้เข้าร่วมพิธีฟ้อนผีฟ้าในอำเภอพระยืน สืบเชื้อสายมาจากเวียงจันทน์และยังคงสืบทอดพิธีฟ้อนผีฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง การฟ้อนผีฟ้ามีสองลักษณะคือ 1. การฟ้อนผีฟ้าในการรักษาโรค เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นในครอบครัว ญาติพี่น้องจะเชิญนางเทียมมาทำพิธีฟ้อนผีฟ้าเพื่อรักษาโรคให้สมาชิกในครอบครัวนั้น 2. การฟ้อนผีฟ้าในการบูชาผีฟ้า โดยจะมีพิธีการฟ้อนเป็นพิธีใหญ่ประจำปี คือในวันที่ 13-15 เมษายน ผู้เข้าร่วมพิธีจะฟ้อนกันตลอดสามวันสามคืน ท่าฟ้อนผีฟ้า ปัจจุบันยังคงรูปแบบการฟ้อนดั่งเดิมซึ่งพบว่ามีวาดฟ้อนสามลักษณะคือ 1. วาดฟ้อนท่าเดียวเป็นการฟ้อนโดยใช้ท่าฟ้อนท่าเดียวไปเรื่อยๆ 2. วาดฟ้อนหลายท่าเป็นการการฟ้อนโดยนำท่าฟ้อนหลายท่ามาเชื่อมต่อกันเป็นกระบวน 3. วาดฟ้อนเข้าคู่เป็นการฟ้อนซึ่งมักเป็นหญิงกับหญิงในท่าฟ้อนต่างๆ กัน วาดฟ้อนเหล่านี้ยังพบลักษณะเด่นในการใช้มือ เท้า ลำตัว ดังนี้ มีการใช้มือในระดับลำตัวไปข้างหน้า มีการย่ำเท้าไม่เปิดส้น และการก้าวเท้าช้าๆ มีการขย่มเข่า ประมาณสี่หรือแปดจังหวะ ต่อหนึ่งก้าวมีการใช้เท้าลักษณะอื่นๆ เช่นท่าเขย่งเท้า กระโดดด้วยปลายเท้าและท่าจรดปลายเท้าข้างเดียวในขณะหยุดอยู่กับที่ มีการใช้ลำตัวตรงและมีการก้มตัวไปข้างหน้า มีการแอ่นตัวไปด้านหลังและเอียงตัวไปด้านข้างในขณะที่หยุดฟ้อนอยู่กับที่ ท่าฟ้อนผีฟ้านี้มีลักษณะใกล้เคียงกับท่าฟ้อนอีสานในการแสดงอื่นๆ เช่นการแสดงหมอลำ ในปัจจุบัน ดนตรีที่ใช้ในการฟ้อน เป็นการบรรเลงด้วยแคนแปดเพียงอย่างเดียว ส่วนลายหรือเพลง ใช้ลายทางยาวหรือลายอ่านหนังสือในการขับลำเชิญผีฟ้า ส่วนการฟ้อนใช้ลายทางสั้นการแต่งกายของผู้ฟ้อนเป็นแบบพื้นเมืองอีสาน สิ่งที่จำเป็นในการแต่งกายคือ ผ้าสไบ การฟ้อนผีฟ้าในการรักษาโรคและการบูชาผีฟ้าในอำเภอพระยืน คาดว่า จะยังมีอยู่ต่อไปตราบใดที่คนอีสานยังนับถือผี และสมควรจะมีการศึกษาความเชื่อ และพิธีกรรมการฟ้อนผีฟ้าในเขตชุมชนอื่นๆ ในภาคอีสานให้กว้างขวางต่อไป-
dc.description.abstractalternativeFon Pi Fa Nang Tiam: A Ritual Dance in Isan aims at studyings the dance in folk ritual performance of Pra Yuen District, Khon Kaen Province based upon documentary, interviewings, and observations. It is found that Nangtiam or master of ceremony and her followers are the descendants of Laos people in Vientiane. They still continue their Fon Pi Fa or ritual dance until today. Fon Pi Fa is performed in two functions. One is cast away sickness and the other is to warship the god of heaven called Pi Fa which is performed for there days and nights from 13ᵗʰ to 15ᵗʰ of April. Fon Pi Fa is found to have three types of dance. First is the single posture for the whole dance. Second is the combination of gestures. And third is the duet dance mostly by two females in different gestures. Most distinctive gestures in Fon Pi Fa are seen in hands, feet, and body movements. Dancers always move their hands in the front at the chest level. They use regular steps with full sole touches the found. They repeatedly way their knees sideway at four or eight beats. Their hold their bodies up straight or lean forward. Leaning to the back and or the sides are used while dancing on a spot. These dance gestures are found similar to other northeastern dances today. Music is always performed by Khaen Paed or reed organ with eight doubled-holes. Master tune for singing and chanting is called Lai Tang Yao and for dancing is called Lai Tang Sun. Dancers wear ordinary northeastern costume with an important piece of shawl or sabai. It is foreseen that Fon Pi Fa will remain as long the northeastern people warship gods. There should be more in depth studies about thesis type of dance in other areas of northeastern Thailand.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความเชื่อ-
dc.subjectพิธีทางศาสนาและพิธีกรรม-
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
dc.subjectพระยืน (ขอนแก่น)-
dc.subjectการรำ-
dc.subjectBelief and doubt-
dc.subjectDance-
dc.subjectRites and ceremonies-
dc.subjectThailand, Northwestern -- Manners and customs-
dc.titleฟ้อนผีฟ้านางเทียม : การฟ้อนรำในพิธีกรรมและความเชื่อของชาวอีสาน-
dc.title.alternativeFon Pi Fa Nang Tiam : a ritual dance in Isan-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surat_jo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch1_p.pdfบทที่ 1976.21 kBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch2_p.pdfบทที่ 21.37 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch3_p.pdfบทที่ 37 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch4_p.pdfบทที่ 48.68 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch5_p.pdfบทที่ 52.24 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_ch6_p.pdfบทที่ 61.07 MBAdobe PDFView/Open
Surat_jo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.