Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66614
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ | - |
dc.contributor.advisor | กัลยา เลาหสงคราม | - |
dc.contributor.author | ปรินทิพย์ จิรหฤทัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-28T12:55:12Z | - |
dc.date.available | 2020-06-28T12:55:12Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.issn | 9741419163 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66614 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตก๋วยเตี๋ยว และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นก๋วยเตี๋ยวแช่เยือกแข็งและก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุ้งแช่เยือกแข็งที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบ จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและกายภาพของแป้งวัตถุดิบ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า(R) แป้งมันสำปะหลัง(T) และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร National 7(Mnaf) และPurity 90(Mpu) โดยเปรียบเทียบระหว่างวัตถุดิบแต่ละชนิดพบว่า แป้งข้าวเจ้ามีปริมาณความขึ้นต่ำที่สุด แต่มีปริมาณโปรตีน ไขมัน และอะไมโลสสูงที่สุด มีค่า peak viscosity และ breakdown ต่ำที่สุด แต่ค่า pasting temperature, setback/trough viscosity และ% การเกิดรีโทรเกรเดชันสูงที่สุด และไม่มีความคงทนต่อการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็ง แป้งมันสำปะหลังมีปริมาณความขึ้นต่ำที่สุดและไม่มีความคงทนต่อการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็งเช่นเดียวกับแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลังดัดแปรทั้ง 3 ชนิด มีปริมาณโปรตีนและไขมันต่ำที่สุดโดยมีค่าไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แป้ง Mna มีค่า setback/trough viscosity และ % การเกิดรีโทรเกรเดชันต่ำที่สุด และมีความคงทนต่อการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็งสูงที่สุด แป้ง Mnaf มีค่า peak viscosity สูงที่สุด แต่มีค่า pasting temperature และ % การเกิดรีโทรเกรเดชันต่ำที่สุด จากการนำแป้งวัตถุดิบมาผสมกันโดยควบคุมปริมาณแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังในแต่ละสูตรคงที่ในอัตราส่วน 4: 1 และแปรปริมาณแป้งมันสำปะหลังดัดแปรแต่ละชนิดเป็น 3 ระดับ ในช่วง 0-30% โดยน้ำหนักแป้งผสม และวัดสมบัติทางกายภาพเปรียบเทียบกับแป้งข้าวเจ้าล้วนพบว่า แป้งผสมมีค่า breakdown, pasting temperature และ setback/trough viscosity ลดลง มีค่า peak viscosity สูงขึ้น ยกเว้นแป้งผสม R+T+Mna (30%) ซึ่งมีค่า peak viscoity ลดลง และแป้งผสมทุกสูตรมี % การเกิดรีโทรเกรเดชันลดลงและความคงทนต่อการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็งสูงขึ้น จากการนำแป้งผสมทุกสัดส่วนมาเตรียมเป็นน้ำแป้งที่ความเข้มข้นต่าง ๆ 3 ระดับ ในช่วง 30-40% โดยน้ำหนัก เพื่อผลิตก๋วยเตี๋ยวพบว่า ส่วนประกอบของวัตถุดิบที่เหมาะสมคือ ปริมาณแป้งมันสำปะหลังดัดแปร 19.4% โดยน้ำหนักแป้งผสม และความเข้มข้นน้ำแป้ง 32.9% โดยน้ำหนักเมื่อนำผลิตภัณฑ์แผ่นก๋วยเตี๋ยวและก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุ้งไปแช่เยือกแข็งด้วยวิธีแบบลงพ่นที่อุณหภูมิ -35C และศึกษาผลของการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็งซ้ำพบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีการสูญเสียน้ำหนักมากในรอบการแช่เยือกแข็ง-การละลายน้ำแข็งที่ 0 และ 1 และลดลงจนไม่พบการสูญเสียเลยในรอบที่ 4 โดยค่า tensile strength และ extensibility ของทั้งสองผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มลดลง แต่ผู้ทดสอบยังคงให้การยอมรับผลิตภัณฑ์แผ่นก๋วยเตี๋ยวแช่เยือกแข็งและก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุ้งแช่เยือกแข็งทุกสูตรที่ผ่านการแช่เยือกแข็ง-ละลายน้ำแข็ง 4 และ 3 รอบ ตามลำดับ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study a suitable flour mix for frozen rice noodle sheet and frozen shrimp-stuffed noodle roll. Firstly, the chemical and physical properties of ingredients, i.e. rice flour (R), tapioca starch(T) and modified tapioca starches [National 7 (Mna), National Frigex (Mnaf) and Purity 90 (Mpu)] were determined. Rice flour was found to have the lowest moisture content but the highest protein, fat and amylose contents. It also had the lowest peak viscosity, breakdown and freeze-thaw stability, although, its pasting temperature, setback/trough viscosity and %retrogradation were found to be the highest. Tapioca starch had the lowest moisture content and low freeze-thaw stability similar to the rice flour. All three modified starches contained the lowest protein and fat contents, which were not significantly different from one another (p>0.05). The Mna starch had the lowest setback/trough viscosity and %retrogradation, and the highest freeze-thaw stabili+ty. The Mnaf starch had the highest peak viscosity, but the lowest pasting temperature and %retrogradation. Secondly, the modified starches were mixed with R and T (fixed ratio of R and T at 4:1) at 3 different levels (0-30% of mixed flour weight) to form formula mixes, and their physical properties were measured and compared to those of R The results showed that the breakdown, pasting temperature, setback/trough viscosity, and %retrogradation of the mixes were lower, while the peak viscosity and freeze-thaw stability were higher than those of the R, except the R+T+Mna (30%) that had lower peak viscosity. From preparing the mix solutions at 3 different concentrations (30-40% by weight) in order to produce noodle, it was found that the optimum formula consisted of 19.4% modified starch (by mixed flour weight) and had 32.9% starch concentration (by starch solution weight). Finally the rice noodle sheet and shrimp-stuffed noodle roll were made and frozen by air-blast freezer at -35C. The freeze-thaw stability of the products were studied up to 4 cycles. The results showed that the rate of thawing loss of both products was high during th 0th and 1st freeze-thaw cycle and decrease to null at the 4th cycle. The tensile strength and extensibility of both products showed a declined trend, however, the panelists still accepted the frozen rice noodle sheet and frozen shrimp-stuffed noodle roll up to the 4th and 3rd freeze-thaw cycle, respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1835 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ก๋วยเตี๋ยว | en_US |
dc.subject | อาหารแช่แข็ง | en_US |
dc.subject | แป้งข้าวเจ้า | en_US |
dc.subject | แป้งมันสำปะหลัง | en_US |
dc.subject | Noodles | en_US |
dc.subject | Frozen foods | en_US |
dc.subject | Rice flour | en_US |
dc.subject | Tapioca starch | en_US |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวแช่เยือกแข็ง | en_US |
dc.title.alternative | Development of frozen rice noodle product | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | saiwarun.c@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | kalaya.l@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2005.1835 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parinip_ji_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 660.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 934.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 709.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Parinip_ji_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.