Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิเทศ ตินณะกุล-
dc.contributor.authorบุญทวี บุญโญ, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.coverage.spatialอุบลราชธานี-
dc.date.accessioned2006-07-08T02:51:06Z-
dc.date.available2006-07-08T02:51:06Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741740018-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/666-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ ใช้กรอบของตัวแปร 6 ตัว ได้แก่ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในชุมชน และการให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรส่วนรวม โดยศึกษาชุมชนที่อยู่รอบป่าดงนาทาม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้สุ่มตัวอย่างประชากร 200 ครัวเรือนจากประชากรทั้งหมด 775 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตทั่วไป การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์เจาะลึก ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละและโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมมุติฐานของการวิจัยคือ 1. หัวหน้าครัวเรือนที่มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรจะมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้มากกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีอาชีพไม่เกี่ยวกับการเกษตร 2. ครัวเรือนที่มีรายได้สูงจะมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้น้อยกว่าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ 3. หัวหน้าครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้น้อยกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า 4. ครัวเรือนที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้น้อยกว่าครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 5. ครัวเรือนที่มีระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนมากจะมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้มากกว่าครัวเรือนที่มีระยะเวลาอาศัยอยู่ในชุมชนน้อย 6. ครัวเรือนที่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จะมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้น้อยกว่าครัวเรือนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการศึกษาพบว่าผลการวิจัยเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทุกข้อen
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this research was to study the social and economic factors influencing the use of forest resources by using six variables namely: occupation, income, education, ownership of the land, term of staying in the communities and the responses on protecting the forest. The communities around Dongnatam forest in Srimuengmai district and Kongjiam district were chosen for this study. Two hundred households were selected as the sample size out of 775 households. The data was analyzed by using questionnaire, documentary study, general observation informal interview, in-depth interview, percentage and the SPSS program with 0.05 significant level. The hypotheses were as follows : 1. Breadwinners who were the farmers had more use of forest than the ones who were not the farmers 2. Families with high income had less use of forest than the ones with low income. 3. High educated breadwinners had less use of forest than the low educated ones. 4. Families who were the owner of the land had less use of forest than the ones who were not the owner of the land. 5. Families with long term of staying in the communities had more use of forest than the ones with short term of staying in the communities. 6. Families which had good responses on protecting the forest had less use of forest than the ones with poor responses on protecting the forest. The results of the research were in accordance with all hypotheses.en
dc.format.extent6304505 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทรัพยากรป่าไม้--ไทย--อุบลราชธานีen
dc.subjectคนจนในชนบท--ไทย--อุบลราชธานีen
dc.titleปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษากรณีชุมชนรอบป่าดงนาทาม จังหวัดอุบลราชธานีen
dc.title.alternativeSocio-economic factors influencing the use of forest resources : a case study of communities around Dongnatam Forest, Ubon RatchaThani Provinceen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNithet.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boontaweee.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.