Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6687
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorจันทนี จันทรท่าจีน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-24T09:10:42Z-
dc.date.available2008-04-24T09:10:42Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741422148-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6687-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือในการรักษา ของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการ และศึกษาเปรียบเทียบความร่วมมือในการรักษา ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ระหว่างกลุ่มที่รับโปรแกรมการจัดการกับอาการ และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง เดือน ธันวาคม 2548 ถึง เดือนมีนาคม 2549 จำนวน 40 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมอย่างละ 20 คน โดยกำหนดให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของ อายุ การได้รับยาต้านไวรัสจากโครงการ/นอกโครงการ ระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส และ ปัจจัยด้านการได้รับยาต้านไวรัสสูตรเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการจัดการกับอาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการกับอาการของ Dodd et al. (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย และ แบบประเมินความร่วมมือในการรักษาซึ่งในการศึกษาครั้งนี้แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการใช้ยา ด้านการรับประทานยาได้ถูกเวลา ด้านการรับประทานยาได้ถูกชนิดถูกขนาด และด้านการปฏิบัติตนสอดคล้องกับแผนการรักษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มทดลอง มีความร่วมมือในการรักษา ด้านความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการใช้ยา ด้านการรับประทานยาได้ถูกเวลา และ ด้านการปฏิบัติตนสอดคล้องกับแผนการรักษา หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความร่วมมือในการรักษา ด้านการรับประทานยาได้ถูกชนิดและถูกขนาด พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 2. กลุ่มลองมีความร่วมมือในการรักษา ด้านความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการใช้ยา ด้านการรักษาประทานยาได้ถูกเวลา และ ด้านการปฏิบัติตนสอดคลองกับแผนการรักษา หลังได้รับโปรแกรมการจัดอาการสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ความร่วมมือในการรักษา ด้านการรับประทานยาได้ถูกชนิดและถูกขนาด ของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นโปรแกรมการจัดการอาการ สามารถเพิ่มความร่วมมือในการรักษา ด้านความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการใช้ยา ด้านการรับประทานยาได้ถูกเวลา และด้านการปฏิบัติตนสอดคล้องกับแผนการรักษา ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสได้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to compare medical adherence, among HIV-infected persons receiving Highly Active Antiretroviral Therapy (HAART) before and after their participation in The Symptom Management Program, and to compare medical adherence adherence among HIV-infected persons receiving HAART who participated in The Program and those who received routine nursing care. Research sample were 40 HIV-infected persons receiving HAART at outpatients of King Chulalongkorn Memorial Hospital from December, 2005 to March, 2006. The patients were assigned to an experimental group and a control group by a matched-pair technique. Research instrument was the symptom management program and medical adherence instruments. In this study divide medical adherence instruments in 4 part; part of continue, part of correct time, correct type & correct dose and part of behavior. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation and t-test. Major results were as follows: 1. Medical adherence in part of continue, part of correct time & part of behavior of the experimental group at the post-test phase was significantly higher than the pre-test phase (p<.05), but medical adherence in part of correct type & correct dose was not significantly different. 2. Medical adherence in part of continue, part of correct time & part of behavior at the post-test phase of the experimental group was significantly higher than whose of the control group (p<.05), but medical adherence in part of correct type & correct dose at the post-test phase of both group were not significantly different. The results suggest that the symptom management program may improve medical adherence in part of continue, correct time & part of behavior among HIV-infected persons receiving HAART.en
dc.format.extent3427678 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรคเอดส์ -- การรักษาen
dc.subjectสารต้านไวรัสen
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการ ต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสen
dc.title.alternativeThe effect of using symptom management program on medical adherence among HIV infected persons receiving highly active antiretroviral therapyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantanee_Ch.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.