Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66885
Title: มาตรการทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ : ปัญหาทางกฎหมายและแนวทางแก้ไข
Other Titles: Tax measures related to purchase and sale of securities : legal issues and solutions
Authors: อนุวัฒน์ งามประเสริฐกุล
Advisors: ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tithiphan.C@Chula.ac.th
Subjects: ภาษีกำไรส่วนทุน
หลักทรัพย์ -- ภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อนุพันธ์ทางการเงิน
ตราสารหนี้
Capital gains tax
Securities -- Taxation -- Law and legislation
Derivative securities
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ออกกฎระเบียบที่เกี่ยวกับภาษีอากรเพื่อยกเว้นหรือลดหย่อนภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารจำพวกตราสารทุน ตราสารหนี้ และตราสารอนุพันธ์เป็นจำนวนมาก ได้แก่ มาตรการที่ภาครัฐได้กำหนดยกเว้นผลกำไรส่วนทุนสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตราสารอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์ โดยมาตรการนี้มีข้อดี คือ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนในประเทศไทย โดยเป็นการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลธรรมดาเข้ามาลงทุนในตลาดรองที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ และเป็นการสนับสนุนบริษัทมหาชน ให้เข้ามาระดมทุนหรือทำการป้องกันความเสี่ยงในตลาดทุนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากกู้ยืมเงินผ่านตลาดเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคของมาตรการทางภาษีนี้คือ เนื่องจากว่าหลักเกณฑ์นี้ได้นำมาใช้ตั้งแต่ช่วงการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เพื่อใช้กระตุ้นการลงทุนในตลาดทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งกฎเกณฑ์นี้ก็ยังใช้อยู่จนถึงในปัจจุบันซึ่งเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว (ปรับปรุงในปี พ.ศ. 2534) แต่เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาขึ้นไปเป็นอย่างมากนับจากช่วงเวลาก่อตั้ง ทำให้มีกฎเกณฑ์ทางภาษีมีความไม่ทันสมัยในบางประการและก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายตามมา ได้แก่ 1) ปัญหาในความแตกต่างของภาระภาษีในตราสารแต่ละประเภท 2) ปัญหาภาระภาษีจากการขายตราสารในตลาดรองที่จัดตั้งเป็นทางการและนอกตลาดที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ 3) ปัญหาวิธีการคิดคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากขายตราสารนอกตลาดรองที่จัดตั้งเป็นทางการ และ 4) ปัญหาภาระภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละประเภท และหลักเกณฑ์ในการเสียภาษี เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงกำหนดสมมติฐานว่ามาตรการทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอื่นได้ถูกกำหนดขึ้นด้วยเหตุผลพิเศษในทางนโยบายของรัฐ โดยกำหนดไว้ในกฎหมายลำดับรองหลายฉบับ แต่มาตรการทางภาษีดังกล่าวนั้นได้ก่อให้เกิดความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำขึ้นในโครงสร้างของกฎหมายภาษีอากรของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาภายหลังจากที่รัฐได้ศึกษาผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และได้กำหนดนโยบายทางภาษีที่ชัดเจนแล้วออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การปรับปรุงมาตรการทางภาษีที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น หรือการนำภาษีกำไรส่วนทุน (Capital Gains Tax) มาใช้บังคับในประเทศไทย
Other Abstract: The Government of Thailand has launched several tax regulations to grant the tax exemption or reduction on the sale of the securities, i.e. equity instrument, debt instrument, and derivative etc. These tax measures have promoted and developed the Stock Exchange of Thailand by increasing the investment volume of the individual investors. On the other hand, these measures have also created the difficulties to the investors. It is because the Stock Exchange of Thailand has continuously developed itself since B.E. 2517 (1974) until now, while, the tax regulations were not updated simultaneously. As such, they create the legal problems, including but not limited to, the problems arising from i) the difference of the tax burden on each instrument, ii) the dissimilarity of tax burden on the sale of instruments through the organized market and over the counter market, iii) the calculation methodology, and iv) the discrimination practices between individual investors and the institute investors. As a result, it is assumed in this thesis that the tax measures related to the purchase and sale of securities, which have been made in accordance with the policy of the Government of Thailand and prescribed through several regulations, create the unfair practices in the tax structure of Thailand. In response, the two proposed solutions after the Government have determined the tax policy by studying on the economic feasibility study in depth, which are the improvement of the current tax measures or introduction of the capital gains tax, are then set forth in this thesis for consideration of all stakeholders as a guideline in order to improve these tax measures in near future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66885
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.278
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.278
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anuwat_ng_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.09 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch1_p.pdfบทที่ 1942.09 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch2_p.pdfบทที่ 23.25 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch3_p.pdfบทที่ 33.61 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch4_p.pdfบทที่ 43.27 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch5_p.pdfบทที่ 51.82 MBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_ch6_p.pdfบทที่ 6907.02 kBAdobe PDFView/Open
Anuwat_ng_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.