Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66967
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย พัวจินดาเนตร | - |
dc.contributor.author | ศรัณย์ ณัฐพูลวัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-10T07:48:39Z | - |
dc.date.available | 2020-07-10T07:48:39Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66967 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพประเภทริ้วในกระบวนการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาพอลีเอสเตอร์เสริมใยแก้ว และเสนอสภาวะการผลิตที่เหมาะสมในการผลิตเพื่อให้เกิดปัญหาริ้วน้อยที่สุด โดยพิจารณาตัวแปรตอบสนองในรูปของความยาวชิ้นงานเฉลี่ยก่อนเกิดริ้ว โดยอาศัยหลักวิธีการออกแบบการทดลอง ในการทำการวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของใยแก้ว โดยพิจารณาเลือกปัจจัยมาทำการทดลองได้แก่ ความหนาแน่นชิ้นงาน ความเร็วในการส่ายใยแก้ว และระยะห่างเส้นใยแก้ว โดยแต่ละปัจจัยมี 3 ระดับการทดลอง กำหนดระดับของปัจจัยโดยกำหนดสภาวะการผลิตในปัจจุบันเป็นระดับกลาง สำหรับระดับสูงและระดับต่ำ กำหนดโดยการเพิ่มและลดระดับของปัจจัยจากสภาวะปัจจุบันโดยไม่ให้กระทบกับคุณภาพของสินค้า วิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อตรวจสอบว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลต่อตัวแปรตอบสนองโดยใช้แผนการทดลอง 33 แฟคทอเรียล วิเคราะห์หา สภาวะการผลิตที่เหมาะสมโดยประเมินจากวิธีการพื้นผิวตอบสนอง และสุดท้ายนำสภาวะการผลิตที่คำนวณได้ไปทดลองใช้ในกระบวนการผลิตจริงเพื่อเปรียบเทียบกับสภาวะเดิม ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพประเภทริ้วมากที่สุดคือ ความหนาแน่นชิ้นงาน ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของใยแก้วและความหนืดของน้ำยา นอกจากนี้ปัจจัยหลักเรื่องความเร็วในการส่ายไปกลับของเส้นใยแก้วและระยะห่างเส้นใยแก้วต่างก็มีผลเช่นกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 95.00% (2) สภาวะการผลิตที่ทำให้ความยาวเฉลี่ยก่อนเกิดริ้วสูงสุดที่ 42.8 เมตร คือ ความหนาแน่นชิ้นงานเท่ากับ 1.196 กรัม/ลบ.ซม. ความเร็วในการส่ายไปกลับของเส้นใยแก้วเท่ากับ 25.23 สโตรคต่อนาที และ ระยะห่างเส้นใยแก้วเท่ากับ 6 ซม. และ (3) จากสภาวะการผลิตใหม่ดังกล่าวข้างต้นสามารถลดปัญหาผลิตภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพประเภทริ้วลงได้ จากเดิม 2.24% เหลือ 1.26% คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลง 43.75% ซึ่งมีมูลค่าการประหยัด 705,600 บาทต่อปี | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to find causes and factors that affect the occurrence of wrinkles being rejected product and to find the solutions to prevent such problems by considering the responsive variables of the average product length before the wrinkles appeared. The research used the method of experimental design which began with the study of factors that caused the instability of fiberglass. The factors chosen for the experiment were the density of composite, speed of fiberglass waving, and space between each fiberglass chord. Each factor contained three levels which would be analyzed to find the significant factor by using the 33 factorial experiments, to find the operate condition by using the response surface method and brought the results to compare with the current condition. The result found that (1) the factor that affects the most was the density of composite which was the relation between fiberglass quantity and viscosity. However, other factors, the speed of fiberglass waving and space between each fiberglass chord were also affecting the wrinkle occurrence with 95.00% confidence. (2) the operate condition that helped increasing the average product length before the wrinkles appeared to 42.8 m. was at the density of composite equals to 1.196 g/cu.cm., the speed of fiberglass waving equals to 25.23 Stroke/min, and space between each fiberglass chord equals to 6 cm. (3) the above operate condition that helped decreasing the problems of the product non-conformance with wrinkles from 2.24 percent to 1.26 percent which is 43.75 percent of the current condition. The cost saving is 705,600 Baht per year. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระเบื้อง -- การผลิต | - |
dc.subject | ใยแก้ว | - |
dc.subject | Tiles -- Manufacture | - |
dc.subject | Glass fibers | - |
dc.title | การลดของเสียประเภทริ้วในกระบวนการผลิตแผ่นหลังคาโปร่งแสง | en_US |
dc.title.alternative | Wrinkle defect reduction in fiberglass reinforced plastic roof process | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saran_na_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 997.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 685.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 761.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Saran_na_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 915.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.