Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67085
Title: | ความพึงพอใจของผู้เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง และการยอมรับของผู้เดินทาง ต่อระบบขนส่งสาธารณะแบบก้าวหน้าในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Customer satisfaction of bus travel and user acceptance in advanced public transportation systems (APTS) in Bangkok |
Authors: | ชรัด พิริยะวัฒน์ |
Advisors: | สรวิศ นฤปิติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | รถประจำทาง ผู้โดยสารรถประจำทาง ความพอใจ ระบบขนส่งสาธารณะแบบก้าวหน้า |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยของการให้บริการเพื่อตรวจสอบว่าปัจจัยใดที่ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจหรือความต้องการให้ปรับปรุง และตรวจสอบพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้วยระบบขนส่งสาธารณะแบบก้าวหน้า 2 รูปแบบ คือ ระบบชำระค่าโดยสารอัตโนมัติ และระบบบริการข้อมูลการเดินทาง การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ใช้วิธีการสำรวจข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้โดยสารโดยใช้แบบสอบถามที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์การเดินทางของผู้โดยสาร ได้แก่ การเดินทางไปเลือกซื้อสินค้า และการเดินทางไปทำงาน ข้อมูลทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อปัจจัยต่างๆ ของการให้บริการ จะถูกรวบรวมโดยใช้หลักการที่อ้างอิงมาจาก TCRP Report 47 และในส่วนของข้อมูลพฤติกรรมการเลือกรูปแบบของบริการของผู้โดยสาร ใช้หลักการของเทคนิค Stated Preference (SP) ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อปัจจัยต่างๆ วิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ผลกระทบด้วยการจัดลำดับคะแนน (Impact Score Techniques) และวิธีการวิเคราะห์ค่าคู่อันดับ (Quadrant Analysis) ในส่วนของการยอมรับของผู้โดยสารต่อรูปแบบของบริการ วิเคราะห์โดยใช้การพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบ ของบริการที่อยู่ในรูปของ Binary Logit Model ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่หน่วยงานขนส่งควรให้ความสนใจ และปรับปรุงให้มีคุณภาพการให้บริการดีขึ้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้า ได้แก่ ปัจจัยความสบายในการเดินทาง ความทันสมัยของรถและอุปกรณ์ต่างๆ ความรวดเร็วในการเดินทาง และความสะอาด สำหรับวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อไปทำงาน ได้แก่ ปัจจัยความสบายในการเดินทาง ความประพฤติของพนักงานขับรถ ความว่างของรถ และความสะดวกต่อการใช้บริการ และสามารถสรุปได้ว่า ผู้โดยสารส่วนใหญ่ (คิดเป็นร้อยละ 60) ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีของระบบขนส่งสาธารณะแบบก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้ในทั้งสองวัตถุประสงค์การเดินทาง โดยในการเดินทางไปซื้อสินค้านั้น ผู้โดยสารจะให้ความสำคัญกับระบบชำระค่าโดยสารอัตโนมัติมากกว่าระบบบริการข้อมูลการเดินทาง ในขณะที่ในการเดินทางไปทำงานผู้โดยสารจะให้ความสำคัญกับระบบบริการข้อมูลการเดินทางมากกว่า |
Other Abstract: | The thesis examined the customer satisfaction on quality of bus services and determined the service choice of the improvement with the introduction of two Advanced Public Transportation Systems (APTS) components; Automated Fare Payment (AFP) and Automated Traveler Information Systems (ATIS). Data on riders’ perception and preference were collected by interview survey from the target group (bus passengers). The interview was targeted on two traveling purposes, commuter (work) and shopping. The interviewees’ attitude towards the service on various factors was sought by mean of gap score as indicated in TCRP Report 47 while the service choice selection of passengers employed stated preference technique. The customer satisfaction on various travel factors was analyzed by Impact Score Techniques and Quadrant Analysis. The user acceptance on the service improvement was measured by stated preference technique and the service choice model was then developed in the form of Binary Logit Model. The results of the study indicated that the factors reported defective by riders considering from the travel for shopping purpose were comfort, the update of bus and devices, travel time, and cleanness, whereas comfort, the behavior of driver, the availability of seats, and convenience were stated in the purpose of traveling for work. The conclusion showed that the majority of passengers (60%) was interested in improving the service by the introduction of APTS in both trip purposes. For shopping trips, bus riders preferred the AFP to ATIS while commuting passengers put more importance on ATIS. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67085 |
ISBN: | 9741300247 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Charad_pi_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 907.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 828.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Charad_pi_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.