Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6714
Title: การพัฒนารูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Development of the learning city model: a case study of the Sub-District Administrative Organizations, Chonburi Province
Authors: นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Oonta.N@Chula.ac.th
wirathep.p@chula.ac.th, wirathep@yahoo.com
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านการเมืองของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของความร่วมมือแบบหุ้นส่วน (Partnership) การมีส่วนร่วม (Participation) และความสามารถในการดำเนินงาน (Performance) ของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะร่วม ความแตกต่าง อุปสรรค และปัจจัยสนับสนุนในการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี 4) เพื่อให้ได้รูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชลบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนามโดยใช้แบบสัมภาษณ์โครงสร้างเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกต่อตัวแทนของปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวหลัก สถาบันต่างๆ ที่เป็นตัวหลัก กลุ่มที่เป็นแกนกลาง กลุ่มสนใจและตัวแทนนายจ้างที่เป็นตัวหลัก ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่ง ในวัตถุประสงค์ข้อ 4 รูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้นั้นได้ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามเสร็จแล้วจึงสร้างรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ จากนั้นนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า สรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านการเมืองของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี สรุปได้ว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 2 มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้มากกว่าพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 1 เพราะมีปัจจัยภาคอุตสาหกรรม การศึกษา สาธารณสุข และวัฒนธรรมและประเพณีที่อยู่ในระดับดี เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ 2. ลักษณะสำคัญของความร่วมมือแบบหุ้นส่วน (Partnership) ลักษณะสำคัญของการมีส่วนร่วม (Participation) และลักษณะสำคัญของความสามารถในการดำเนินงาน (Performance) ของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี สรุปได้ว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 1 และพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 2 "มี" และ "เหมาะสม" แต่ "ไม่เพียงพอ" ในการดำเนินงานส่งเสริมลักษณะสำคัญให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่นี้อย่างเท่าๆ กัน อย่างไรก็ตามองค์การบริหารส่วนตำบลที่ 2 จะมีจุดเด่นที่ประเด็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่าน เขียน คำนวณและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งในพื้นที่มีสถานศึกษาและมีความพร้อม 3. ลักษณะร่วม ความแตกต่าง อุปสรรค และปัจจัยสนับสนุนในการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสองแห่งในจังหวัดชลบุรี สรุปได้ว่า พื้นที่องค์การส่วนตำบลที่ 1 มีลักษณะของความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ไม่พร้อมเท่าพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 2 ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 1 มีเพียงกลุ่มอาสาสมัครในการช่วยพัฒนาและจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งต่างจากพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่ 2 มีความพร้อมหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สถานศึกษา สถานีอนามัย และวัด ช่วยดำเนินการพัฒนาและจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ภายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 4. รูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชลบุรี มีองค์ประกอบได้แก่ (1) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ว่าพื้นที่จะพัฒนาอะไร โดยวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในพื้นที่ซึ่งมีอะไรเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดกิจกรรมหรือโครงการภายในพื้นที่ จากนั้นจึงกำหนดวัตถุประสงค์ (2) การกำหนดกลุ่มองค์กรหรือกรรมการที่รับผิดชอบ คือ การกำหนดตัวแทนจากปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวหลัก(Key Individuals) สถาบันต่างๆ ที่เป็นตัวหลัก(Key Institutions) กลุ่มที่เป็นแกนกลาง(Core Groups) กลุ่มสนใจ(Wider Interests) และนายจ้างที่เป็นตัวหลัก(Key Employers) ในพื้นที่เพื่อร่วมรับผิดชอบกิจกรรมหรือโครงการ (3) แสวงหาความร่วมมือ คือ จากที่ได้มีผู้รับผิดชอบแล้ว ต้องสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมือในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก(4) การบริหารงานจัดกิจกรรม คือ การดำเนินการกำหนดกิจกรรมและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก และ(5) การประเมินผลสำเร็จ คือ การหาผลสำเร็จของการทำกิจกรรมหรือโครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงงานต่อไป
Other Abstract: The purpose of this research was 1) to study the economic, social and political aspect of the sub-district administrative organizations in two areas of Chonburi Province; 2) to investigate the partnership style, participation and performance as a learning city of these two organizations in Chonburi Province; 3) to analyze the common characteristics, differences problems and the factors leading to being a learning city of these two sub-districts of Chonburi Province; 4) and to develop a learning city model through a case study approach of these two sub-districts in Chonburi Province. This is a qualitative analysis reviewing relevant literature, conducting field studies and in-depth interviews of key representatives of the main organizations, main groups, interested parties and representatives of employers in the two sub-district administrative organizations. As for the model of a learning city, data from the field were analyzed and submitted to examinations by experts. Research findings are as follow: 1. The economic, social and political characteristics of the sub-district administrative organizations under study in the Chonburi Province can be summed up as follow: the area of the sub-district No. 2 presents aspects of being a learning city more than sub-district. No. 1 because of the following factors: industry, education, health and culture and traditions, all of which are seen as being satisfactory. 2. The main characteristics of partnership, participation and performance as being a learning city of the sub-district administrative organizations in both sites studied in Chonburi Province are found to be adequate but not sufficient in promoting the characteristics of a learning city. However the sub-district administrative organization No.2 shows strong points with regards to promoting reading and writing skills, numerical skills and communication skills. On this site there are adequate educational facilities and proper readiness. 3. The partnership characteristic shows some differences and some problems andsome factors in promoting being a learning city in the sub-district administrative organizations in the sites studied in Chonburi Province. The sub-district No. 1 does not show learning city characteristics not as much as sub-district No. 2. This difference is due to the fact that site No. 1 relies only on volunteers for development and various activities and projects on the site. In sub-district No. 2 there is readiness in the various sectors such as educational facilities, health stations and the temple. All these institutions work together for development and for adequate on-going projects and activities. 4. The learning city development model, according to this case study in Chonburi Province is as follow: (a) Set the goals for the development of a learning city, i.e. determine the basic objectives as to what should be developed by studying the local situation in a particular site, see what are the obstacles towards implementation of the projects and activities, and then set up the objectives. (b) Determine the group or the committee responsible, choosing the representative from the key individuals, the key institutions, the core groups, wider interests and the key local employers who together will be responsible for the activities and the projects. (c) Seeking the collaboration from among those already responsible. Promote proper understanding and cooperation according to the objectives already agreed upon. (d) Manage the activities by scheduling the activities and proceed to implementation according to what has already been agreed upon. (e) Evaluate the results, i.e. the success of the project and of the activities in order to improve in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6714
ISBN: 9741737432
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppamonton_Si.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.