Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกพร บุญส่ง-
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล-
dc.contributor.authorพรติกาญจน์ ชัยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-07-21T07:41:08Z-
dc.date.available2020-07-21T07:41:08Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67171-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกและระดับน้ำต่อผลผลิตของข้าวและฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากนาข้าวในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ทำการวิจัยทั้งหมดจำนวน 4 แปลง โดยออกแบบการทดลองแบบสุ่มตลอดที่ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การปรับปรุงดิน โดยแปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก (ปลูกหญ้าแฝก 500 วัน แล้วไถกลบ) และแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วย หญ้าแฝก (ทำนาข้าว 3 ฤดูกาลเพาะปลูก ใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวในระยะเวลา 50 วัน แล้วไถกลบ) และ 2) การจัดการน้ำ 2 ระดับ คือ 5 และ 10 ซม. ใช้ระยะเวลาการปลูกข้าว 117 วัน ทำการศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิตข้าว และเก็บตัวอย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาวิเคราะห์ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยวิธี Static Closed Chamber Technique ผลการศึกษา พบว่า ผลผลิตของข้าวในแปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก (411.4 กก./ไร่) มีผลผลิตของข้าวสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก (370.8 กก./ไร่) ส่วนการศึกษาระดับน้ำในนาข้าว พบว่า แปลงที่มีระดับน้ำ 5 ซม. (398.1 กก./ไร่) สูงกว่าแปลงที่มีระดับน้ำ 10 ซม. (384.1 กก./ไร่) ตามลำดับ สำหรับฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก พบว่า แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก มีค่าฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก และแปลงที่มีระดับน้ำ 5 ซม. มีค่าฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าแปลงที่มีระดับน้ำ 10 ซม. ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว สำหรับผลการศึกษาความสัมพันธ์ของฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับ ความสูง ความยาวราก และมวลชีวภาพรวมของข้าว และฟลักซ์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับจำนวนต้นต่อพื้นที่ของข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกเป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวในพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the effects of soil improvement with vetiver and water levels on rice production and carbon dioxide emission in the treated paddy fields. The study site was near the Huay Sai Royal Development Study Center, Cha-am District, Phetchaburi Province. A 2x2 completely randomized design involved factorial was used in this experiment. Two soil types, an improved soil with vetiver plough and a non vetiver improvement soil and two water levels, 5 and 10 cm were designed in combinations to 4 plots for rice Oryza sativa L. CV. ‘Chainat 1’ growing broadcasting technique. Each plot was 800 m2. The experiment was run in 117 days. Growth and CO2 gas were monitored in each rice growth stages. CO2 gas was collected using a static closed chamber technique during day (8.00 am -12.00 pm) and night (7.00-11.00 pm) period, storaged in ice box and analyzed using gas chromatography in laboratory. The results showed that rice growing in soil improvement with vetiver was significantly higher height, root length and biomass than those rice growing in soil without vetiver improvement. Our result also indicated that yield of rice grown in the improved soil with vetiver plough (411.4 kg/rai) was higher than that grown in soil without vetiver plough (370.8 kg/rai) and the treatment with 5 cm water gave a higher yield (398.1 kg/rai) than that of the 10 cm water (384.1 kg/rai). For CO2 fluxes, rice field of soil improvement with vetiver produced higher CO2 than the one without vetiver improved and the paddy field with 5 cm water produced higher CO2 than that of the paddy field with 10 cm water. For relationship between CO2 flux and rice growth, we found positive correlation of CO2 flux on height, root length, and total biomass, and negative correlation on number of shoot. In conclusion, vetiver plough can be a good practice to soil improvement in rice production of infertile soil.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหญ้าแฝกen_US
dc.subjectการปรับปรุงดินen_US
dc.subjectข้าว -- ดินen_US
dc.subjectคาร์บอนไดออกไซด์ -- การลดปริมาณen_US
dc.subjectVetiveren_US
dc.subjectSoil amendmentsen_US
dc.subjectRice -- Soilsen_US
dc.subjectCarbon dioxide mitigationen_US
dc.titleผลของการปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกและระดับน้ำต่อผลผลิตข้าวและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากนาข้าวen_US
dc.title.alternativeEffect of soil improvement with vetiver and water levels on rice production and carbon dioxide emission from paddy fielden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanokporn.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prontikan_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1678.96 kBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.92 MBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_ch4_p.pdfบทที่ 43.84 MBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5945.56 kBAdobe PDFView/Open
Prontikan_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.