Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจารุมา อัชกุล-
dc.contributor.authorนิติเวท เพิ่มพูลโชคคณา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-24T08:35:14Z-
dc.date.available2020-07-24T08:35:14Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.issn9743469621-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67261-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งและปูกระป๋องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแช่แข็งของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่วนปูกระป๋องประเทศไทยจัดประเทศผู้ส่งออกปูกระป๋องรายใหญ่ ประเทศหนึ่งของโลก ดังนั้นการศึกษาครงนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาวิเคราะห์ถึงความสามารถในการแข่งขันของการล่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งและปูกระป๋องของไทย ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกโดยใช้แบบจำลองส่วนแบ่งตลาดคงที่พบว่ามูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลของการขยายตัวของตลาดโลกเป็นสำคัญ แต่ในช่วงหลังจากที่ประเทศไทยลดค่า เงินบาทคือในช่วงปี พ.ศ.2540-2541 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาอื่นๆ (นอกเหนือจากเนื้อปลาแล่)แช่แข็งของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลของการขยายตัวของ ตลาดโลกเป็นสำคัญ แต่ในช่วงปี พ.ศ.2540-2541 มูลค่าการส่งออกลดลงเนื่องมาจากผลจากทิศทางการเช้าสู่ตลาดเป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยในช่วงปี พ.ศ.2534-2540 และ พ.ศ.2540-2541 เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเป็นสำคัญ ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 ของการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งในตลาดญี่ปุ่นและปูกระป๋องในตลาดสหรัฐอเมริกาพบว่าประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งแต่ความสามารถ ในการแข่งขันด้านราคามีแนวโน้มลดลง ในขณะที่เนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในตลาดญี่ปุ่นยกเว้นเพียงปี พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2537 และหลังจากปี พ.ศ.2537 เป็นด้นมาความสามารถในการแข่งขันด้าน ราคาของเนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของไทยกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นพบว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาแล่แช่แข็งของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 เพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากปริมาณและราคามีอัตราการขยาย ตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเนื้อปลาอื่นๆ แช่แข็งของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 ลดลงเป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยของราคาลดลง และผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยในตลาดสหรัฐ อเมริกาพบว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปูกระป๋องของไทยโดยเฉลี่ยในช่วงปี พ.ศ.2534-2542 เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการที่ทั้งปริมาณและราคามีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในการศึกษายังได้ทำการประมาณค่าแบบจำลองมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อปลาแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นและปูกระป๋องของไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาในช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2534 ถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2540 และช่วงหลังจากที่ประเทศไทยลดค่าเงินบาทคือช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2542en_US
dc.description.abstractalternativeFrozen fish meat and canned crab meat have been highly competitive seafood products in the international market. Total export value of frozen fish meat have increased continuously. In addition, Thailand exporters of canned crab have a very large market. Therefore, the purpose of this study is to analyse the competitiveness of frozen fish meat and canned crab meat industry of Thailand. The study on the change of export value by using of constant market share model reveals that export value of fish fillets frozen between 1991-1997 had increased primarily because of world growth effect as the key factor. Between 1998-1999 (after Baht Depreciation), the increase of export value of fish fillets frozen stemmed from the increase of pure competitiveness effect. In other sectors of frozen fish meat, between 1991-1997, the export value increased due to world growth effect but between 1998-1999, the decrease of export value was caused from interaction effect. The export value of canned crab meat between 1991-1999 increased due to world growth effect. The analysis on price competitiveness between 1991-1997 of fish fillets frozen and canned crab meat exporting to Japan and US market respectively demonstates that Thailand had price competitiveness compared with competitors, but the competitiveness had trendency to decline over time. in other frozen fish meat in Japan market between 1991-1999, Thai products had price competitiveness, except in 1993 and in 1994. in addition, price competitiveness of other frozen fish meat increased after 1994. The study on the percentage change on export value of frozen fish meat exporting to Japan reveals that the average export value growth of fish fillets frozen between 1991-1999 increased due to the increase of average quantities and price, whereas the average export value growth of other frozen fish meat decreased because of the decrease of average price. The study on the percentage change on export value of canned crab meat exporting to US between 1991-1995 shows that an average export value increased because of the increase of average quantities and price. In addition the export value model was used to estimate Thai frozen fish meat in Japan market and canned crab meat in US market basing on export value since first quarter in 1991 until last quarter in 1997 and export value since July, 1997 until December, 1999 (after Baht Depreciation).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.403-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปลาแช่แข็ง -- ไทย -- การส่งออกen_US
dc.subjectปูกระป๋อง -- ไทย -- การส่งออกen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารทะเล -- ไทยen_US
dc.subjectFrozen fish -- Thailand -- Exporten_US
dc.subjectFrozen fish -- Thailand -- Export Canned crab meat -- Thailand -- Exporten_US
dc.subjectSeafood industry -- Thailanden_US
dc.titleการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทย : กรณีศึกษาเนื้อปลาแช่แข็งและปูกระป๋องen_US
dc.title.alternativeCompetitiveness analysis of Thai seafood exports : a case study of frozen fish meat and canned crab meaten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีช้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.403-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitivate_po_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ884.61 kBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_ch1_p.pdfบทที่ 1973 kBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_ch2_p.pdfบทที่ 24.54 MBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_ch3_p.pdfบทที่ 31.49 MBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_ch4_p.pdfบทที่ 41.62 MBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_ch5_p.pdfบทที่ 51.01 MBAdobe PDFView/Open
Nitivate_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.