Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67446
Title: การพัฒนาและประเมินผลแบบจำลองการบริการจ่ายยาเชิงโต้ตอบแก่ผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง
Other Titles: Development and evaluation of an interactive dispensing model for outpatient receiving high risk drug
Authors: เย็นจิตร ศรีพรหม
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
สุวรรณี เจริญพิชิตนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Aphirudee.H@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา
โรงพยาบาล -- แผนกผู้ป่วยนอก
ยา
ยาอันตราย
แบบจำลองทางการพยาบาล
Hospitals -- Drug distribution system
Hospitals -- Outpatient services
Drugs
Nursing models
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามแบบจำลองการจ่ายยาเชิงโต้ตอบที่มีเป้าหมาย เพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ภายในเวลาที่จำกัดขณะจ่ายยา แก่ผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง ทำการศึกษา ณ กลุ่มงานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเลิดสิน ระหว่างเดือนกันยายน 2548 ถึงเดือนมีนาคม 2549 แบบจำลองการจ่ายยาเชิงโต้ตอบใช้ 5 คำถามหลักเป็นเครื่องมือ การประเมินผลการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้ 1) เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการจ่ายยา 2) อัตราและ ลักษณะของอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่พบ 3) อัตราและลักษณะของความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบ มีผู้ป่วยนอกจำนวน 127 รายที่เข้าร่วมการศึกษา โดยผู้ป่วยนอกแต่ละรายได้รับยาความเสี่ยงสูงที่ กำหนดอย่างน้อย 1 รายการ โดยมีค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการจ่ายยาเฉพาะยาที่มีความเสี่ยงสูงคือ 5.65±3.2 นาทีต่อราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ63.8)ใช้เวลามากกว่า 3 นาทีต่อราย ค่าเฉลี่ยของเวลารวมในจ่ายยาทุก รายการคือ 9.42±3.92 นาทีต่อราย ผู้ป่วย 61 ราย (ร้อยละ 41.49) จากผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งหมด 147 ขนานเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ซึ่งส่วนใหญ่(ร้อยละ95.08) เป็นอาการไม่พึงประสงค์ ที่น่าจะสามารถป้องกันได้ อัตราความคลาดเคลื่อนทางยาพบ 80 ครั้ง(ร้อยละ 4.82) โดยที่เกิดจากการสั่งใช้ยาของแพทย์ 77 ครั้ง(ร้อยละ 4.63) ความคลาดเคลื่อนชนิดที่พบมากที่สุดคือ การเกิดอันตรกิริยาของยา-ยา (73 ครั้ง, ร้อยละ 4.39)แต่ไม่พบอาการผิดปกติทางคลินิก และความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยาพบ (3 ครั้ง, ร้อยละ 0.18) รูปแบบจำลองบริการจ่ายยาเชิงโต้ตอบนี้อาจไม่เหมาะสมในการนำมาปฏิบัติในหน่วยงานเภสัชกรรมที่มีงานมากในช่วงเวลาเร่งด่วน แต่กระนั้น พบว่าแบบจําลองเชิงโต้ตอบนี้สามารถตรวจจับ แก้ไข ป้องกัน ความคลาดเคลื่อนและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงได้เป็น อย่างดี หากมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานตามภาระงานและจำนวนใบสั่งยาแบบจำลองนี้น่าจะมีประโยชน์ในการลดอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วยนอกได้
Other Abstract: The objectives of this study were to develop an interactive dispensing model for high risk drugs and to evaluate its effectiveness at outpatient clinic. The study was done at Lerdsin hospital between September 2005 and March 2006. The interactive dispensing model was equipped with 5 prime questions, aiming to assure patient's safety within a limited time frame during dispensing process. Evaluation was done in 3 aspects, 1). The average dispensing time. 2) Rates and types of medication errors. 3) Rates and types of adverse drug reactions. There were 127 individuals at outpatient clinics participating in this study. Each received at least one high risk drug. The average dispensing time was 5.65±3.2 minutes per patient and 63.8% of the patients' dispensing time were more than 3 minutes. The average dispensing time of all medications including high risk drugs was 9.42±3.92 minutes per patient. Sixty-one of 147 patients (41.49 %) who received high risk drugs had adverse drug reaction, in which 95.08% of them were probable preventable. There were 80 medication errors (4.82%) found with 77 (4.63%) categorized as prescribing errors. Most of them were potential drug-drug interactions (73, 4.39%). dispensing errors (3, 0.18%). This interactive dispensing model may not be practical at a very busy pharmacy department due to extra time consuming. Nevertheless, it was found that this interactive model could excellently detect, correct prevent errors and adverse drug reactions, in particular high risk drugs. With modification according to the work load and number of prescriptions, this could be useful in minimizing hazards due to the use of high risk drugs in outpatients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67446
ISBN: 9741429053
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yenchit_sr_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ910.98 kBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_ch1_p.pdfบทที่ 11.09 MBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.53 MBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_ch3_p.pdfบทที่ 3824.12 kBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_ch4_p.pdfบทที่ 42.79 MBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_ch5_p.pdfบทที่ 51.6 MBAdobe PDFView/Open
Yenchit_sr_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.