Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6744
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภิญโญ สุวรรณคีรี-
dc.contributor.advisorแน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว.-
dc.contributor.authorอาทิตย์ ลิ่มมั่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-30T07:36:07Z-
dc.date.available2008-04-30T07:36:07Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745326267-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6744-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาถึงที่มาของกุฎาคารในประเทศไทย โดยจะเน้นศึกษาอาคารถาวรที่มีการใช้งานเป็นหลัก การศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักคือ กุฎาคารในสถาบันพระมหากษัตริย์ และกุฎาคารในสถาบันศาสนา ข้อมูลจากการศึกษานำมาพิจารณาแยกเป็นหัวข้อดังนี้คือ มูลเหตุในการสร้างและประวัติความเป็นมา ที่ตั้ง รูปแบบสถาปัตยกรรม วัสดุก่อสร้าง การประดับตกแต่ง และโครงสร้าง จากการศึกษา พบว่ากุฎาคารมีที่มาจากศาสนสถาน ในประเทศอินเดีย มีการเผยแพร่อิทธิพลทางศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักรทางด้านใต้ของประเทศไทย ก่อนจะส่งอิทธิพลสู่เขมร ต่อมาในสมัยอยุธยาเมื่อไทยมีอำนาจเหนือเขมรได้รับเอาคติสมมติเทวราชมาใช้เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ และยังได้รับเอารูปแบบของอาคารดังกล่าวมาใช้เพื่อส่งเสริมพระราชฐานะขององค์พระมหากษัตริย์ การสร้างกุฎาคารในสมัยอยุธยา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่มีลักษณะเป็นปราสาทแบบขอมที่ทำจากหิน ให้เป็นแบบทรงมณฑปทำจากไม้เพื่อสอดคล้องกับทรัพยากรและความชำนาญของช่างไทย โดยยังคงคติความเชื่อไว้เช่นเดิม ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นมีการสร้างกุฎาคารสืบต่อกันมา กุฎาคารในสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างตามแบบแผนสืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตของพระราชวัง มีรูปแบบเป็นทรงมณฑป การประดับตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกสี ส่วนของโครงสร้างตัวอาคารจะเป็นผนังรับน้ำหนัก ส่วนยอดจะเป็นโครงสร้างไม้สามารถสร้างอาคารที่มีช่วงกว้างได้มาก โดยมุมทั้งสี่ของอาคารจะเป็นส่วนที่รับน้ำหนักจากยอดและหลังคา กุฎาคารในสถาบันศาสนา จะตั้งอยู่ในแนวแกนสำคัญของวัด โดยในช่วงต้นจะทำเป็นทรงมณฑป ต่อมาจึงมีการสร้างเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ทรงปรางค์ ทรงมงกุฎ และทรงพระเกี้ยว เป็นต้น แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้าง การประดับตกแต่งอาคารจะใช้กระเบื้องเคลือบตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างของอาคารจะเป็นผนังรับน้ำหนักหนาและทึบตันกว่ากุฎาคารในสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อรับน้ำหนักของเครื่องยอดที่เป็นการก่ออิฐถือปูนเช่นเดียวกับตัวอาคาร ส่งผลให้ที่ว่างภายในอาคารมีลักษณะแคบ ผลที่ได้จากการศึกษา แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมทีมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ยังคงคติความเชื่อในการสร้างอยู่เช่นเดิม ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญหลักในการสร้างอาคาร สุดท้ายนี้หวังว่าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยขั้นต่อไปในอนาคต เพื่อให้สถาปัตยกรรมไทยคงอยู่คู่กับประเทศต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to study the history of Kudakhan in Thailand focusing on buildings which are still in use. The study is divided into 2 parts: Kudakhan belonging to the royal institution and Kudakhan belonging to the religious institution. The findings can be classified according to the reason for the construction of such buildings and their history, site, architectural design, construction materials, decoration and structure. It is found that Kudakhan of the religious institution is a replica of those in India when Buddhism from India reached the South of Thailand before spreading to the Khmer region. Later, during the Ayuttaya Period, Thailand became a powerful country and adopted the idea of the king as god from the Khmer Kingdom in addition to adopting the types of building which stress the King's high status. Kudakhan in the Ayuttaya Period was transformed from a stone Khmer castle to a wooden castle with Mondop, a kind of Thai architectural design, according to the availability of natural resources and Thai craftsmanship. And the underlying idea that king was god still existed. During the Rattanakosin Period, the structure of Kudakhan for the royal institution is the same as that of Ayuttaya Period. Kudakhan is also situated in the boundaries of the Palace. It is a building with a Mondop and is mostly decorated with carved wood, gilded ornaments and stained glass. The walls of the building support the weight of the building and the top is a wooden structure. The four corners of the building support the weight of the top and the roof. The Kudakhan in the religious institution is situated in the main axis of the temple. During the early Rattanakosin Period, it was a building with a Mondop; however, the Mondop was later changed into a Prang, Mongkut and Phra Keaw depending on the builders creativity. It is mostly decorated with porcelain and its walls are thicker than those of the royal institution because they have to support the masonry top. Since the masonry walls are thick, the interior space is smaller. The findings indicate the development of architectural design through time yet holding fast to the underlying idea which plays an important role in the construction. It is hoped that this thesis will be beneficial for further investigation in the continuance of Thai architecture for future generations.en
dc.format.extent23134644 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกุฎาคาร -- ไทยen
dc.subjectกุฎาคารทรงมณฑปen
dc.subjectกุฎาคารทรงมงกุฎen
dc.subjectสถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- ไทยen
dc.titleการศึกษากุฎาคารในสมัยรัตนโกสินทร์en
dc.title.alternativeA study on Kudakhan in the Rattanakosin Perioden
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Athit.pdf22.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.