Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67465
Title: | บทบาทของเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ในการปกครองชวาระหว่าง ค.ศ. 1811-1816 |
Other Titles: | The role of Sir Thomas Stamford Raffles in governing Java, 1811-1816 |
Authors: | ปณิธี เหล็กกล้า |
Advisors: | ธีรวัต ณ ป้อมเพชร ดินาร์ บุญธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Dinar.B@Chula.ac.th |
Subjects: | แรฟเฟิลส์, โทมัส แสตมฟอร์ด, เซอร์, ค.ศ. 1781-1826 อินโดนีเซีย -- ประวัติศาสตร์ อินโดนีเซีย -- การเมืองและการปกครอง Raffles, Thomas Stamford, Sir, 1781-1826 Indonesia -- History Indonesia -- Politics and government |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัจจัยและบริบททางประวัติศาสตร์ของการที่อังกฤษเข้ามาปกครองเกาะชวา นอกจากนี้ยังมีบทบาทและนโยบายของแสตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ รวมไปถึงทัศนคติและปฏิกิริยา ของคนพื้นเมืองที่มีต่อนโยบายที่แรฟเฟิลส์ใช้ในการปกครองเกาะชวา จากการศึกษาพบว่า การเข้ามาปกครองเกาะชวาของอังกฤษนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากสงคราม เจ็ดปี และสงครามนโปเลียน ที่ส่งผลกระทบมาสู่ดินแดนในบริเวณคาบสมุทรมาเลย์ และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก รวมไปถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าระหว่างรัฐบาลอังกฤษที่ เบงกอลกับจีน ซึ่งแรฟเฟิลส์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้รัฐบาลที่ลอนดอนและเบงกอลดำเนินนโยบายเพื่อเข้ามาปกครองเกาะชวา นโยบายที่แรฟเฟิลส์ใช้ในการปกครองเกาะชวาเป็นความพยายามกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมชวาจากเดิมที่เคยได้รับความลำบากจากการกดขี่ของเจ้าหน้าที่ดัตช์ และบรรดาชนชั้นนำในชวา ไปสู่การทำให้ชาวชวามีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ของอังกฤษ โดยการใช้นโยบายลดบทบาทของผู้นำชาวพื้นเมืองและการนำระบบการปกครองโดยตรงมาใช้ อีกทั้งยัง ยกเลิกการเกณฑ์แรงงาน และที่สำคัญคือการนำระบบการเช่าที่ดินมาใช้ ซึ่งแม้มีการต่อต้านจากบรรดาเจ้า ชาวพื้นเมืองอยู่บ้าง แต่แรฟเฟิลส์ได้ใช้ทั้งมาตรการรุนแรงและการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และ เพื่อรักษาความสงบภายในเกาะชวาและดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครอง ในส่วนประชาชนแม้จะไม่พอใจ แต่ไม่ได้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันผลประโยชน์ที่อังกฤษคาดว่าจะได้รับกลับไม่ได้ตามที่คาดหมายไว้ เมื่อฮอลันดากลับเข้ามาปกครองชวา ยังคงใช้นโยบายของแรฟเฟิลส์อยู่บ้างโดยปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ถือได้ว่าการปกครองเกาะชวาของแรฟเฟิลส์เป็นการเริ่มดำเนินนโยบายเพื่อ ตระหนักถึงสภาพของชาวพื้นเมืองมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในสังคมชวาในเวลาต่อมา |
Other Abstract: | This thesis aims to study factors and historical contexts of Britain's rule in Java. It also studies the role and policies of Thomas Stamford Raffles on Java, together with the views and reactions of the Javanese to Raffles' administration. British rule over Java was a consequence of the Seven Years War and the Napoleonic Wars, which affected the Malay Peninsula and the East Indian Archipelago, and also the trading interests of the British in Bengal and China. Raffles played a key role in urging the governments in London and Bengal to annexe Java. Raffles' policies in Java were aimed at introducing changes into Javanese society, ameliorating the living conditions of Javanese who had suffered from oppression by the Dutch officials and the Javanese elite. Improved living conditions would lead to increased productivity and trade, thus benefiting British interests. The role of the native elite was lessened, and direct rule instituted. Forced labour was abolished, and a land rent system introduced. Any resistance from the Javanese elite was countered by the use of force or a compromise based on mutual interests. The ordinary people had their grievances too, but there was no open resistance. The British on their part did not gain as much as they had hoped to do. When the Dutch returned to govern Java, they retained some of Raffles' policies, with some adaptations and changes. Raffles' policies may be said to have been the beginning of an increased awareness of the natives' living conditions, and the effects of his rule were to result in important changes in Java. |
Description: | วิทยานิพนธ์(อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67465 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.527 |
ISBN: | 9745327654 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.527 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panitee_le_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 774.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Panitee_le_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.