Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67507
Title: การสกัดพอลิ-ปิตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตจาก Alcaligenes eutrophus NCIMB 11599 ด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์และคลอโรฟอร์ม
Other Titles: Extraction of poly-beta-hydroxybutyrate from Alcaligenes eutrophus NCIMB 11599 using sodium hypochlorite solution and chloroform
Authors: คมกฤช ดลอารมย์
Advisors: จิรกานต์ เมืองนาโพธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โพลิเบตาไฮดรอกซีบิวทิเรต
Alcaligenes eutrophus
การสกัด (เคมี)
แบคทีเรีย -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาการสกัดพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตจาก Alcaligenes eutrophus NCIMB 11599 ด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์เพียงอย่างเดียวที่ความเข้มข้น 15, 20, 25 และ 30 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรต่อปริมาตร พบว่า เปอร์เซ็นต์การสกัดพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ แต่ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์เท่ากับ 35เปอร์เซ็นต์ปริมาตรต่อปริมาตร จะได้เปอร์เซ็นต์การสกัดพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตลดลง และพบว่าการใช้สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 30 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรต่อปริมาตร ที่เวลา 5 นาที จะให้ค่าเปอร์เซ็นต์การสกัดสูงสุดเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ของพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตทั้งหมด และได้น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยน้ำหนักเท่ากับ 416,522 เมื่อสกัดพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรต ด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 30 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรต่อปริมาตรร่วมกับคลอโรฟอร์มในถังกวนแบบไม่ต่อเนื่อง พบว่า ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรต คือที่อัตราส่วนระหว่างวัฏภาคคลอโรฟอร์มต่อวัฏภาคสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์เท่ากับ 1.0 อัตราการกวนเท่ากับ 550 รอบต่อนาที เวลาในการกวน 5 นาที และความเข้มข้นเซลล์เริ่มต้นเท่ากับ 100 กรัมต่อลิตร จะให้เปอร์เซ็นต์การสกัดเท่ากับ 89 เปอร์เซ็นต์ของพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตทั้งหมด น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยน้ำหนักเท่ากับ 771,675และจากการตกตะกอนพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตด้วยเฮกเซน 1 ครั้ง จะได้ความบริสุทธิ์เท่ากับ 92.45 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาสมบัติบางประการของพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรต พบว่า อุณหภูมิหลอมตัวผลึก (T[subscript m]),อุณหภูมิแข็งตัวของผลึก (T [subscript c]),ปริมาณความร้อนทั้งหมดที่ใช้หลอมตัวผลึก (∆H),เปอร์เซ็นต์ความเป็นผลึก และขนาดของรูพรุนบนแผ่นฟิล์ม มีค่าเท่ากับ 180 องศาเซลเซียส, 103 องศาเซลเซียส,86 จูลต่อกรัม, 59 เปอร์เซ็นต์ และ 1-10 ไมโครเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การย่อยสลายของพอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตในดินจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุด โดยถูกย่อยไปหนึ่งในสี่ของทั้งหมดภายในเวลา60 วัน และจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการย่อยสลายกับเวลา พบว่า พอลิ-บีตา-ไฮดรอกซีบิวทิเรตจะสลายตัวหมดภายในเวลา 140 วัน
Other Abstract: In the study of the poly-B-hydroxybutryrate (PHB) extraction from Alcaligenes eutrophus NCIMB 11599 with only sodium hypochlorite solution at 15, 20, 25and 30 % v/v, it was found that the percentage of the PHB extraction varied directly with the sodium hypochlorite concentration. However the percent extractions tended to decrease when the sodium hypochlorite concentration increased to 35 %. The optimum condition consists of 30 % v/v of sodium hypochlorite concentration with maximum extraction of 90% of the total PHB in the first five minutes and a weight average molecular weight yield of 416,522. Then, the study of the PHB extraction by using sodium hypochlorite solution with chloroform in batch reactor was undertaken. The optimum condition for PHB extraction was a 1:1 ratio between chloroform to sodium hypochlorite solution and an agitation speed of 550 rpm for 5 minutes and 100 g/l of initial cell concentration. Under these conditions, the percent extraction was found to be 89% of total PHB and the weight average molecular weight yield was 771,675. After PHB precipitation by hexane, a percent purity of 92.45% was obtained. Some properties of PHB were studied. The crystalline melting temperature (T[subscript m]), the crystallization temperature (T [subscript c]), the overall heat of crystallization (∆H), the percent crystalline and its pore diameter were found to be 180℃, 103℃, 86 J/g, 59% and 1-10 µm, respectively. In addition, the PHB was found to the most degraded in soil where ¼ of total PHB would degrade in 60days and the PHB was predicted to be completely degraded within 140 days, which as shown in the relationship between PHB degradation as a function of time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67507
ISBN: 9743344586
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komgrit_do_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_ch1_p.pdfบทที่ 1680.5 kBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_ch2_p.pdfบทที่ 21.22 MBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_ch3_p.pdfบทที่ 31.19 MBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_ch4_p.pdfบทที่ 41.23 MBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_ch5_p.pdfบทที่ 52.85 MBAdobe PDFView/Open
Komgrit_do_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.