Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราณี ทิพย์รัตน์-
dc.contributor.authorฤทธิพงศ์ พวงมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-08-18T02:09:46Z-
dc.date.available2020-08-18T02:09:46Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743345884-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเน้นที่กรณีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าในประเทศไทย ลักษณะของปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้ามชาติ (Transnational Issue) ซึ่งรัฐใดเพียงรัฐหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง การอาศัยกรอบความร่วมมือระดับพหุภาคีโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคที่มีอยู่ จึงเป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายที่สำคัญ โดยการศึกษานี้ใช้กรอบความคิดว่าด้วย Regimes เป็นแนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างการดำเนินงาน และกลไกของอาเซียน ซึ่งแบ่งสาขาความร่วมมือออกเป็น 3 ลักษณะ อันได้แก่ความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน ซึ่งรวมเอาประเด็นความร่วมมือด้านอื่น ๆ มารวมไว้ อาทิ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ไม่ตอบสนองต่อลักษณะของปัญหาแรงงานข้ามชาติที่มีความซับซ้อนของปัญหามากกว่าที่จะจัดลงไปในการแบ่งสาขาของอาเซียนสาขาใดสาขาหนึ่ง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในขอบเขตที่กว้างขวางทั้งในทางสังคม การเมือง ความมั่นคงและเศรษฐกิจ ผลก็คือ อาเซียนไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางความร่วมมือต่อประเด็นนี้ ในลักษณะการใช้กลไกที่มือปูของอาเซียน หากขยายเป็นรูปแบบของความร่วมมือที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะลักษณะใดลักษณะหนึ่งในกลไกความร่วมมือที่แยกสาขาอย่างซัดเจนในปัจจุบัน หากเป็นความร่วมมือที่สามารถแก้ไขประเด็นปัญหาได้อย่างครอบคลุม ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้ก็จะเป็นตัวแบบในการร่วมกันแก้ไขปัญหาข้ามชาติอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตด้วย-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to examine the existing structure and mechanism of ASEAN in dealing with the problem of migrant workers as regards the illegal migrant workers from Burma in Thailand. It is argued that the question of migrant workers is a transnational issue which can neither be solved by any one country nor by existing mechanism of ASEAN. The division of fields of cooperation in ASEAN into three pillars, namely, political, economic and functional cooperation is inadequate to address the problem. Using the concept of regimes as an analytical framework, it is proposed that in order to cope with this problem more effectively. ASEAN as regimes should fully utilize the existing mechanism instead of creating a new institution The alternative solution or management of the problems must be dealt with through coordinating various fields of cooperation instead of leaving it under one particular umbrella The final conclusion Is that this may also be an alternative for ASEAN in the future to deal with a more complex problem of international nature in the region.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสมาคมอาเซียน-
dc.subjectแรงงานต่างด้าว -- ไทย-
dc.titleอาเซียนกับปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายจากประเทศพม่าในประเทศไทย-
dc.title.alternativeAsean and the problems of illegal migrant workers from Burma in Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rittipong_po_front_p.pdf853.34 kBAdobe PDFView/Open
Rittipong_po_ch1_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Rittipong_po_ch2_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Rittipong_po_ch3_p.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Rittipong_po_ch4_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Rittipong_po_back_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.