Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67657
Title: การออกแบบหม้อไอน้ำแรงดันต่ำโดยใช้เหง้ามันสำปะหลังเป็นเชื้อเพลิง
Other Titles: Design of a low-pressure boiler using cassava-rhizome chips as fuel
Authors: จิรวุฒิ จิตตโสภณ
Advisors: วิทยา ยงเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เหง้ามันสำปะหลัง
เชื้อเพลิงทดแทน
หม้อไอน้ำ -- การออกแบบ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การออกแบบหม้อไอน้ำแรงดันต่ำ ที่สามารถใช้ได้กับเชื้อเพลิงเหง้ามันสำปะหลัง เพื่อผลิตไอน้ำใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางที่เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หม้อไอน้ำแรงดันต่ำที่ออกแบบเป็นหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ส่วนของตัวหม้อไอน้ำกับห้องเผาไหม้แยกออกจากกัน การไหลของแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้เป็นแบบ 2 กลับ หม้อไอน้ำแรงดันต่ำนี้สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันสัมบูรณ์เท่ากับ 2 บาร์ ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส โดยใช้อัตราการป้อนเชื้อเพลิงเหง้ามันสำปะหลังเท่ากับ 20 กิโลกรัมต่อชั่วโมง การทดลองได้ใช้เชื้อเพลิงเหง้ามันสำปะหลัง2 รูปคือแบบชิ้นและแบบท่อน และการทดลองได้ปรับเปลี่ยนปริมาณอากาศส่วนเกินจาก 40%-160% จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้เหล้ามันสำปะหลังแบบท่อนเป็นเชื้อเพลิง ประสิทธิภาพรวมของหม้อไอน้ำได้เพียง 20% มีอัตราการผลิตไอน้ำเท่ากับ 23 กิโลกรัมต่อชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยในห้องเผาไหม้เท่ากับ 454 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงสุดเท่ากับ 780 องศาเซลเซียส และใช้ปริมาณอากาศส่วนเกินเท่ากับ 80% แต่เมื่อใช้เหง้ามันสำปะหลังแบบชิ้นเป็นเชื้อเพลิง ได้ประสิทธิภาพรวมของหม้อไอน้ำเท่ากับ 47% และมีอัตราการผลิตไอน้ำเท่ากับ 55 กิโลกรัมต่อชั่วโมงอุณหภูมิเฉลี่ยในห้องเผาไหม้เท่ากับ 470 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงสุดเท่ากับ 755 องศาเซลเซียส และใช้ปริมาณอากาศส่วนเกินเท่ากับ 120% ซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุดจากทุกกรณีอากาศส่วนเกินที่ได้ทำการทดลอง ในการใช้เหง้ามันสำปะหลัง ไม่เกิดปัญหาการระเบิดหรือ detonation ที่จะเป็นอันตรายกับหม้อไอน้ำ แต่ในการใช้ปริมาณอากาศส่วนเกินที่เปอร์เซ็นต์สูงๆ ทำให้ความดันในเตาสูงขึ้นและมีเหลวไฟที่ได้จากการเผาไหม้สามารถลุกไหม้ออกมาจากห้องเผาไหม้ได้ ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ได้จากการทดลองมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 2600 ppm ซึ่งเกินค่ามาตรฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 870 ppm สำหรับปริมาณแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ได้จากการทดลองมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 5ppm ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 500 ppm และปริมาณแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ที่ได้จากการทดลองมีค่าโดยเฉลี่ยเท่ากับ 73 ppm ก็ต่ำกว่าค่ามาตรฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเช่นกัน ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 200 ppm
Other Abstract: The objective of this research is to design a low pressure boiler using Cassava-Rhizome Chips as fuel. This low pressure boiler can be considered as a prototype of low pressure boiler to be used in small and medium manufacturing industries in the country. The boiler was designed be a fire-tube type. Its combustion chamber and boiler shell is separated distinctly. Hot gas from combustion reaction has 2 passes flow. This boiler can generate steam at an absolute pressure of 2 bar (or at steam temperature about 120 C). Fuel consumption rate is 20 kg/hr. Cassava-rhizome fuel has 2 forms, chunks and chips. Excess air used in experiment was found to be40%-160%. From the experiments, when using cassava-rhizome in chunk form as fuel, it found that the overall efficiency of boiler was only 20% at steam generation rate of23 kg/hr, the average temperature in combustion chamber was 454 C with the highest temperature recorded as 780 C at 80%EA. But when using cassava-rhizome in chip form as fuel, the overall efficiency of boiler was increased to 47% at steam generation rate of 55 hg/hr, the average temperature in combustion chamber was470 C with highest temperature at 755 C at 120%EA, which was the optimum case. No phenomenon relating to explosion or detonation was recorded in boiler while doing experiments. But when using high excess air, the flame of combustion can sneak from the charging door. The quantity of carbonmonoxide in combustion gas was found to be well in excess of the industrial standard figure, namely at 2600 ppm as against870 ppm. The quantity of sulfur dioxide in combustion gas was found to be under industrial standard figure at 5 ppm, in which the regulated figure is not over 500ppm. The quantity of nitrogen monoxide in combustion gas was also under the industrial standard, being at 73 ppm was against 200 ppm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67657
ISBN: 9743346813
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiravut_ji_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.16 MBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch1_p.pdfบทที่ 1891.43 kBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch2_p.pdfบทที่ 21.15 MBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch3_p.pdfบทที่ 3864.33 kBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch4_p.pdfบทที่ 42 MBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch5_p.pdfบทที่ 51.59 MBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch6_p.pdfบทที่ 62.84 MBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_ch7_p.pdfบทที่ 7785.09 kBAdobe PDFView/Open
Jiravut_ji_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.