Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67666
Title: การออกแบบคลังข้อมูลสำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Other Titles: Designing the data warehouse for the Provincial Electricity Authority
Authors: จุฑามาศ นันท์ธนะวานิช
Advisors: จารุมาตร ปิ่นทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค -- ฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ เพื่อออกแบบคลังข้อมูลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นกรณี ศึกษา เพื่อสร้างฐานข้อมูลเมตะดาตาเพื่อควบคุมการทำงานของคลังข้อมูลให้อยู่ในกรอบ โดยออกแบบให้ รองรับการทำงานที่ต่อเนื่องกันเป็นชุดเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานได้เอง โดยใช้คนคุมให้น้อยที่สุด การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากระบบงานหลัก 4 ระบบคือ ระบบบัญชีและการเงิน ระบบบริการผู้ใช้ไฟ ระบบพัสดุคงคลัง และระบบบริหารบุคคลซึ่งจะใช้ ข้อมูลจากระบบบุคลากร โดยที่ข้อมูลจากระบบงานเหล่านี้มีการจัดเก็บในรูปของแฟ้มข้อมูล ข้อมูลที่คัดเลือก เป็นข้อมูลนำเข้าคลังข้อมูลนี้ได้จากการสัมภาษณ์ การสำรวจจากรายงานที่เสนอผู้บริหารของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และโครงสร้างแฟ้มข้อมูลจากระบบงานหลักทั้ง 4 ระบบนี้ การพัฒนาคลังข้อมูล ในที่นี้มี 4 ส่วน คือ การพัฒนาฐานข้อมูลเมตะดาตา การนำข้อมูลเข้าคลัง การ พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับคลังข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูล ในที่นี้ใช้หลักการการเชื่อมโยงแบบดาวในการออกแบบการเชื่อมโยงข้อมูลในคลังข้อมูลเพื่อรองรับการวิเคราะห์จำแนกตามมิติ การเรียกใช้ข้อมูล เป็นตัวอย่างโปรแกรมสำหรับทอสอบคลังข้อมูล โดยพัฒนาให้สามารถตอบคำถามเชิงสรุป คำถามเกี่ยวกับข้อมูลย้อนหลัง และคำถามเชิงเปรียบเทียบเพื่อการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างน้อย
Other Abstract: The purpose of this research is to design the database of data warehouse for the provincial Electricity Authority and to create database of metadata to control all tasks in data warehouse. This design covers semiautomatic working. This research collected data abut income and expense from 4 subjects, namely Accounting and Finance, Customer Service, Inventory, and Personnel. The data in legacy systems was stored in conventional files The selected data came from interviewing. periodic for manager and file description of the legacy systems. This development was divided into metadata database, data extraction, database for data warehouse and data retrieve The star schema is used for dimensional analysis This data warehouse is able to answer the summary query, historical query and comparative query for business analysis at least.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67666
ISBN: 9743347704
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Juthamard_nu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ980.41 kBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch1_p.pdfบทที่ 1688.85 kBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch2_p.pdfบทที่ 21.1 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch3_p.pdfบทที่ 31.37 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch4_p.pdfบทที่ 41.79 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch5_p.pdfบทที่ 51.47 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch6_p.pdfบทที่ 62.31 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch7_p.pdfบทที่ 7701.97 kBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch8_p.pdfบทที่ 81.12 MBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_ch9_p.pdfบทที่ 9642.98 kBAdobe PDFView/Open
Juthamard_nu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.