Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล-
dc.contributor.authorคัคนางค์ สาครมณีรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-08-21T08:10:30Z-
dc.date.available2020-08-21T08:10:30Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344381-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67667-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงความหมายของคำซัดทอด ตลอดจนแนวคิดในการรับฟังคำซัดทอดของผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดคดีอาญา คำซัดทอดนั้นหมายถึง ถ้อยคำของผู้ร่วมกระทำผิดในคดีอาญาที่กล่าวข้อความอันเป็นผลร้ายแก่ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน เกี่ยวกับการกระทำผิดนั้น ในแนวคิดดั้งเดิมของประเทศอังกฤษมีแนวคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการรับฟังคำซัดทอด เนื่องจากรัฐมีศักดิ์ศรีพอที่จะไม่ต้องใช้พยานหลักฐานที่มาจากผู้ร่วมกระทำผิด และรัฐยังมีความสามารถพอที่จะหาพยานหลักฐานอื่นมาลงโทษจำเลยได้ ต่อมาแนวคิดดังกล่าวเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีความจำเป็นในเรื่องนโยบายของอาญาที่ต้องรับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดเนื่องจากไม่สามารถหาพยานหลักฐานอื่นใดมาลงโทษจำเลยได้นอกจากพยานหลักฐานที่ได้มาจากผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ในแนวคำพิพากษาฎีกาของไทยวินิจฉัยว่า คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดรับฟังได้แต่มีน้ำหนักน้อยและจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้จะต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบ ผู้เขียนมีความเห็นว่าแนววินิจฉัยของศาลนั้น มีความเหมาะสมแล้วเนื่องจากการจะลงโทษจำเลยได้ศาลควรจะแน่ใจว่าจำเลยได้เป็นผู้กระทำความผิดจริง ดังนั้น การมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงจึงมีความจำเป็นและเป็นการเหมาะสมแล้วที่จะต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบกับคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด ในคดีความผิดบางประเภทที่การประกอบอาชญากรรมมีการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อน ยากที่จะหาพยานหลักฐานอื่นใดมาลงโทษจำเลยได้ ดังเช่นคดีที่เกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรม ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะได้มีการนำหลักกฎหมายในเรื่องการให้ความคุ้มกัน (Immunity) แก่พยาน ซึ่งมีหลักฐานว่ารัฐจะไม่ฟ้องคดีแก่พยานรัฐอันเนื่องมาจากคำให้การของเขามาใช้ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้พยานผู้ร่วมกระทำผิดเบิกความได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกฟ้องร้องคดีในภายหลัง จึงทำให้คำซัดทอดของพยานผู้ร่วมกระทำผิดมีความน่าเชื่อถือen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies the meaning of implications and conceptions of admissibility of implication of accomplice. Implication means words of accomplices in criminal case to adversely affect other accomplice in the crime. In the past, legal concept in England was that admission of implications was not necessary because the Crown, due to its status, should not use evidence derived from the accomplices and the crown could and should find any other evidence to convict the defendant. Later on the concept has changed because of necessity in criminal policy. Implications of accomplice, is being admitted for lack of any evidence to convict the accomplicing accused. The Thai Supreme Court precedent indicates that implication of accomplice is admissible but has less creditability, and the accused cannot be convicted unless there is also other evidence aginst him. In my opinion, the Thai precedent is suitable because to convict an accused the judge should be certain that the accused has actually commited the crime. An corroborated evidence must there love be in place apart from the implication of his or her. In certain offences where commission of crime is rather complicated, and it is very difficult to find any piece of evidence to prove to convict the defendant e.g. a case related to organized crime. In my opinion, one should apply the principle on immunity, to protect witness. The principle of immunity requires the state to let free those accomplices who implicate his accomplices this will encourage the accomplice to stand as a witness without any fear of being indicted. Then, the testimony of the state witness would be credulous.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการซัดทอดen_US
dc.subjectความผิดทางอาญาen_US
dc.subjectพยานบุคคลen_US
dc.subjectการกระทำความผิดคดีอาญา -- คำซัดทอดen_US
dc.subjectความคุ้มกัน -- กฎหมายลักษณะพยานen_US
dc.subjectพยานหลักฐาน -- คำซัดทอดen_US
dc.titleคำซัดทอดของผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดคดีอาญาen_US
dc.title.alternativeImplication of accomplice in criminal caseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kakkanang_sa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ891.21 kBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1693.03 kBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_ch2_p.pdfบทที่ 21.61 MBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.99 MBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.91 MBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_ch5_p.pdfบทที่ 51.03 MBAdobe PDFView/Open
Kakkanang_sa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก693.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.