Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6768
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทย
Other Titles: A development of composite indicators of seniority value for Thai government officials
Authors: เกียรติศักดิ์ วจีศิริ
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
สุวัฒนา อุทัยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Somwung.P@chula.ac.th
Suwattana.U@chula.ac.th
Subjects: ระบบอาวุโส
ค่านิยม
ข้าราชการ
ลิสเรลโมเดล
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทยและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงกลาโหม จำนวน 1,212 คน ทำการสร้างตัวบ่งชี้รวมค่านิยมความมีอาวุโสในแต่ละด้านจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยโปรแกรม SPSS โดยสกัดองค์ประกอบแบบวิธีวิเคราะห์ภาพ และหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ และยืนยันองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ที่ได้รวมทั้งพัฒนาตัวบ่งชี้ค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทยในภาพรวมด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรม LISREL 8.10 และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทย ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้รวมค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทยประกอบด้วยตัวบ่งชี้รวม 3 ด้าน เรียงลำดับตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ค่านิยมความมีอาวุโสทางด้านคุณสมบัติ ความมีอาวุโสทางด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม และค่านิยมความมีอาวุโสทางด้านคุณลักษณะ ซึ่งตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ด้านนี้มีความแปรผันร่วมกับองค์ประกอบตัวบ่งชี้รวมค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทยร้อยละ 52, 31 และ 10 ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับค่านิยมความมีอาวุโสของข้าราชการไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุราชการ และระดับ (ซี)
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the composite indicators for seniority value of Thai government officials and to study factors affecting seniority value of Thai government officials. The sample consisted of 1,212 from the Ministry of Agriculture and Cooperative, the Ministry of Interior, the Ministry of Education, the Ministry of Health and the Ministry of Defense. Data were analyzed by exploratory factor analysis, image factoring method extraction and varimax rotation method to find the composite indicators through SPSS and confirm the composite indicator's factor by second order factor analysis through LISREL version 8.10. Multiple regression analysis was used to analyzed the factors affected the seniority value of Thai government officials. The findings were as follows. 1. The composite indicators for seniority value of Thai government officials composed of three composite indicators, ranging from the highest factor loading to the lowest, they were qualification, background and character ofa person. The multiple R-square of the relationship between the composite indicators with the seniority value of Thai government officials was 0.52, 0.31 and 0.10. 2. The factors significantly affected the seniority value of Thai government officials at .05 level were working duration and position classification
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6768
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.490
ISBN: 9743336745
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.490
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kiattisak.pdf13.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.