Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67711
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorกัญญาพิชญ์ จันทร์นิยม-
dc.date.accessioned2020-08-26T02:14:02Z-
dc.date.available2020-08-26T02:14:02Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741745249-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67711-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวม และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 40 คน จับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องของ อายุ ระดับการศึกษา และระดับภาวะซึมเศร้า จับสลากเพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวม ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพยาบาลแบบ องค์รวมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดของจินตนา ยูนิพันธุ (2534 ก, 2542) ประเมินด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck (1967) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของจินตนา ยูนิพันธุ (2534 ข) ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้ง 2 ฉบับ เท่ากับ .81 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<05) 2. คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<05) 4. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ดังนั้น โปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมสามารถลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi-experimental research were to compare depression and selfcare behaviors of suicide attempters before and after their participation in the holistic nursing program, and to compare depression and self-care behaviors between suicide attempters who participation in the holistic nursing program and those who participated in regular nursing care activities. Research samples consisted of 40 members. These samples were randomly assigned into the experimental group and control group by matched pairs identified by age, level of education and level of depression. The experimental group participation in the holistic nursing program and the control group participated in regular nursing care activities. Research instruments were the holistic nursing program, the depression scale and the self-care behaviors scale. The reliability of these the depression scale were .81 and self-care behaviors were .92. The t-test was used in data analysis. Major findings were as follows : 1. The score of depression of suicide attempters after participation in the holistic nursing program, was significantly less than that before the experimental. (p<.05) 2. The score of depression of suicide attempters who participation in the holistic nursing program was significantly less than that of suicide attempters who participated in regular nursing care activities. (p<.05) 3. The score of self-care behaviors of suicide attempters after participation in the holistic nursing care program, was significantly higher than that before the experimental. (p<.05) 4. The score of self-care behaviors of suicide attempters who participation in the holistic nursing care program was significantly higher than that of suicide attempters who participated in regular nursing care activities. (p<.05)-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพยาบาลแบบพหุลักษณ์ -- ไทยen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง -- ไทยen_US
dc.subjectความซึมเศร้า -- ไทยen_US
dc.subjectการฆ่าตัวตาย -- ไทยen_US
dc.subjectพฤติกรรมฆ่าตัวตาย -- ไทยen_US
dc.subjectHolistic nursing -- Thailanden_US
dc.subjectSuicidal behavior -- Thailanden_US
dc.subjectDepression -- Thailanden_US
dc.subjectSelf-care, Health -- Thailanden_US
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลแบบองค์รวมต่อภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายen_US
dc.title.alternativeEffects of using holistic nursing program on depression and self-care behaviors of suicide attemptersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyapid_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ884.88 kBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_ch1_p.pdfบทที่ 11.49 MBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_ch2_p.pdfบทที่ 24.59 MBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_ch3_p.pdfบทที่ 32.35 MBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.35 MBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_ch5_p.pdfบทที่ 51.72 MBAdobe PDFView/Open
Kanyapid_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.