Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6771
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Prevalence of occupational stress and burnout and the related factors among cabin attendants of Thai Airways International Public Company Limited
Authors: กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์
Advisors: นันทิกา ทวิชาชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Nantika.T@chula.ac.th
Subjects: ความเครียดในการทำงาน
ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ความเครียด (จิตวิทยา)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความชุกของความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Sampling Technique แบ่งชั้นตาม เพศ ตำแหน่ง และชั้นบริการ จากนั้นใช้วิธี Simple Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบสอบถามวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเบื่องาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบ t-test การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน การเปรียบเทียบเชิงซ้อนโดยวิธีการของเชฟเฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของความเครียดจากการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เท่ากับร้อยละ 21.1 ความชุกของภาวะเบื่องานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เท่ากับ ร้อยละ 8.5 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ การมีบุคลิกภาพแบบ อารมณ์อ่อนไหว การมีโรคประจำตัว การใช้ยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 ได้แก่ รายได้ต่อเดือนรายได้ครอบครัวต่อเดือน ฐานะเศรษฐกิจที่พอใช้ และภาระครอบครัว ปัจจัยการปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ ปริมาณงานที่รับผิดชอบเวลาที่ต้องเสียไปเนื่องจากอุปกรณ์ชำรุด ความมั่นคงของงาน การช่วยเหลือในการทำงาน สามารถปรึกษากับเพื่อนร่วมงานได้ ความช่วยเหลือที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชา การแสดงความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ความยุติธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือน นโยบายต่างๆ ของบริษัท วันหยุดที่ได้รับต่อเดือน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 ได้แก่ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้ในงาน ความเหมาะสมของตารางบิน ปัจจัยทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ การออกกำลังกาย ปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ได่แก่ บุคลิกภาพ แบบอารมณ์อ่อนไหว ภาระหน้าที่ต่อครอบครัว การใช้ยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โรคประจำตัว เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และตำแหน่งงาน
Other Abstract: Analyzes the degree of the prevalence and its related factors of occupational stress and burnout among flight attendants of Thai Airways International Public Company Limited. The figure of 403 subjects included in this study obtained from Stratified sampling method and simple random sampling technique. The instruments consists of 5 parts ; 26-item questionnaire on demographic data, 18-item questionnaire on work factors, Muadsley Personality Inventory, The Personal Resource Questionnaire : PRQ Part II, and Occupational Stress and Burnout Inventory. Data was analyzed by SPSS for Windows. Statistical analyses included chi-square test, t-test, pearson product-moment correlation, one-way analysis of variance, multiple comparison : Scheffe's method, and stepwise multiple linear regression analysis. The findings revealed that occupational stress and burnout were present with a prevalence of 21.1% and 8.5% respectively. The chi-square test showed statistically significant difference in occupational stress and burnout at P<0.01 between neuroticism and stability, use and non-use of sedative drugs, with and without stressful life event within last 3 months. Whereas, personal income, family income, enough-to-spend economic status, and obligations towards family statistically significant difference at P<0.05. The scores on workload, time wasted due to in-operate equipments, job security, relationship among peers (helpful co-workers and support from colleagues), supervisor's support, freedome to express to supervisor, fairness of salary increase, company policies, day-off allowance, knowledges utilized in work, and flight scheduling statistically significantly difference at P<0.05 Scores on exercise significantly difference at P<0.01. Six predictive variables of occupational stress and burnout were neuroticism personelity, obligation towards family, the use of sedative drugs, disease, stressful life event within last 3 months, and working position.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6771
ISBN: 9741438427
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittipong.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.