Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67728
Title: | การประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA และ FTA ในงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สายไฟฟ้า |
Other Titles: | An application of FMEA & FTA techniques for electric cable design and development |
Authors: | นิพนธ์ ชวนะปราณี |
Advisors: | ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prasert.A@Chula.ac.th |
Subjects: | การควบคุมการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบอุตสาหกรรม สายไฟฟ้า อุตสาหกรรมสายไฟฟ้า -- การควบคุมคุณภาพ Production control New products Industrial design Electric wire |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการออกแบบและการผลิตสายไฟฟ้าประเภททนไฟ โดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แขนงความบกพร่องและการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพในการออกแบบและกระบวนการผลิตเป็นเครื่องมือคุณภาพหลัก โดยเริ่มการศึกษาด้วยการรวบรวมปัญหาและ ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อตัวผลิตภัณฑ์ของลูกค้า โดยอาศัยการระดมความคิด, การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาหรือข้อบกพร่อง, การศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างปัญหาต่าง ๆ กับผู้รับผิดชอบ จากนั้นใช้การวิเคราะห์แขนงความบกพร่องและการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมถึงความครอบคลุมในการรวบรวมข้อบกพร่อง ซึ่งจากวิธีการทั้งสองพบว่า ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของทั้งสองวิธีการมีความสอดคล้องกัน โดยจำนวนข้อบกพร่องที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพมีจำนวนมากกว่าและครอบคลุมทุกหัวข้อของผลการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์แขนงความบกพร่อง ในการปรับปรุงแก้ไขและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการออกแบบและการผลิตนั้น จึงอ้างอิงผลจากการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพเป็นหลัก ในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพมีการประเมินค่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำของแต่ละข้อบกพร่องโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งคำนึงถึง ความรุนแรงของข้อบกพร่อง, การเกิดขึ้นของข้อบกพร่อง และการควบคุมกระบวนการในกรณีที่ข้อบกพร่องหนึ่งมีคะแนนความเสี่ยงชี้นำสูง แสดงถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อบกพร่องนั้น คะแนนความเสี่ยงชี้นำมีค่าอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1000 คะแนน ในวิทยานิพนธ์นี้จะเน้นแก้ไขข้อบกพร่องที่มีคะแนนความเสี่ยงชี้นำเกินกว่า 100 คะแนนเป็นหลัก ในการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นมีทั้งการกำหนดมาตรฐานการทำงาน, การจัดระบบรวบรวมข้อมูล, การจัดทำอุปกรณ์ป้องกันพลาด, การกำหนดแบบฟอร์มสำหรับตรวจสอบ และการจัดทำรายละเอียดและการตั้งค่ามาตรฐานในการทำงานของเครื่องจักร ฯลฯ หลังจากทางผู้เชี่ยวชาญทำการพิจารณาให้คะแนนความเสี่ยงชี้นำหลังจากการปฏิบัติการแก้ไข พบว่าคะแนนความเสี่ยงชี้นำของข้อบกพร่องต่าง ๆ ลดลงมาก โดยล้วนมีคะแนนความเสี่ยงชี้นำตํ่ากว่า 100 คะแนนทั้งสิ้น ผลประโยชน์ที่เห็นได้ซัดเจนจากการประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์แขนงความบกพร่องและการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบต่อคุณภาพ ในการศึกษานี้ คือ การที่โรงงานตัวอย่างได้รูปแบบผลิตภัณฑ์สายไฟฟ้าประเภททนไฟ ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ และผลิตภัณฑ์ ด้งกล่าวหลังการปรับปรุงมีราคาต้นทุนที่ตํ่ากว่าต้นทุนขณะก่อนการปรับปรุง และเพื่อให้มีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพมีให้เกิดขึ้นซํ้าอีก ในด้านการออกแบบได้กำหนดให้ปฏิบัติตามกระบวนการทำงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นหลัก ส่วนในด้านกระบวนการผลิต ได้มีการกำหนดแผนควบคุมคุณภาพ (QC Process Chart) ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to appoint and control the fire resistance cable design and production system by using Fault Tree Analysis (FTA) and Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) as the main quality tools. First of all, conclusion of any problem makes the customer’s dissatisfaction by using quality tools to study the quality factors such as Brain Storming, Relation Diagram and Metrix Diagram. After that use FTA and FMEA analyse the detail and the completely collection of all failure. From both technics found that many failure were be consistent. The amount of failure from FMEA are more than and cover all of failure from FTA. There fore, the improvement will according FMEA as the main. The detail of FMEA is setting the professor to evaluate the Risk Priority Number (RPN) of each problem by considering about the Severity, Occurrence and Detection. The highest RPN of problem means that the problem is easy to failure. The value of RPN is normally between 1 to 1,000 points. This thesis mainly concentrates on the correction of defects which is more than 100 points. The alternatives of solving are setting the work standardization, document control system, fool proved tools, check sheet, setting detail and condition of machine. After the corrective action was done, the professor had evaluated the RPN again. The new RPN after action decreased very fast. All of RPN are lower than 100 points. The other advantage from this action is that the sample factory has the photo-type of product (fire resistance cable) which has the properties corresponding to customer requirement, receive the confirmation from the international institute and the cost of new photo-type is lower than one before the improvement. The procedure of design process was established to make sure that the defective of design system did not occur again and QC Process Chart was setting for processing control. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67728 |
ISSN: | 9741302924 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipon_ch_front.pdf | หน้าปกและุบทคัดย่อ | 393.71 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch1.pdf | บทที่ 1 | 116.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch2.pdf | บทที่ 2 | 891.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch3.pdf | บทที่ 3 | 11.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch4.pdf | บทที่ 4 | 10.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch5.pdf | บทที่ 5 | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_ch6.pdf | บทที่ 6 | 229.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nipon_ch_back.pdf | บรรณานุกรมและุภาคผนวก | 4.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.