Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67780
Title: ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ในช่องปากของผู้ป่วยเอดส์และผลของยาต้านเชื้อราย่อยสลายโปรตีนของเชื้อ
Other Titles: The proteolytic potential of oral candida albicans from AIDS patients and the effect of antifungal agents on its proteolysis
Authors: พรพรรณ ยวงนาค, ผู้แต่ง
Advisors: ลัคนา เหลืองจามีกร
มโน คูรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีช้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ปาก -- จุลชีววิทยา
สารต้านเชื้อรา
HIV-positive persons
Mouth -- Microbiology
Antifungal agents
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบถึงความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนในห้องปฏิบัติการของเชื้อ11 แคนดิดา อัลบิ แคนล์ที่แยกจากช่องปากของผู้ป่วยเอดส์กับผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี โดยวิธีทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัว และศึกษาถึงความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนในห้องปฏิบัติการหลังจากที่ผสมยาต้านเชื้อรานิสตาตินและมิโคนาโซลลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 18 ชั่วโมง แล้วนำมาทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัวเช่นเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มที่เป็นโรคเอดส์และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวนกลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มที่เป็นโรคเอดส์จะต้องได้รับการวินิจฉัยยืนยันว่าติดเชื้อเอชไอวีโดยวิธี ELISA, มีจำนวนลิมโฟชัยท์ชนิดชีดี 4* น้อยกว่า 200 เชลล์/มม3, เป็นพาหะของเชื้อ แคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยไม่มีรอยโรคทางคลินิกของการติดเชื้อราในช่องปากในขณะที่ทำการเก็บเชื้อ และไม่ได้รับยาต้านเชื้อราในช่วง 1 เดือนจนก่อนการเก็บเชื้อจากช่องปาก ส่วนกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจะต้องมีผลลบต่อแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี, เป็นพาหะของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์, ไม่มีโรคทางระบบ และไม่ไต้รับยาปฏิชีวนะ ยากดระบบภูมิคุ้มกันหรือยาต้านเชื้อราในช่วง 1 เดือนก่อนการเก็บเชื้อ การเก็บตัวอย่างเชื้อใช่สำลีพันปลายไม้ถูที่เยื่อบุผิวช่องปาก และนำมาแยกเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยพิจารณาจากลักษณะโคโลนี, การสร้างแคลมีโดโคนิเดียมและการทดสอบการใช้นํ้าตาล หลังจากนั้นนำมาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนก่อนและหลังการใช้ยาต้านเชื้อรานิสตาตินและยามิโคนาโซลความเข้มข้น 1/4 และ 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อไต้ (MIC) โดยทดสอบการย่อยสลายอัลบูมินจากซีรัมของวัว 5 วัน และย้อมสีด้วยสารละลายคูแมสซี บริลเลียนท์ บลู อาร์ แล้วนำมาคำนวณค่าความสามารถในการย่อยสลายโปรตีน (Prd value) ในวันที่ 5 ของการล้างสีคูแมสชี บริลเลียนท์ บลู อาร์ ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนก่อนใช่ยาต้านเชื้อราระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อพิจารณาผลของยาต้านเชื้อราต่อความสามารถในการย่อยสลายโปรตีน พบว่า เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์จากทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการย่อยลลายโปรตีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) หลังจากใช่ยาต้านเชื้อราทั้งยานิสตาตินและยามีโคนาโซลทั้งความเข้มข้น 1/4 และ 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเชื้อ 2 กลุ่ม พบว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนที่ลดลงเนื่องจากผลของยาต้านเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) นอกจากนี้ พบว่ายามิโคนาโซลความเข้มข้น 1/4 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้สามารถลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ยานิสตาตินความเข้มข้น 1/4, ยามีโคนาโซลความเข้มข้น 1/16 และยานิสตาตินความเข้มข้น 1/16 ของความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถ ยับยั้งเชื้อไต้ ตามลำดับทั้ง 2 กลุ่ม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนโดยเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์จาทผู้ป่วยเอดส์ในระยะที่ไม่มีรอยโรคแคนดิเดียซิสในช่องปากไม่มีความแตกต่างกับเชื้อที่ได้จากผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี และการใช่ยาต้านเชื้อรานิสตาตินหรือยามิโคนาโซลต่อเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ในระยะนี้ สามารถลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้ทั้ง 2 กลุ่มในลักษณะที่ขึ้นกับปริมาณยา โดยที่ยามีโคนาโซลมีประสิทธิภาพในการลดความสามารถในการย่อยสลายโปรตีนได้ดีกว่ายานิลตาดิน
Other Abstract: This study was designed to investigate in vitro proteolytic potential of oral Candida albicans (C. albicans) isolated from AIDS patients and healthy subjects by bovine serum albumin (BSA) assay. Also, the effect of antimycotic agents on in vitro proteolytic potential was examined after exposing the fungus to nystatin or miconazole for 18 hours. Two groups of proteolytic oral c. albicans isolated from AIDS patients and healthy subjects (25 isolates in each group) were used in the study. All of the AIDS patients must have the following qualifications: HIV-positive as confirmed by ELISA; their CD4+ cell counts were less than 200 cells/mm3; no oral lesions of fungal infection were remarked at the time specimen collecting; and no antifungal agents were taken during the period of one month before the study. The healthy subjects were all HIV-negative, had no systemic diseases, and did not take any antibiotics, immunosuppressive drugs, or antifungal agents during 1 month period before the study, C. albicans were collected from the oral mucosa, then isolated and identified as C. albicans due to their colony morphology, chlamydoconidium formation, and sugar fermentation. The proteolytic potential (Prd) of the fungus before and after exposure to 1/4 or 1/16 sub-MICs of nystatin or miconazole was investigated by BSA assay and the protein was subsequently stained with 0.25% Coomassie brilliant blue R. The proteolytic zone was assessed on the day 5 of the stain decolorization and the Prd value was then examined. With no exposure to antifungal agents, the mean Prd values were shown to have no significant differences between the 2 groups (p>0.05). Pre-exposure of C. albicans to 1/4 or 1/16 sub-MICs of nystatin or miconazole resulted in a significant decrease of Prd values in all isolates tested (p<0.001). However, no significant difference (p>0.05) in the reduction of proteolytic potential affected by the antifungal agents was seen when the two groups were compared. Exposure to 1/4 sub-MIC of miconazole appeared to result in the greatest reduction of Prd value, followed by 1/4 sub-MIC of nystatin, 1/16 sub-MIC of miconazole and 1/16 sub-MIC of nystatin respectively in both groups. These findings suggested that the proteolytic potential of oral C. albicans either isolated from AIDS patients or healthy subjects was not differnt. Miconazole and nystatin could reduce the proteolytic potential of C. albicans in a dose-dependent manner in both groups; however, miconazole seemed to be more effective than nystatin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ช่องปาก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67780
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.388
ISSN: 9743463259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.388
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpan_yo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ350.04 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_ch1.pdfบทที่ 1254.95 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_ch2.pdfบทที่ 21.42 MBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_ch3.pdfบทที่ 3215.36 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_ch4.pdfบทที่ 4592.34 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_ch5.pdfบทที่ 5310.23 kBAdobe PDFView/Open
Pornpan_yo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก371.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.