Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67785
Title: | การคุ้มครองความปลอดภัยของพยานบุคคลในคดีอาญา |
Other Titles: | Witness protection in criminal case |
Authors: | ประยุทธ แก้วภักดี |
Advisors: | มุรธา วัฒนะชีวะกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | พยานบุคคล -- การคุ้มครองความปลอดภัย กระบวนการยุติธรรมทางอาญา |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษามาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยานบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพิจารณาคดีอาญา เนื่องจากปัจจุบันการได้มาซึ่งพยานบุคคลในคดีอาญามีอุปสรรคหลายประการ เช่น ทัศนคติหรือความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดีอาญาที่ใช้ระยะเวลามาก รวมทั้งสาเหตุประการสำคัญคือพยานบุคคลมีความหวาดกลัวจะได้รับภยันตรายหรือได้รับอันตรายจากการให้การเป็นพยานในคดีอาญา ผลการศึกษาวิจัยที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลพบว่า การให้ความคุ้มครองพยานบุคคลโดยใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นหลักประกันให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม โดยปัจจุบันในกรณีที่พยานบุคคลได้รับการกระทำในลักษณะที่เป็นการยุ่งเหยิงไม่ว่าทางตรงหรือโดยอ้อม รัฐมีมาตรการทางกฎหมายประกอบด้วยการควบคุมผู้ต้องหาการออกหมายจับ การพิจารณาการปล่อยชั่วคราว การโอนคดี การสืบพยานล่วงหน้า การสืบพยานโดยการถ่ายทอดภาพและเสียง รวมทั้งใช้มาตราการทางอาญาเกี่ยวกับความรับผิดต่อการกระทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพและร่างกายมาปรับใช้ได้ แต่เนื่องจากสภาพอาชญากรรมที่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการพัฒนาขององค์กรอาชญากรรมทำให้รัฐจะต้องเพิ่มมาตรการพิเศษในการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยของพยานบุคคล รวมทั้งครอบครัวหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องของพยานบุคคลโดยการให้การปกปิดชื่อ ที่อยู่ของพยานเป็นความลับ การให้พยานได้รับการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือที่อยู่ หรือการได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยในกรณีที่มีเหตุอันตราย หรือการให้ความคุ้มครองโดยวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม การบัญญัติความรับผิดต่อการกระทำที่มีลักษณะเป็นการยุ่งเหยิงพยาน รวมทั้งให้รัฐมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในกรณีที่มีการยุ่งเหยิงพยาน โดยการให้มีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ผู้วิจัยเสนอให้อยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการรักษาความปลอดภัย นอกจากนั้นการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งสังคมตระหนักถึงความสำคัญของพยานบุคคลต่อกระบวนการยุติธรรม |
Other Abstract: | This thesis is aimed at studying the witness protection measures in order to obtain valuable evidence for criminal trial, since nowadays the acquisition of oral witness in the criminal case has many obstacles. These include the perception or confidence of the people in the justice system, the time consuming criminal proceeding and especially the concern of the witness about safety. According to the documentary research and interview, the witness protection under legal regime is another measure that would ensure the confidence of the people in the justice system. At present, in case which the witness is tamper either directly or indirectly, State can apply a number of legal measures. These consist of keeping the alleged offender in custody, issuing an arrest warrant, consideration of provisional release, transfer of the case to the other court, examination of witness before trial, video conferencing and imposing criminal liability for the offences against life, body and liberty. However, the nature of today's crimes has been changed particularly by the development of organized crime. Therefore, the State needs to crate more special measures for protecting the safely of the witness, family and other related persons. These include concealing names and addresses, change of identity and relocation, protecting them from danger. Moreover, laws criminalizing the tamper of witness and empowering the State to access the information relating to the tamper are recommended. The system should be under the supervision of clearly designated State agency and the researcher proposes the Royal Thai Police because it has the personal with expertise in security matter. In addition, cooperation among State agencies and raising awareness of the people to recognize the importance of the witness to the justice system are also necessary. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67785 |
ISBN: | 9743347178 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prayudh_ka_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 922.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 736.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 746.31 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prayudh_ka_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.