Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67865
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับของสภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | A development of the causal non-recursive model of problem solving in doing research of graduate students, Chulalongkorn University |
Authors: | ประภัสสร พูลโรจน์ |
Advisors: | นงลักษณ์ วิรัซชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษาบัณฑิต การแก้ปัญหา วิจัย นักศึกษาบัณฑิต -- การดำเนินชีวิต Chulalongkorn University -- Graduate students Problem solving Research Graduate students -- Conduct of life |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาสภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบชีวิตและรูปแบบการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษาทั้ง 4 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (ครุศาสตร์) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ 3) ตรวจสอบความตรงของโมเดล และ 4) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างนิสิตทั้ง 4 สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 428 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปรคือ สภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัย อนุทิน เวลาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยรูปแบบชีวิต และรูปแบบการเรียนรู้ และตัวแปรสังเกตได้ 25 ตัวแปรซึ่งใช้วัดตัวแปรแฝงทั้ง 6 ตัวแปร การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามมีความเที่ยงแต่ละตอน 0.70 - 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ถดถอย การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ปัญหาที่พบในการทำวิจัยมากที่สุด คือปัญหาด้านการหาหัวข้อในการทำวิจัย ปัญหาที่พบน้อยที่สุดคือ ปัญหาด้านความรู้ความสามารถในเรื่องระเบียบวิธีวิจัย ส่วนด้านการแก้ปัญหาในการทำวิจัย นิสิตสามารถแก้ปัญหาด้านการหาหัวข้อวิจัยได้มากที่สุด 2.นิสิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (ครุศาสตร์) มีค่าเฉลี่ยตัวแปรรูปแบบชีวิตด้านการใส่ใจเรื่องสุขภาพ, ครอบครัว และการทำงาน สูงกว่านิสิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์อื่น ๆ ส่วนนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ เน้นความสำคัญของครอบครัวมากกว่านิสิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และนิสิตสาขาสังคมศาสตร์ (ครุศาสตร์) มีระดับการเรียนแบบอิสระ แบบพึ่งพา และแบบมีส่วนร่วม มากกว่านิสิตสาขาอื่น 3. โมเดลเชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับของสภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัยของนิสิต บัณฑิตศึกษามีความตรงสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา รูปแบบชีวิต รูปแบบการเรียนรู้มีความสัมพันธ์สูง และ มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่ออนุทินเวลาซึ่งได้รับอิทธิพลจากสภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัย 4. โมเดลเชิงสาเหตุแบบอิทธิพลย้อนกลับของสภาพการแก้ปัญหาในการทำวิจัยของนิสิต บัณฑิตศึกษาทั้ง 4 สาขาวิชา มีรูปแบบของโมเดลเหมือนกัน แต่มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบในการวัดตัวแปรแฝง ค่าอิทธิพลจากตัวแปรแฝงรูปแบบชีวิต รูปแบบการเรียนรู้และบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อสภาพการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the status of problem solving in doing research of graduate students 2) to compare student learning styles and lifestyles across 4 areas of study namely: social sciences, social sciences (education), biological sciences, and physical sciences. 3) to examine the model validity and 4) test the model invariance across 4 areas of study. The research sample consisted of 428 Master’s degree students, Chulalongkom University. Data consisted of 6 latent variables: problem solving in doing research, time diaries, achievement, adviser’s role, lifestyles and learning styles; and 25 observed variables measuring those 6 latent variables. Data were collected by questionnaire having reliability for each part ranging from 0.70-0.87. Data analyses were regression analysis, MANOVA and LISREL model analysis. The major findings were as follows: 1. The major problem in doing research and the problem that was best solved was finding research topic. The minor problem was knowledge and ability in research method. 2. The students studying in social sciences (education) had higher means of lifestyles pertaining to emphasis on health, family, and working, as compared to those in other social sciences. The students studying in biological sciences had higher means of family orientation than social sciences. The social sciences students in education had higher mean of learning styles in the categories of independent, dependent and participant styles than other students. 3. The causal non-recursive model of problem solving in doing research of graduate students was valid and fit to the empirical data. The model indicated high correlation between adviser’ s role, learning styles and lifestyles and had significant direct effects on time diaries, which in turn recursived effects from problem solving. 4. The problem solving in doing research models of graduate students were invariance in model form across 4 areas of study. But they indicated differences of factor loading in the measurement of latent variables, effects of lifestyles, learning styles and adviser’ s role on problem solving achievement and time diaries |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67865 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.468 |
ISSN: | 9741310943 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2000.468 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapatsorn_pu_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 421.26 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_ch1.pdf | บทที่ 1 | 270.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_ch2.pdf | บทที่ 2 | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_ch3.pdf | บทที่ 3 | 550.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_ch4.pdf | บทที่ 4 | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_ch5.pdf | บทที่ 5 | 509.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapatsorn_pu_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.