Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6789
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อัจจิมา เกิดผล, ม.ล. | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-02T07:49:09Z | - |
dc.date.available | 2008-05-02T07:49:09Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6789 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับวิธีสอนแบบปกติ 3. เพื่อศึกษาความพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยวิธีทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2534 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 39 คน เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการสอนวิชาวรรณคดีไทย แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบสำรวจความพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย: 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ได้คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบเรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และมีความเห็นว่า การสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ช่วยให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น มีมนุษยสัมพันธ์ในหมู่เพื่อน รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามเรียนรู้การทำงานร่วมกัน รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการใช้เหตุผล และกล้าแสดงความคิดเห็น | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1. To compare pre test and post test on Thai literature learning achievement scores of grade 8th students who were taught by group process. 2. To compare on Thai literature learning achievement scores between grade 8th students who were taught by group process and by normal process. 3. To study learning satisfaction of the students who were taught by the group process. Using experiment approach, the sample consisted of an experimental group of 37 students and the control group of 39 students. The research instruments were the group process lesson plan, the Thai literature achievement test and the student's satisfaction questionnaire. The data were analized to obtain mean and standard of deviation scores and t-test. Research Findings: 1. For the students in the experimental group, the average scores of the learning achievement on the post text score was statistically higher than the pre test score at the significant level of .01. 2. There was no statistical difference between the average scores of the learning achievement between the groups of students who were taught by the group process and the normal process at the significant level of .05. 3. Most of students in the group process teaching method like the learning experience and indicated that the group process aching help students of better understand the lesson. Also, the group process teaching method supported their social development in both of leader and participants as well as collaboration working with open-minded reasoning and confident in showing opinion. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน พ.ศ. 2534 | en |
dc.format.extent | 7935081 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วรรณคดีไทย--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.subject | กลุ่มสัมพันธ์ | en |
dc.title | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ กับวิธีสอนแบบปกติ : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A comparison of Thai literature learning achievement between grade 8th students taught by group process and norm process | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ajima(thai).pdf | 7.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.