Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67968
Title: ปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในประเทศไทย
Other Titles: Determinants of capital structure in Thailand
Authors: พันธุ์นิวัต เหนียนเฉลย
Advisors: โสตถิธร มลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Sothitorn.M@Chula.ac.th
Subjects: เงินทุน
บริษัทมหาชน -- ไทย
Capital
Public companies -- Thailand
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทในประเทศไทย โดยโครงสร้างเงินทุนอธิบายได้ด้วยสัดส่วนหนี้สินต่อทุน ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทางบัญชีซึ่งรวบรวมข้อมูลจากงบดุลของกิจการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกิจการภาคการเงินจำนวน 282 กิจการ โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นหรือโมเดลสิลเรล (Linear structural relation or linear structural equation model: LISREL) จากการวิเคราะห์คุณสมบัติกิจการกับสัดส่วนหนี้สินต่อทุน พบว่าปัจจัยภาระทางภาษี, การลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ, ขนาดกิจการและความสามารถในการทำกำไร ไม่สามารถอธิบายโครงสร้างเงินทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ปัจจัยความอ่อนแอทางการเงินเท่านั้นที่มีผลต่อโครงสร้างเงินทุน โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.50 กล่าวคือ ถ้ากิจการมีความอ่อนแอมากขึ้นจะเป็นปัจจัยที่กำหนดให้กิจการใช้ส่วนหนี้สินมากขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับสมมติฐานก่อนการศึกษา ทั้งนี้อาจเนื่องจากตลาดทุนในประเทศไทยไม่เป็นทางเลือกที่ดีในการจัดหาแหล่งเงินทุน เพราะตลาดทุนมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ เช่น มีขนาดเล็ก มีความไม่เท่าเทียมกันทางด้านข้อมูล ดังนั้นการแก้ไขโครงสร้างเงินทุนจากภาระหนี้สินที่มากเกินไปสำหรับประเทศไทย ควรใช้มาตรการพัฒนาตลาดทุนเพื่อให้มีการใช้ส่วนทุนเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: This thesis analyses the determinants of firms' capital structure, debt-equity ratio, in Thailand. Data are from the balance sheet of 282 listed firms in the stock exchange of Thailand, excluding firms in financial sector. We use Linear Structural Relation or Linear Structural Equation Model (LISREL) to estimate relationships models. We find that tax, investment inefficiency, firms size and profitablility cannot statistically explain capital structure. We find that the financial distress variable with the coefficient of 0.50 has statistically positive effect on capital structure. This result contradics to our hypothesis, and might imply that Thailand market may be relatively small and suffer from imperfect information to attract investors. We suggest that Thailand should improve capital market for increase equity financing opportunities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67968
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.404
ISSN: 9741312768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.404
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panniwat_ne_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ261.21 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch1.pdfบทที่ 1223.6 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch2.pdfบทที่ 2272.98 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch3.pdfบทที่ 31.09 MBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch4.pdfบทที่ 4683.29 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch5.pdfบทที่ 5508.05 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_ch6.pdfบทที่ 6215.16 kBAdobe PDFView/Open
Panniwat_ne_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก757.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.