Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67984
Title: วงศ์วานวิวัฒนาการและสารทุติยภูมิจากราที่ก่อให้เกิดไลเคนของสกุลทริพิทิเลียมในประเทศไทย
Other Titles: Phylogeny and secondary metabolities from lichen-froming fungi of genus Trypethelium in Thailand
Authors: ธีรภัทร เหลืองศุภบูลย์
Advisors: จิตรตรา เพียภูเขียว
เอก แสงวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไลเคน
Lichen
Trypethelium
Phylogeny
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไลเคนสกุลทริพิทิเลียมเป็นไลเคนในเขตร้อนพบได้ทั่วไปเกือบทุกระบบนิเวศในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้แยกราที่ก่อให้เกิดไลเคนจากแทลลัสด้วยวิธีการปลดปล่อยแอสโคสปอร์เป็นจำนวน 64 ไอโซเลต จากแหล่งต่างๆ ใน 15 จังหวัด ของประเทศไทย โดย 64 ไอโซเลตนี้สามารถจัดกลุ่มได้ 6 กลุ่ม ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ ลักษณะสีของเพอริทีเซีย จำนวนผนังกั้นสปอร์ และการทำปฏิกิริยาเคมีของ เพอริทีเซียกับสารละลาย 10% KOH จากการจัดกลุ่มรูปแบบความแตกต่างของราที่ก่อให้เกิดไลเคนด้วยเทคนิค ITS-RFLP สามารถจัดกลุ่มได้ 22 จีโนไทป์ แสดงให้เห็นถึงความแปรผันทางพันธุกรรมที่มีความหลากหลายที่ตำแหน่ง ITS และจากการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการจากลำดับนิวคลีโอไทด์ของตัวแทนแต่ละ จีโนไทป์ที่ตำแหน่ง ITS และ mtSSU พบว่า ทั้งสองตำแหน่งมีความสอดคล้องกัน และวงศ์วานวิวัฒนาการที่สร้างจากตำแหน่ง ITS ร่วมกับ mtSSU สามารถแบ่งราที่ก่อให้เกิดไลเคนได้เป็น 2 เคลดหลัก โดยเคลดหนึ่งเป็นเคลดของราที่ก่อให้เกิดไลเคนในสกุลไพรีนูลา ส่วนที่เหลือเป็นราที่ก่อให้เกิดไลเคนในสกุลทริพิทิเลียม จากการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการแสดงให้เห็นการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างไพรีนูลาและทริพิทิเลียม ซึ่งการเป็นการยากที่จะใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาในการจัดจำแนกแต่เพียงอย่างเดียว การวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการที่ตำแหน่ง ITS ร่วมกับ mtSSU สามารถจัดจำแนกราที่ก่อให้เกิดไลเคนสกุลทริพิทิเลียมในประเทศไทยได้ 9 ชนิด โดยมี 3 ตัวอย่าง ที่สามารถระบุชนิดได้แน่นอนด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง mtSSU ได้แก่ Trypethelium nitidiusculum Trypethelium tropicum และ Trypethelium eluteriae นอกจากนี้ยังพบว่า T. eluteriae สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 3 ชนิด จึงควรที่จะมีการทบทวนการจัดแนก ไลเคนชนิดนี้ใหม่ โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลักษณะของโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ การแยกสารทุติยภูมิของตัวแทนราที่ก่อให้เกิดไลเคนแต่ละจีโนไทป์โดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีด้วยระบบตัวทำละลายผสมระหว่างไดคลอโรมีเทนและเมทานอลในอัตราส่วน 10 : 0.2 พบว่าสามารถจัดกลุ่มรูปแบบของสารทุติยภูมิได้จำนวน 8 กลุ่ม เมื่อทดสอบการออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ของตัวแทนราที่ก่อให้เกิดไลเคนแต่ละจีโนไทป์กับแบคทีเรียทดสอบ ได้แก่ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ยีสต์ Candida albicans และ ในราเส้นใย Aspergillus niger ด้วยวิธีไบโอออโตกราฟี พบว่า มีไลเคนสกุล ทริพิทิเลียมไอโซเลต KY 418 เท่านั้น ที่สามารถออกฤทธิ์ในการยับยั้ง E.coli ที่ Rf เท่ากับ 0.12 และ 0.56 S. aureus ที่ Rf เท่ากับ 0.12 และ C. albicans ที่ Rf เท่ากับ 0.09 นอกจากนี้ยังยับยั้งการสร้างสปอร์ของ A. niger ในช่วง Rf ระหว่าง 0.09-0.56
Other Abstract: Trypethelium is a tropical crustose lichen, which is widely distributed in most natural habitats occurring in Thailand. Sixty-four mycobionts were isolated from lichen thalli collected from various locations in 15 provinces of Thailand using the ascospore discharge technique. Lichen thalli were classified into 6 groups based on combination of morphological characters perithecial color, spore shape, setate number and 10% KOH reaction. The ITS polymorphism of these mycobionts was determined by RFLP technique. ITS-RFLP analysis among isolated mycobionts divided them into 22 genotypes and showed high genetic variation in ITS region. ITS and mtSSU in the representive mycobiont of each genotypte were sequenced and phylogenetic analysis were performed. Both ITS ans mtSSU sequences were corresponded on phylogenetic tree divided mycobionts to two major clades with high bootstrap values. One clade was the mycobionts in genus Pyrenula, another was the mycobiont in genus Trypethelium. The phylogenetic analysis clearly confirmed separation between Pyrenula and Trypethelium since identification based on sole morphological characters was difficult. Phylogenetic combination of ITS and mtSSU sequences showed that at least nine Trypethelium species were presented in Thailand. Three Trypethelium species, Trypethelium nitidiusculum Trypethelium tropicum and Trypethelium eluteriae were strongly or identified by morphological characters and mtSSU sequence analysis. The phylogenetic tree revealed that T. eluteriae could be clearly separated into 3 species. The taxonomic position of T. eluteriae should be revaluated using morphological and molecular data. Secondary metabolites of the representative from each genotypes were isolated by TLC technique using CH₂Cl₂:MeOH (10:0.2) as solvent system. The chemical patterns from these mycobionts were separated into 8 groups. The antimicrobial potential activity of these genotypes was tested with bacteria Escherichia coli and Staphylococcus aureus, yeast (Candida albicans) and filamentous fungus (Aspergillus niger) by bioautography technique. Only Trypethelium isolate KY 418 showed antimicrobial activities against E. coli at Rf value 0.12 and 0.56, S. aureus at Rf value 0.12 and C. albicans at Rf value 0.09 and inhibition of spore formation of A. niger was also observed from Rf range 0.09 to 0.56.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67984
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theerapat_lu_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch1_p.pdf748.32 kBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch2_p.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch3_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch4_p.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch5_p.pdf893.3 kBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_ch6_p.pdf758.7 kBAdobe PDFView/Open
Theerapat_lu_back_p.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.