Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์-
dc.contributor.authorชวลิต กิตตินันทะศิลป์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-09-18T07:40:35Z-
dc.date.available2020-09-18T07:40:35Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.issn9743349316-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67999-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาถึงแนวความคิดในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ และระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงข้อแตกต่างที่ส่งผลสะท้องต่อกระบวนวิธีการในการจัดตั้งการเมือง การดำเนินกิจการทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริการ ไม่มีการบัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ การรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองอาศัยเสรีภาพในการสมาคม อันถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นพื้นฐานในการจัดตั้ง ในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายพรรคการเมืองรองรับการจัดตั้ง การริเริ่มในการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองจึงเป็นไปโดยเสรี แต่จะมีกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรคการเมืองภายหลังการจัดตั้ง ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ถือว่าการจัดตั้งพรรคการเมืองสามารถกระทำได้โดยเสรีตามที่รัฐธรรมนูญ ฉบับ Basic Law ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพดังกล่าวไว้ แม้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันจะมีกฎหมายพรรคการเมืองออกมาบังคับใช้แต่ก็ไม่มีลักษณะเนื้อหาที่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมการจัดตั้งพรรคการเมือง การจัดตั้งพรรคการเมืองจึงกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายพรรคการเมืองมีลักษณะในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ ในการดำเนินกิจการทางการเมือง ส่วนในประเทศไทย นับตั้งแต่บังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2475 แก้ไข้เพิ่มเติม พ.ศ 2495 จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2475 แก้ไข้เพิ่มเติม พ.ศ 2495 จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2540 ยกเว้นรัฐธรรมนูญในช่วงที่ปกครองภายในคณะปฏิวัติ รัฐประหาร รัฐธรรมนูญจะบัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ โดยกำหนดให้การจัดตั้งและการดำเนินกิจการทางการเมือง อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายพรรคการเมืองมาบังคับใช้ด้วยเสมอ กฎหมายพรรคการเมืองของไทยจึงมีลักษณะในการกำหนดทั้งหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง และควบคุมการดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรคการเมือง ข้อแตกต่างของการจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยเสรี โดยปราศจากการควบคุมโดยกฎหมาย ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและการจัดตั้งพรรคการเมืองได้โดยเสรีภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองของประเทศไทย ส่งผลโดยตรงต่อการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองของประชาชน ตลอดจนการพัฒนาอุดมการณ์ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง กล่าวคือ การจัดตั้งพรรคการเมืองควรเป็นไปโดยเสรี การควบคุมการจัดตั้งทั้งในลักษณะของการขออนุญาตจัดตั้งโดยการจดทะเบียนหรือจดแจ้งการจัดตั้งทางการเมือง หน้าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการมากกว่าประโยชน์ของประชาชน การจัดตั้งพรรคการเมืองควรเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เมื่อมีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นแล้ว การควบคุมการดำเนินกิจการทางการเมืองของพรรคการเมือง จึงเกิดขึ้นเพื่อควบคุมให้พรรคการเมืองอยู่ในกรอบแนวทางหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนพรรคการเมืองเพื่อให้มีการแข่งขันกันได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยไม่มีเงื่อนไขให้การจัดตั้งพรรคการเมืองต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายพรรคการเมือง นอกจากนั้นควรปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมืองของไทยโดยทำให้การจัดตั้งพรรคการเมืองเกิดขึ้นโดยเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายพรรคการเมืองคงมีเพียงเนี้อหาในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของพรรคการเมือง อันเป็นการช่วยส่งเสริมบทบาทของพรรคการเมือง ก็จะส่งผลสะท้องให้พรรคการเมืองในประเทศไทยมีการพัฒนาเป็นองค์กรทางการเมืองที่มีความเข้มแข็งและส่งเสริมสิทธิเสรัภาพของประชาชนอย่างแท้จริง-
dc.description.abstractalternativeThis thesis focuses on the theory of establishment of political party according to the constitutional law and relevant legal systems concerning the institute of political party The study compares legal systems between the United States of America. Federal Republic of Germany and Thailand The research also distinguishes the differences which impact the process of political party formation political activities and participations of people concerning political opinions The study found there is no provision in the United States constitutional law about freedom of association of political party. Therefore, the establishment of political party use freedom of association which is one of fundamental right of citizen. As a consequence, political party law is not needed to support political party in the United States of America. The intiate and establishment to form political party can be done freely. However, there is law to control political activities of the party afterward. Political party in the Federal Republic of Germany may be freely established according to the constitution law the Basic Law. Although there are political party law enacted there are no content in term of restrict and control the establishment of political party. The formation of political party can be done according to the provisions of right and freedom in the constitution law Political party laws of Germany define right and duty of political party in any activities. For Thailand since the codification of the constitution law of the Kingdom of Thailand. B.E.2475 amended in B.E.2495 tills the present constitution law of the Kingdom of Thailand, B.E 2540 excluding constitution enacted during revolution period, Coup d’Etat. The Thai constitution law acknowledges freedom of political party establishment. Also, the formation and procedure of political party shall be abided by political party laws or organic law of political party. As a result political party law often enacted. Accordingly, political party laws feature establishment procedures and the control of political activities. Differences of freely political party establishment without restriction of law in the United States of America, Federal Republic of Germany and political party establishment subject to political party law of Thailand directly affected the gathering of citizen in order to form political party including political development and participation political of people in expressing political opinion. On the other word the establishment of political party should be freely. The controlling procedure by mean of permission of establishment register or inform the establishment of political party tend to accommodate bureaucrat more than citizen. The establishment of political party is the basic freedom of citizen. When the political party are formed the controlling of political procedure occurred in order to control political party in the principle of democracy system and support political party to compete freely and equaly The amendment to the constitution by providing freedom of association of political party without any prerequisite must be subject to political party laws. In addition it should reform Thai political law in order to form the political party freely according to the Constitution. The Political Law should have the provision concerning rights and freedoms of the political party.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพรรคการเมือง -- ไทย-
dc.subjectพรรคการเมือง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย-
dc.subjectรัฐธรรมนูญ -- ไทย-
dc.titleการจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบัน-
dc.title.alternativeThe foundation of political party since the first tills the preset constitution-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawarit_ki_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.47 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch1_p.pdfบทที่ 1825.52 kBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch2_p.pdfบทที่ 22.74 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch3_p.pdfบทที่ 33.24 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch4_p.pdfบทที่ 43.52 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch5_p.pdfบทที่ 56.3 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_ch6_p.pdfบทที่ 61.36 MBAdobe PDFView/Open
Chawarit_ki_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก898.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.