Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพรรณ โคตรจรัส-
dc.contributor.authorอนันต์ ดุลยพีรดิส, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2006-05-27T03:01:04Z-
dc.date.available2006-05-27T03:01:04Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745314293-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษา 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และนิสัยในการเรียน ในนิสิตนักศึกษา ที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในด้าน เพศ ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนิสิตที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 761คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดความสามารถในการฝันฝ่าอุปสรรค แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และแบบสำรวจนิสัยในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnett' T3 ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตนักศึกษามีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับสูง มีความมั่นใจในความสามารถของตนด้านการเรียนค่อนข้างมาก และมีนิสัยในการเรียนดีพอใช้ 2. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางของความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และนิสัยในการเรียน จำแนกตามเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระดับชั้นเรียน ที่มีนัยสำคัญมีดังนี้ 2.1 นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี และดีเลิศ รับรู้ว่าตนมีความสามารถด้านการเรียนสูงกว่านิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีเลิศรับรู้ว่าตนมีความสามารถด้านการเรียนสูงกว่านิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง 2.2 นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีเลิศมีนิสัยในการเรียน ดีกว่านิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ปานกลาง และดี และของนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีมีนิสัยในการเรียนดีกว่านิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 2.3 นิสิตชายมีความมั่นใจในความสามารถของตนด้านการเรียนมากกว่านิสิตหญิง และนิสิตชั้นปีที่ 4 มีความมั่นใจในความสามารถของตนด้านการเรียนมากกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 2.4 นิสิตหญิงมีนิสัยในการเรียนดีกว่านิสิตชาย 2.5 นิสิตชั้นปีที่ 3 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการรับรู้ความคงทนสูงกว่านิสิตชั้นปีที่ 1 2.6 นิสิตหญิงชั้นปี 1 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการรับผิดชอบสูงกว่านิสิตชายชั้นปี 1 และ ชั้นปี 4 และนิสิตหญิงชั้นปี 2 ส่วนนิสินหญิงชั้นปี 3 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการรับผิดชอบสูงกว่านิสิตหญิงชั้นปี 2en
dc.description.abstractalternativeThis research investigated 1) the adversity, academic self-efficacy and study habits of university students, 2) the effects of students' gender, academic achievement and class levels on their adversity, academic self-efficacy and study habits. Participants were 761 undergraduate students from Chulalongkhon University. The instruments used were the Adversity Inventory, the Academic Self-efficacy Inventory, and the Study Habits Inventory. Data was analyzed using a two-way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett’s T3 test. The major findings were as follow : 1. University students reported high level of adversity, moderately high level of academic self-efficacy and moderate level of study habits. 2. The two-way ANOVA yielded significant effects for students's gender, academic achievement and class levels on their adversity, academic self-efficacy, and study habits. 2.1 Students with good and excellent academic achievement perceived higher level of academic self-efficacy than those with low academic achievement and students with excellent academic achievement perceived higher level of academic self-efficacy than those with moderate academic achievement. 2.2 Students with excellent academic achievement had better study habits than those with high, moderate and low academic achievement. 2.3 Male students perceived higher level of academic self-efficacy than female students and the fourth year students perceived higher level of academic self-efficacy than the first and the second year students. 2.4 Female students had better study habits than male students. 2.5 The third year students had higher adversity in endurance dimension than the first year students. 2.6 The first-year female students had higher adversity in ownership dimension than the first-year male students, the fourth-year male students, and the second-year female students; and the third-year female students had higher adversity in ownership dimension than the second-year female studentsen
dc.format.extent1867147 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิตen
dc.subjectความสามารถในตนเองen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectนิสัยทางการเรียนen
dc.titleความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันen
dc.title.alternativeAdversity, academic self-efficacy, and study habits of university students with different levels of academic achievementen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorksupapan@chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.