Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68005
Title: ความสัมพันธ์ในการกำหนดประเด็นข่าวโทรทัศน์ ระหว่างศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคกับสถานีแม่ข่าย
Other Titles: The relationship in scheduling the television news between bureaus and stations
Authors: นันทลักษณ์ นาคะโฆษิตสกุล
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ข่าวโทรทัศน์
สถานีโทรทัศน์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาถึงกระบวนการผลิตในการนำเสนอข่าวภูมิภาคของศูนย์ข่าวภูมิภาคทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 ช่อง 7 และ สทท. 11 ที่มีรูปแบบการรายงานข่าวจากภูมิภาคออกอากาศทั่วประเทศ รวมถึงเกณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับการพิจารณาคัดเลือกประเด็นข่าวและจัดวาระข่าวภูมิภาคระหว่างสถานีแม่ข่ายกับศูนย์ข่าว ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตข่าวภูมิภาคเริ่มจาก การวางแผนผลิตข่าว การปฏิบัติงานข่าว การคัดเลือกข่าวและนำเสนอข่าว ในขั้นตอนการคัดเลือกข่าว สถานีแม่ข่าย ช่อง 5 และ ช่อง 7 จะมีส่วนร่วมพิจารณาด้วย ส่วน สทท.11 ศูนย์ข่าวภูมิภาคทำการคัดเลือกข่าวส่งให้สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์จัดลำดับข่าวก่อนนำออกอากาศทางสถานีแม่ข่าย สทท. 11 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกประเด็นข่าวภูมิภาคคือ นโยบายสถานีโทรทัศน์ช่วงเวลาและระยะเวลาในการนำเสนอ ผู้มิอิทธิพลในพื้นที่ และศาสนา จากปัจจัยดังกล่าว สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในการกำหนดประเด็นข่าวภูมิภาค ระหว่างศูนย์ข่าวภูมิภาคกับสถานีแม่ข่าย ซึ่งสรุปความสัมพันธ์ได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. สถานีแม่ข่าย (ช่อง 7) ศูนย์ข่าวภูมิภาคจะมีอิสระในการคัดเลือกและกำหนดประเด็นข่าวได้ในระดับหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามข่าวที่จะออกอากาศทุกข่าวต้องผ่านความเห็นชอบจากบรรณาธิการข่าวส่วนกลางก่อน ในกรณีมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในส่วนภูมิภาคบรรณาธิการข่าวส่วนกลางจะเข้าไปร่วมกำหนดประเด็นข่าว ทำให้ข่าวมีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น 2. สถานีแม่ข่าย (ช่อง 5) มีกรอบนโยบายการนำเสนอข่าวภูมิภาคที่ชัดเจน ศูนย์ข่าวภูมิภาคค่อนข้างจะมีอิสระในการคัดเลือกและกำหนดประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นในพื้นที่รวมถึงเหตุการณ์สำคัญ โดยมีบรรณาธิการข่าวส่วนกลางกำกับดูแลอย่างหลวม ๆ ให้อยู่ในกรอบนโยบาย ประเด็นข่าวส่วนใหญ่เป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไม่มีความหลากหลาย ถึงแม้ว่าจะมิกรณีเหตุการณ์สำคัญก็ไม่มีการเข้าไปร่วมกำหนดประเด็นข่าวเท่าไหร่นักคงปล่อยให้ศูนย์ข่าวภูมิภาคดำเนินการเอง 3. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สทท.11 เป็นเพียงสถานีแม่ข่ายที่รับสัญญาณภาพออกอากาศเท่านั้น โดยผู้สื่อข่าวพิเศษ (ประชาสัมพันธ์จังหวัด) ส่วนใหญ่จะเน้นทำข่าวประชาสัมพันธ์ส่งให้ศูนย์ข่าว บรรณาธิการข่าวศูนย์ข่าวภูมิภาค (สำนักประชาสัมพันธ์เขต) มีอิสระในการคัดเลือกและกำหนดประเด็นข่าวภายใต้กรอบนโยบายของกรมประชาสัมพันธ์ ส่งให้กับบรรณาธิการข่าวส่วนกลางซึ่งจะทำหน้าที่เพียงจัดลำดับข่าวก่อนนำออกอากาศทาง สทท.11 เท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปร่วมกำหนดประเด็นข่าวหรืองดข่าวใด ๆ รวมถึงเหตุการณ์สำคัญ ทำได้เพียงการประสานขอความร่วมมือเท่านั้น เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข่าวภูมิภาคมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันไม่สามารถสั่งการกันได้
Other Abstract: This qualitative research aims to study the production processes in the presentation of regional news by regional news bureaus on TV Channels 5, 7 and the Television of Thailand Channel 11, as well as relations between criteria concerning the selection and scheduling of regional news items by base stations and those by news bureaus that report the news from the regions to viewers throughout the country. Results of the research reveal that the production processes of regional news begin with planning of the news production, news operation, selection of news items and news presentation. In the step of the news selection, base stations of TV Channel 5 and 7 participate in the decision making process, while, in the case of the Television of Thailand Channel 11, The selection of the news items is made by regional news bureaus that will then pass them on to the National News Bureau of the Department of Public Relations for the news scheduling prior to presenting them on air by the base station of Channel 11. Factors that relate to the selection criteria for regional news items are the television stations’ policies, duration of air time, local influential figures and religion. These factors reflect relations between regional news bureaus and stations in the determining of regional news items to be featured. In summary, the relations exist in 3 forms:- 1. The Channel 7 base station allows its news bureau to select and schedule news items to an extent. news items that are to be broadcast must receive prior approval from the central news editor. In cases when important events take place regionally, the central news editor will join in the process of news scheduling, resulting in a variety of presented news to be more interesting. 2. The Channel 5 base station has a clear regional news policy. Regional news bureaus have freedom and scheduling news that occur in the area, including those concerning important events, having central news editor loosely supervising and keeping their operations within the set policy framework. News items mostly concern activities that occur locally and there is no variety to them. Even if important events occur, there will not be any real participation of the central news editor in scheduling the news, leaving it to regional bureaus to do so. 3. The Television of Thailand, Channel 11, acts only as a base station for receiving and broadcasting signals. the special reporters (provincial public relations officialร) will focus on producing public relations news to feed news bureaus. Regional bureaus' news editors (regional public relations office) will have freedom in selecting and scheduling news items under the policy framework of the Department of Public Relations and will forward them to the central news editors whose role is merely to arrange the news items in an order prior to presenting them on air on Channel 11. The central news editors will not be able to participate in news scheduling or canceling any news item presentation; this applies to important events' presentation too. They can only ask for cooperation since the authorities concerned with regional news production have the same status as the central news editorial, and so they cannot command each other.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68005
ISBN: 9743462996
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntalux_na_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ863.23 kBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch1_p.pdfบทที่ 11.05 MBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch2_p.pdfบทที่ 21.31 MBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch3_p.pdfบทที่ 3774.24 kBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch4_p.pdfบทที่ 43.14 MBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch5_p.pdfบทที่ 52.23 MBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_ch6_p.pdfบทที่ 6802.32 kBAdobe PDFView/Open
Nuntalux_na_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.