Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68041
Title: การประมวลผลแบบขนานสำหรับกำหนดการเชิงพันธุกรรมและขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมสำหรับปัญหาหุ่นยนต์
Other Titles: Parallelization of genetic programming and genetic algorithm for robot problems
Authors: ชิษณุ ทองฉิม
Advisors: ประภาส จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: จีเนติกอัลกอริทึม
การโปรแกรมเชิงพันธุกรรม
การประมวลผลแบบขนาน
หุ่นยนต์
หุ่นยนต์ -- การเขียนโปรแกรม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการใช้การประมวลผลแบบขนาน ในการลดเวลาการทำงานของขั้นตอนวิธีเชิงพันธ์กรรมและกำหนดการเชิงพันธุกรรม การกระจายงานบนเครือข่ายของสถานีงานใช้หลักการของการประมวลผลแบบหน่วยหยาบ ปัญหาที่ใช้ในการทดลองการประมวลผลแบบขนานประกอบด้วย ปัญหาการนำร่องหุ่นยนต์โดยใช้สิ่งแวดล้อมหลายชุดในกระบวนการเรียนรู้ ปัญหาการนำร่องหุ่นยนต์โดยการปรับชุดฟังก์ชัน และการสังเคราะห์เครื่องสถานะจำกัดจากชุดสัญญาณเข้าและขาออกหลาย ๆ ชุด การออกแบบการประมวลผลแบบขนานจะแตกต่างกันตามลักษณะของปัญหา ประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีแบบขนานวัดจากเวลาจริงในการทำงานและวิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการสื่อสารเวลาที่ลดลงเนื่องจากการใช้หน่วยประมวลผลหลายชุดถูกคำนวนเป้นค่าเวลาสัมพันธ์ ในการเปรียบเทียบระหว่างการประมวลผลแบบเชิงลำดับ กับการประมวลผลแบบขนาน คุณภาพของคำตอบจะถูกเปรียบเทียบไปพร้อมกับประสิทธิภาพในการประมวลผล การศึกษาแสดงการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้วยการลดปริมาณของงานโดยการประมวลผลแบบขนานทำงานน้อยกว่าเพื่อให้ได้คุณภาพคำตอบที่ต้องการ ในการทดลองบางชุดผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่าเวลาสัมพันธ์ที่ได้มากกว่าจำนวนหน่วยประมวลผลที่ใช้ ในขณะที่ยังรักษาคุณภาพของคำตอบได้
Other Abstract: This thesis investigates the use of parallel implementations to reduce the processing time required by Genetic Algorithm (GA) and Genetic Programming (GP). The concept of a coarse-grained model for parallelization is used to distribute the tasks on a dedicated cluster of workstations. The problems chosen to examine the parallelization techniques included the mobile robot navigation problem with several environments in the learning process, the mobile robot navigation problem with the function set tuning and the finite-state machine synthesis from multiple partial input/output sequences. The designs for the parallel implementations for these problems differed according to the nature of the problems. The performance of the parallel algorithms was measured by recording the wall-clock time and analyzing their communication overhead. The reduction of the execution time from the use of multiple processors was calculated in terms of relative time. In order to compare the serial algorithm and parallel algorithm, the quality of the results was also compared along with the parallel performance. The investigation shows how to improve the relative time by reducing the amount of work. The parallel implementation performs less work to achieve the required quality of the results. In some experiments, the results show that the achieved relative time is greater than linear while the solution quality is maintained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68041
ISSN: 9743340114
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Shisanu_to_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ906.5 kBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch1_p.pdfบทที่ 1717.72 kBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch2_p.pdfบทที่ 21.27 MBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch3_p.pdfบทที่ 3831.37 kBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch4_p.pdfบทที่ 4885.51 kBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch5_p.pdfบทที่ 51.98 MBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch6_p.pdfบทที่ 61 MBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch7_p.pdfบทที่ 71.24 MBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_ch8_p.pdfบทที่ 8683.02 kBAdobe PDFView/Open
Shisanu_to_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก801.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.