Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68049
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศา พรชัยวิเศษกุล | - |
dc.contributor.author | ธีระพงษ์ ภัทรายุตวรรตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-21T04:51:37Z | - |
dc.date.available | 2020-09-21T04:51:37Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743325905 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68049 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินของอาคารชุดพักอาศัยในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมุ่งพิจารณาในประเด็นของปัญหาด้านข้อมูลข่าวสารในตลาดอาคารชุดพักอาศัย ทางด้านอุปทานจะเป็นการพิจารณาปัจจัยพื้นฐานได้แก่ ข้อบังคับทางกฎหมาย โครงสร้างของทุนในธุรกิจ และฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ สำหรับด้านอุปสงค์ปัจจัยที่พิจารณาคือ ทัศนคติต่ออาคารชุดพักอาศัยของผู้บริโภค วิธีที่ใช้ในการศึกษา เป็นรูปแบบของการพรรณนาความ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในธุรกิจ อาคารชุดพักอาศัยและผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่า ตลาดอาคารชุดพักอาศัยมีปัญหาในด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ในส่วนของข้อบังคับทางกฎหมายนั้นทำให้เกิดความไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้คิดคำนึงถึงความเสี่ยงในการเสนอขายโครงการเท่าที่ควร ประกอบกับผู้ประกอบการสามารถเข้าสู่ธุรกิจได้โดยเสรีจึงเอื้อต่อการเกิดอุปทานของอาคารชุดพักอาศัย นอกจากนี้การระดมทุนของผู้ประกอบการจากเงินจองและเงินดาวน์ของลูกค้าในธุรกิจ อาคารชุดพักอาศัยเป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของความไม่สมมาตรของข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่ง จากการสำรวจผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามพบว่า ผู้บริโภคตระหนักถึงความไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสารดังกล่าว และ ผู้บริโภคค่อนข้างมีทัศนคติในทางลบต่ออาคารชุดพักอาศัย แสดงให้เห็นว่าความไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสารในตลาดทำให้ ในมุมมองของผู้บริโภคตลาดอาคารชุดพักอาศัยโดยรวมมีแนวโน้มที่จะเป็นตลาดของสินค้าคุณภาพต่ำ ทำให้อุปสงค์ของ อาคารชุดพักอาศัยมีความโน้มเอียงไปในส่วนของอาคารชุดพักอาศัยราคาถูก ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นอุปทานของอาคารชุดพักอาศัยราคาถูกจนกระทั่งเกิดอุปทานส่วนเกินในที่สุด และเมื่อพิจารณาในส่วนของโครงสร้างของทุนในธุรกิจ พบว่าในช่วง ที่ทำการศึกษาตลาดเงินและตลาดทุนภายในประเทศมีสภาพคล่องทางการเงินสูงจึงเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดอุปทานส่วนเกินของอาคารชุดพักอาศัยอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการในธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยมีข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถกำหนดขนาดโครงการหรือจำนวนหน่วยขายในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ของอาคารชุดพักอาศัยกระจุกตัวในบางพื้นที่ | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to study the factors that cause excess supply of residential condominium in Bangkok Metropolitan Region. The study focuses on the asymmetric information problems in the market covering the factors both in supply side and demand side. In supply side the factors to be considered are regulation, capital structure of business and entrepreneurs’ data bank. Attitude to residential condominium of consumers will be considered in demand side. The study is descriptive, using primary data from questionnaires and interviews. The regulation seems to cause moral hazard problem in the market. There was also asymmetric information between the entrepreneurs and the consumers, because the entrepreneurs required down payment from the consumers before the project actually start. The entrepreneurs tend to pay less attention to the down side risk. According to the survey the consumers realized this problem. So, they have bad attitude forward the entrepreneurs and the quality of the residential condominium. From the consumers’ point of view, the residential condominium market is the market of lemons. This so-called adverse selection problem can result in excess supply of the low-end condominium in the market. Especially in the study period there was high liquidity in the system, which lead to excess supply of the residential condominium. Furthermore, the entrepreneurs in the residential condominium market does not have enough market information. They can't properly determine the project size. in many cases, they overestimate the demand in their area. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | อาคารชุด | - |
dc.subject | อุปทานและอุปสงค์ | - |
dc.title | การศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินของอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | - |
dc.title.alternative | A study of factors that cause excess supply of residential condominium in Bangkok Metropolitdan region | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theerapong_pa_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 896.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 760.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theerapong_pa_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.