Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68059
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทยา สุจริตธนารักษ์ | - |
dc.contributor.author | ชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-21T07:07:26Z | - |
dc.date.available | 2020-09-21T07:07:26Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743316809 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68059 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย, 2541 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องภูมิหลังและบทบาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะหาข้อสรุป ทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการเข้าสู่บทบาททางการเมืองและการแสดงบทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีไทย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้อาศัยวิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีที่ได้รับ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2539 ซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยจำนวน 14 คน และใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 5 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย.2541 - 9 เม.ย. 2542 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเข้าสู่บทบาททางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีนั้น มี ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง 5 ประการตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1)คุณสมบัติส่วนตัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี (อายุ อาชีพ การศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม) 2)การให้การช่วยเหลือแก่ท้องถิ่นและประชาชนในเขตเลือกตั้ง (เงิน วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ) 3) นโยบายและชื่อเสียงของพรรคการเมือง(อุดมการณ์พรรค การจัดโครงสร้างพรรค ผลงานด้านต่าง ๆของพรรคและอื่น ๆ ) 4)อิทธิพลและบารมีของบิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง และ 5) อิทธิพลและบารมีของหัวหน้าพรรคหรือแกนนำพรรค ปัจจัยสำคัญดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่กำหนดลักษณะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี ดังนั้นภายหลังเมื่อสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรสตรีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน จึงมีเงื่อนไขและความจำเป็นที่จะสนองตอบความต้องการของประชาชนผู้เลือกตั้ง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีส่วนใหญ่จะอาศัยบทบาทนอกสภามากกว่าบทบาทในสภา โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างความพอใจให้กับประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน ทั้งนี้ ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อประชาชนได้รับความพอใจต่อการทำหน้าที่ในการเป็นตัวแทนของตน ก็จะนำไปสู่การ ให้ การสนับสนุนให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในส่วนของการแสดงบทบาททางการเมืองต่อประเด็น การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีนั้น ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีส่วนใหญ่อาศัยบทบาททางสังคมเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสิทธิสตรี | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to generalize the activity of female members of the House of Representatives in Thai politics. The study is to find the factors influencing the success in the election of female candidates and their roles as members of the House of Representatives. The study was conducted during the period of 3 November 1998 - 9 April 1999 by interviewing 14 female members of the House of Representatives in the November 17th general election. The study revealed that there were five major factors attributable to the success of those female candidates in the election, ranking by its importance, as follows: - 1) Personal profile (i.e. ag e, profession, education, economic and social status) 2) Patronage providing to the electoral community (money, material and etc.) 3) Creditability of political party including their campaigns and policies. 4) The influence and creditability of her father and mother 5) The influence and credit ability of the political party's leader. It was also found that most female members of the House of Representtatives were likely to take their roles outside the House of Representative, in other words, they tended to participate more on the community activities in order to have a continued support from voter for the next election. For the role taken on women's rights, the study showed that most of female members of the House of Representatives used their social role to solve the issues in women's rights. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | - |
dc.subject | สตรีกับการเมือง | - |
dc.subject | นักการเมืองสตรี | - |
dc.title | ภูมิหลังและบทบาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรี : ศึกษากรณีเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน 2539 | - |
dc.title.alternative | Socioeconomic background and roles of female members of the House Representatives in the November 17 th 1996 general election | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การปกครอง | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chainarong_wo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 936.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chainarong_wo_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.