Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68094
Title: บทบาทของวิทยุท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
Other Titles: Roles of local radio stations in Chonburi towards environmental and natural resources preservation
Authors: นาฏยา เสวกแก้ว
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยุกระจายเสียง
รายการวิทยุ
การวิเคราะห์เนื้อหา
การอนุรักษ์ธรรมชาติ
สื่อมวลชนกับสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของวิทยุท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ โดยศึกษาทั้งบทบาทปัจจุบัน และบทบาทที่เป็นความคาดหวังของผู้รับสารในท้องถิ่น รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงบทบาทในทัศนะของผู้ส่งสาร ในงานวิจัยนี้ใช้กรอบการวิเคราะห์จากทฤษฎีหน้าที่นิยมและทฤษฎีองค์กร ข้อมูลในการวิจัยนี้ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหารายการวิทยุที่ผลิตและออกอากาศโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรี และรายการซันไซน์ เรดิโอ ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เมืองพัทยา ในระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม 2541 และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้รับสารจำนวน 41 คน รวมถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการวิทยุ จำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทที่วิทยุท้องถิ่นกำลังกระทำมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ 1. การนำเสนอข่าวสาร 2. การสร้างจิตสำนึก 3. การให้แนวทางปฏิบัติ, การให้ความรู้, การให้ความร่วมมือ ส่วนบทบาทที่กระทำน้อย ได้แก่ การให้สถานภาพ การเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหา การเป็นเวทีให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นย้อนกลับ และบทบาทที่ไม่ได้กระทำเลยได้แก่ การเป็นแกนนำในการปฏิบัติ และการเฝ้าระวัง สำหรับความคาดหวังของผู้รับสารในท้องถิ่น จะเป็นความคาดหวังเชิงปริมาณ คือ ต้องการให้วิทยุท้องถิ่นแสดงบทบาทที่กำลังกระทำอยู่ คือ การสร้างจิตสำนึก และการให้ความรู้มากขึ้น โดยมีความคาดหวังเชิงคุณภาพเพียงบทบาทเดียว คือ การเป็นแกนนำในการปฏิบัติ ซึ่งวิทยุท้องถิ่นไม่สามารถกระทำได้ในช่วงที่ทำการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงบทบาทของวิทยุท้องถิ่นมีทั้งปัจจัยภายในได้แก่ นโยบายองค์กร ทัศนคติของนักจัดรายการ จำนวนและความถนัดของบุคลากร และงบประมาณ ส่วนปัจจัยภายนอกที่สำคัญได้แก่ แหล่งข่าว/แหล่งข้อมูล และผู้สนับสนุนรายการ ซึ่งผู้ส่งสารมีทัศนะว่า ปัจจัยด้านงบประมาณเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการศึกษาการแสดงบทบาทของวิทยุท้องถิ่นในครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า บทบาทของวิทยุท้องถิ่นในฐานะสื่อมวลชล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ บทบาทหน้าที่ในระดับพื้นฐาน เป็นบทบาทที่ใช้ทรัพยากรในการดำเนินการไม่มาก และ ปัจจุบันสื่อมวลชลมีการกระทำอยู่พอสมควร ได้แก่ บทบาทในการให้ข่าวสาร การให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึก และการให้แนวทางปฏิบัติ การให้ความร่วมมือ อีกระดับหนึ่งคือ บทบาทหน้าที่ที่สูงขึ้นเป็นบทบาทที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินการมากกว่าบทบาทพื้นฐาน ซึ่งเป็นบทบาทที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุกระจายเสียงยังไม่ค่อยกระทำ ได้แก่ การเฝ้าระวัง การให้สถานภาพ การเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหา การเป็นแกนนำในการปฏิบัติ และการเป็นเวทีให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นย้อนกลับ
Other Abstract: The objectives of this research are to study the roles of local radio stations in Chonburi toward the environmental and natural resources preservation, in both actual and expected roles as well as to analyze factors related to the role performing. The analysis of this research was undertaken within frameworks of theory of structural and functionalism, and theory of organization. The data used in this research were acquired through the content analysis of radio program broadcasted during July 15 - August 31,1998 as well as in-depth interviews of 41 audiences and 11 radio workers. The analysis demonstrated that the roles of local radio stations mostly performed are 1. presenting information 2. creating public attitude 3. guiding practical instructions, giving knowledge and cooperating with others organizations. The roles rarely performed are being status conferral, introducing strategic thought for problem solving and providing forum / feedback channel. The roles never performed are being leader in environmental activity and watch dog. The expectation of local audiences are mostly expressed in quantitative perspectives, including local radio stations to gain the roles of creating public attitude and giving knowledge. The only qualitative expectation is the activity leader, which local radio stations could not perform during this research period. The internal factors related to the role performing are the organization policies, radio personnel’s attitudes, quantity and skills of personnel, and budget. The external factors are the information resources and sponsors. The most influent factor in the radio personnel 's point of view is the budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68094
ISBN: 9743314369
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaya_sw_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.11 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch1_p.pdfบทที่ 11.61 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch2_p.pdfบทที่ 22 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch3_p.pdfบทที่ 31.15 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch4_p.pdfบทที่ 44.31 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch5_p.pdfบทที่ 53.54 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch6_p.pdfบทที่ 61.18 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_ch7_p.pdfบทที่ 71.32 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sw_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก962.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.