Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระ สัจกุล-
dc.contributor.advisorบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย-
dc.contributor.authorณวัฒน์ ทองสว่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-22T06:21:58Z-
dc.date.available2020-09-22T06:21:58Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743315572-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68097-
dc.descriptionวิทยานิพธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างคันกั้นน้ำของกทม. ต่อที่อยู่อาศัยและชุมชนในเขตบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าและหลังแนวคันกั้นน้ำ บริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงสะพานกรุงธนบุรีถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยแบ่งแยกศึกษาจากบ้านซึ่งถือครองที่ดินในลักษณะที่ต่างกัน 3 กรณี คือ กรณีเจ้าของบ้านเป็นเจ้าของที่ดิน, กรณีที่เป็น ที่ดินเช่า และกรณีบุกรุกที่สาธารณะ รวมถึงการศึกษาขั้นตอนการทำงานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและประสบปัญหาต่อชุมชนและที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการศึกษาแนวความคิดในการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินริมแม่น้ำ และการควบคุมการก่อสร้างริมแม่น้ำเจ้าพระยาในอนาคต ผลจากการวิจัยพบว่า ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่เชื่อว่าการสร้างคันกั้นน้ำจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม และน่าจะทำให้ที่อยู่อาศัยและชุมชนโดยรวมอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างก็ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอยู่หลายประการด้วยกัน ซึ่งปัญหาต่าง ๆ มีสาเหตุมาจาก กระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นของทางราชการที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นของประชากรในพื้นที่ และนักวิชาการอย่างมากเพียงพอ ทำให้แนวคันกั้นน้ำและรูปแบบของคันกั้นน้ำไม่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ เป็น 2 ส่วน คือ ผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย และผลกระทบ ต่อชุมชนและเมือง ในส่วนของผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยนั้นมีผลให้ต้องมีการรื้อถอน ปรับปรุงและซ่อมแซมแบบที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากการก่อสร้างคันกั้นน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับส่วนของชุมชนและเมืองนั้น อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชนระหว่างผู้ที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงการทำให้ทัศนียภาพของชุมชนและที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำเปลี่ยนแปลงไป แนวทางการแก้ปัญหานั้น ผู้วิจัยเสนอแนะให้เพิ่มขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ และการทำประชาพิจารณ์ในช่วงเวลา การเตรียมการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อให้รายละเอียดของโครงการได้ผ่านการรับรู้ของชาวชุมชนโดยตลอด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของชาวชุมชนในพื้นที่ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม และการกำหนดรูปแบบการก่อสร้างควรมีการคำนึงถึงภาพลักษณ์โดยรวมของที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำชุมชน และเมืองตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมการดำรงชีวิตริมแม่น้ำ การควบคุมการให้ที่ดินริมแม่น้ำ และการควบคุมการก่อสร้างอาคารริมแม่น้ำ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ปัญหาหลาย ๆ ส่วนได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี นอกจากนั้นการแก้ปัญหาควรจะมีแผนงานที่ชัดเจนและต่อเนื่อง มีการวางแผนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด และลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอนของการดำเนินงาน-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to study the impact of constructing the BMA’s flood protection dike on residences and community along the west of the Chao Phraya River Bank from Krungdhonburi Bridge to Somdej Phra Pinklao Bridge. Three categories of households were examined: the landowners, the tenants, and the squatters in public places. The construction procedures taken by the government organizations involved and the results, the measures to control land exploitation and constructions on the land along the riverbank in the future were also studied. The results revealed that most residents believed that the construction would be beneficial for them since the dike would help protect against the floods. Also, their communities and residences would be in a better condition in general. However, the construction of the dike also caused some problems because the government officials and the specialists did not pay much attention to the residents’ points of view in the early stages of the construction. Therefore, the dike and its shape was not the best choice to meet the residents’ needs. Regarding the impact on residences, some houses had to be demolished, renovated or repaired due to the direct and indirect effects of the construction. As for the impact on communities and towns, there were some conflicts between the residents in the front and in the back of the dike and the scenery of the towns and communities were changed. The author suggested that public relations and public hearings should be added to the procedure at the time of planning, preparation, and construction so that the details about the project were made known to the public all the time. This would make the construction go on efficiently and directly meet the needs of residents and yield the highest benefits to the public. The shape of the dike should be designed with respect to the overall image of the residences on the riverside, towns, and communities. It should go along well with the environment, culture and life along the river. Measures to control land exploitation and constructions on the riverside could be applied to solve some problems correctly. Added to this, problem solving should be done clearly and continuously. Development planning should be done systematically, step by step according to the order of importance to gain the highest benefits and reduce the damage that might occur at any step of the construction procedure.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectน้ำท่วม -- ไทย -- บางพลัด (กรุงเทพฯ)-
dc.subjectการป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectคันกั้นน้ำ-
dc.titleที่อยู่อาศัยบริเวณแนวกั้นน้ำของกรุงเทพมหานครริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี : การศึกษาผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหา-
dc.title.alternativeResidential area along the BMA's flood protection dike on the Chao Phraya River, Thonburi Bank : a study of impact and trategies for improvement-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nawat_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.3 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch1_p.pdfบทที่ 1909.44 kBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.02 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch3_p.pdfบทที่ 32.83 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.09 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch5_p.pdfบทที่ 53.42 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_ch6_p.pdfบทที่ 62.04 MBAdobe PDFView/Open
Nawat_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.