Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68103
Title: วัฒนธรรมองค์การของพรรคการเมืองไทย
Other Titles: Organizational culture of Thai political parties
Authors: ธวัชชัย รุ่งโรจน์ชนาทิพย์
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
อุบลวรรณา ภวกานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วัฒนธรรมองค์การ
พรรคการเมือง -- ไทย
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะวัฒนธรรมองค์การพรรคการเมืองไทยทั้งที่เป็นอยู่และที่ควรเป็น การศึกษาเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพรรคการเมือง 6 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเสรีธรรม ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2541 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ 2542 เนื้อหาของการวิเคราะห์มี 7 ประเด็น คือ ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะเน้นความสำเร็จ ลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม และลักษณะเน้นอนาคต จากผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 5 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นนอน และลักษณะเน้นอนาคต ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรมและลักษณะเน้นความสำเร็จไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ควรเป็นของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 4 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ และลักษณะการหลีกเลี่ยงความแน่นนอน ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม ลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นอนาคตไม่มีความแตกต่างกัน ผลสรุป ดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยข้างต้น พรรคการเมืองควรตระหนักถึงบทบาทของวัฒนธรรมองค์การ โดยพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ควรเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง
Other Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบลักษณะวัฒนธรรมองค์การพรรคการเมืองไทยทั้งที่เป็นอยู่และที่ควรเป็น การศึกษาเรื่องนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพรรคการเมือง 6 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคเสรีธรรม ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2541 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ 2542 เนื้อหาของการวิเคราะห์มี 7 ประเด็น คือ ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะเน้นความสำเร็จ ลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม และลักษณะเน้นอนาคต จากผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 5 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ ลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นนอน และลักษณะเน้นอนาคต ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรมและลักษณะเน้นความสำเร็จไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ควรเป็นของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง 4 ใน 7 ปัจจัย คือ ลักษณะความเป็นเพศชาย ลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ลักษณะการใช้อำนาจ และลักษณะการหลีกเลี่ยงความแน่นนอน ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะเน้นความมีมนุษยธรรม ลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นความสำเร็จและลักษณะเน้นอนาคตไม่มีความแตกต่างกัน ผลสรุป ดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยข้างต้น พรรคการเมืองควรตระหนักถึงบทบาทของวัฒนธรรมองค์การ โดยพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ควรเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68103
ISSN: 9743328424
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tavatchai_ru_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.14 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch1_p.pdfบทที่ 11.09 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch2_p.pdfบทที่ 23.53 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch3_p.pdfบทที่ 33.02 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch4_p.pdfบทที่ 4863.87 kBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch5_p.pdfบทที่ 54.62 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_ch6_p.pdfบทที่ 61.29 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_ru_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.