Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรี ขาวเธียร-
dc.contributor.advisorบุญยง โล่ห์วงศ์วัฒนา-
dc.contributor.authorชัยวัฒน์ โพธิ์ทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-24T04:31:40Z-
dc.date.available2020-09-24T04:31:40Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743320148-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68135-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทำลายฤทธิ์โลหะหนักในผงถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว โดยการทำให้เป็นก้อนแข็ง ถ่านไฟฉายที่ใช้ในการวิจัยเป็นถ่านไฟฉายแบบคาร์บอน-สังกะสี ขนาดใหญ่ ที่ถูกเก็บรวบรวมมาจากสถานีขนถ่ายอ่อนนุช วัสดุประสานที่ใช้ คือ ปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ประเภท 1, ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 5, ปูนซีเมนต์ซิลิกา, ปูนซีเมนต์ซิลิกาผสมปูนขาวร้อยละ 25 (โดยน้ำหนัก) และปูนซีเมนต์ซิลิกาผสมทรายร้อยละ 25 (โดยน้ำหนัก) จากการทดสอบคุณสมบัติของผงถ่านไฟฉาย โดยวิธีการสกัดสารของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2531) พบว่า ผงถ่านไฟฉายส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทสารมีพิษ โดยเฉพาะถ่านไฟฉาย B06 ซึ่งมีปริมาณการใช้มากที่สุด พบว่ามีความเข้มข้นของแคดเมียมและปรอทในน้ำชะละลายเท่ากับ 3.79 มก./ล. และ 1.24 มก./ล. ตามลำดับ ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้โดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 25 พ.ศ. 2531 คือ แคดเมียมและปรอท ไม่เกิน 1 มก./ล. และ 0.2 มก./ล. ตามลำดับ การทดสอบหาสัดส่วนผสมเบื้องต้น โดยการปรับเปลี่ยนสัดส่วนผสมระหว่างผงถ่านไฟฉาย(B06)ต่อวัสดุประสานทั้ง 5 ชนิด ในสัดส่วนตั้งแต่ 0, 0.1, 0.2 และ 0.3 (โดยน้ำหนัก) พบว่า ปูนซีเมนต์ซิลิกามีประสิทธิภาพในการทำให้เป็นก้อนแข็งใกล้เคียงกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 และ 5 และเป็นวัสดุประสานที่หาง่ายและราคาถูกกว่า และที่สัดส่วน 0.1 ทำให้ก้อนตัวอย่างมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่กรมโรงงานกำหนดไว้ กล่าวคือ มีค่ากำลังรับแรงอัดมากกว่า 14 กก./ตร.ชม., ความหนาแน่น มากกว่า 1.04 ตัน/ลบ.ม. และผ่านมาตรฐาน ความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำชะละลายด้วย การทดสอบหาสัดส่วนที่เหมาะสม โดยใช้สัดส่วนปูนซีเมนต์ซิลิกาต่อผงถ่านไฟฉาย(B06) เป็น 6 : 1, 7 : 1, 8 : 1 และ9 : 1 (โดยน้ำหนัก)พบว่าที่สัดส่วนผสมที่7 : 1 เมื่อบ่มครบ 28 วันเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมโดยก้อนตัวอย่างมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด กล่าวคือ มีค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นมากเป็น 102.9 กก./ตร.ซม., ความหนาแน่น 2.08 ตัน/ลบ.ม., ความเข้มข้นของแคดเมียมและปรอทในน้ำชะละลายเหลือ 0.02 มก./ล. และ 0.0014 มก./ล. ตามลำดับ รวมทั้งมีลักษณะแข็งคล้ายหินและไม่มีกลิ่น จากผลการทดสอบระยะเวลาบ่มต่อการทำให้เป็นก้อนแข็ง โดยการนำก้อนตัวอย่างที่มีสัดส่วนปูนซีเมนต์ซิลิกา ต่อ ผงถ่านไฟฉาย(B06) เท่ากับ 7 : 1 มาบ่มเป็นระยะเวลา 7, 14, 28 และ 60 วัน พบว่า เมื่อระยะเวลาบ่มเพิ่มจะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดสูงขึ้น ในขณะที่ระยะเวลาบ่มจะมีผลต่อการชะละลายของโลหะหนักไม่มากนัก ส่าหรับการทดสอบการแช่ก้อนตัวอย่างในระยะยาว โดยการนำก้อนตัวอย่างที่สัดส่วนปูนซีเมนต์ซิลีกาต่อผงถ่านไฟฉาย(B06) เท่ากับ 7 : 1 ที่บ่มครบ 28 วัน มาบดแล้วแช่ในน้ำกลั่นที่มี pH 5.8-6.3 เป็น เวลา 7, 14, 28 และ 60 วัน เมื่อนำน้ำชะละลายมาวิเคราะห์ พบว่าระยะเวลาที่แช่นานขึ้นทำให้ปรอทถูกชะละลายออกมามากขึ้นด้วย ส่วนการทดสอบการน่าผงถ่านไฟฉายยี่ห้ออื่นมาทำให้เป็นก้อนแข็ง โดยใช้สัดส่วนปูนซีเมนต์ซิลีกาต่อผงถ่านไฟฉายเท่ากับ 7 : 1 เมื่อบ่มครบ 28 วัน พบว่า ค่ากำลังรับแรงอัด, ความหนาแน่น และความเข้มข้นของโลหะหนัก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกค่าเช่นกัน สำหรับการประเมินค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการขนส่ง, ขั้นตอนการทำให้เป็นก้อนแข็ง จนถึงขั้นตอนการขนส่งไปฝังกลบจะสิ้นค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 25,000 บาทต่อตันผงถ่านไฟฉาย หรือประมาณร้อยละ 16.6 ของราคาขายของถ่านไฟฉายขนาดใหญ่(B06)-
dc.description.abstractalternativeThis research investigated the detoxification of heavy metals in used battery powder by solidification. The batteries using in this study were large size carbon-zinc batteries which were collected from Onnuj transfer station. The binders used in this study were Portland cement type 1, Portland cement type 5, silica cement, a mixture of silica cement and lime 25 % (by weight) and a mixture of silica cement and sand 25 % (by weight). The characteristic of the battery powder, leaching by the Department of Industrial Works 's method (the Department of industrial Works 's promulgation vol. 1 1988) showed that most battery powders were classified as hazardous waste. Especially the B06 battery with the highest consumption, had cadmium and mercury m leaching solution at concentration of 3.75 mg./l. and 1.24 mg/l respectively. This values exceeded the standard setting by the Ministry of Industry 's promulgation vol. 25, 1988, for cadmium and mercury at not more than 1 mg/1 and 0.2 mg/1. respectively. Form the trial test, by adjusting the proportions of battery powder (B06) to five binders at 0, 0.1, 0.2 and 0.3 (by weight). It was found that the silica cement had a solidified efficiency as good as Portland cement type 1 and 5. And It was easily available and cheaper. And the mixing ratio of 0.1, the solidified samples met the Department of Industrial Works 's standard, for compressive strength more than 14 kg/cm2., for density more than 1.04 ton/m.3 and met the standard for heavy metals in the leaching solution too. In the optimization test, the proportions of silica cement to battery powder (B06) were reduced to 6:1, 7:1, 8:1 and 9:1 (by weight). It was found that the best proportion, at 28 days curing time, was 7:1. All of the solidified samples met the government standards with a remarkable increasing of compressive strength of 102.9 kg. /cm2., a density of 2.08 ton/m3. And with cadmium and mercury concentrations in leaching solution of 0.02 mg./l. and 0.0014 mg./l. respectively. And hard as rock and no smell. In a test on effect of curing time on the solidified product, the solidified samples, at 7:1 mixing proportion, were cured for 7, 14, 28 and 60 days. It was found that increase in curing time increased the compressive strength of solidified sample, However, it did not show much effect on leaching of heavy metals. For the long-term soaking test, the solidified samples of 7:1 mixing proportion and 28 days curing time were crushed and soaked in distilled water having a pH value 5.8-6.3 for 7, 14, 28 and 60 days. After leaching, it was found that increase in soaking time increased the amount of mercury in leachate. In the solidification of other brand of battery powders, at 7:1 mixing proportion and 28 days curing time, it was found that the compressive strength, density and heavy metals concentration also met the standards. The total estimated cost for transportation, solidification and disposal was about 25,000 baht per ton of battery powder or about 16.6 percent of the large size battery 's price (B06).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectของเสียอันตราย-
dc.subjectถ่านไฟฉาย-
dc.subjectโลหะหนัก-
dc.subjectการกำจัดของเสีย-
dc.titleการทำลายฤทธิ์โลหะหนักในผงถ่านไฟฉายที่ใช้แส้ว โดยการทำให้เป็นก้อนแข็ง-
dc.title.alternativeDetoxification of heavy metals inused battery powder by solidification-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwat_ph_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.16 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch1_p.pdfบทที่ 1631.06 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch2_p.pdfบทที่ 2631.74 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch3_p.pdfบทที่ 33.06 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch4_p.pdfบทที่ 41 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch5_p.pdfบทที่ 52.35 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch6_p.pdfบทที่ 6649.72 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_ch7_p.pdfบทที่ 7602.57 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_ph_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.