Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6814
Title: การศึกษาสภาพการใช้บริการด้านสุขภาพของนักเรียน ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม : รายงานการวิจัย
Other Titles: The study of students' use of the Chulalongkorn University Demonstration School Health Service
Authors: ศิริรักษ์ ศิริวิริยะกุล
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)
Subjects: บริการสุขภาพในโรงเรียน
สุขภาพ
อนามัย
อนามัยโรงเรียน
สุขศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการด้านสุขภาพของนีกเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยรวบรวมข้อมูลจากบันทึกรายงานการเจ็บป่วยของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ระหว่างปีการศึกษา 2536-2541 จากหน่วยอนามัยโรงเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1. ในช่วงระยะเวลา 6 ปี ปี่ทำการศึกษาวิจั้ยี้ (ปีการศึกษา 2536-ปีการศึกษา 2541) นักเรียนใช้บริการด้านสุขภาพที่หน่วยอนามัยโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 34,179 ครั้ง เฉลี่ยปีละประมาณ 5,697 ครั้ง ในแต่ละปีเปิดให้บรการประมาณ 170 วัน ดังนั้น อัตราการใช้บริการด้านสุขภาพเฉลี่ยวันละประมาณ 34 ครั้ง 2. อาการหรือลักษณะความเจ็บป่วยของนักเรียนที่ใช้บริการด้านสุขภาพในระยะ 6 ปี ที่พบมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ อันดับที่ 1 ปวดศีระษะ ร้อยละ 16.81 อันดับที่ 2 อุบัติเหตุ บาดแผล ร้อยละ 16.51 อันดับที่ 3 ไข้ ร้อยละ 13.66 อันดับที่ 4 คัดจมูก แพ้อากาศ ร้อยละ 10.82 อันดับที่ 5 ปวดท้องทั่วไป ร้อยละ 10.07 อันดับที่ 6 ปวดประจำเดือน ร้อยละ 6.63 อันดับที่ 7 ท้องเสีย ร้อยละ 6.20 อันดับที่ 8 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร้อยละ 5.70 อันดับที่ 9 ไอ เจ็บคอ ร้อยละ 4.64 อันดับที่ 10 ผื่น ลมพิษ ร้อยละ 3.29 3. สาเหตุการเจ็บป่วย ไม่รวมอุบัติเหตุ พบว่า มากที่สุด คิดเป็นร้อละ 24.84 คือ เครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 23.17 คือ ความคิดปกตอของอาหารและการรับประทาน และอันดับสาม คิดเป็ยร้อยละ 18.56 คือ โรคประจำตัว เช่น หอบหืด กระเพาะอาหารอักเสบ ภูมิแพ้ 4. ลักษณะของอุบัติเหตุ ที่เกิดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.76 คือ อุบัติ้หตุจากของมีคม รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 19.85 คืออุบัติเหตุจากถูกแรงบีบอัดกระแทก และอันดับสาม คิดเป็นร้อยละ 18.42 คือ อุบัติเหตุจากของแหลมทิ่มแทง 5. สาเหตุของอบัติเหตุ ที่พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.48 คือ ขาดความระมัดระวัง รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 36.02 คือ ขาดทักษะหรือมีประสบการณ์น้อย และอันดับสาม คิดเป็นร้อยละ 14.56 คือ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ 6. การปฏิบัติตนเบื้องต้นของนักเรียนที่มาใช้บริการ 6.1 เมื่อเจ็บป่วยทั่วไป (ไม่รวมอุบัติเหตุ) พบว่า มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.04 คือ การใช้ทั้งยาและการปฏิบัติตนในสิ่งที่คิดว่า จะทำให้การเจ็บป่วยดีขึ้น รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 21.68 คือ การใช้ยาสามัญเอง และอันดับสาม คือ คิดเป็นร้อยละ 16.64 คือไม่ใช้ยา แต่ปฏิบัติตนในสิ่งที่คิดว่า จะทำให้การเจ็บป่วยดีขึ้น เช่น พักผ่อน รับประทานอาหารเป็นเวลา 6.2 เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พบว่า นักเรียนส่วนมาก คือ ร้อยละ 57.50 สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เอง แต่ไม่ค่อยมั่นใจ รองลงมา ร้อยละ 22.03 สามารถปฐมพยาบาลเบท้องต้นได้เองอย่างมั่นใจ และอันดับสาม คือ ร้อยละ 20.47 ไม่สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ 7. การดูแลนักเรียนเมื่อมาใช้บริการด้านสุขภาพ มากที่สุด คือ คิดเป็นร้อยละ 95.45 คือ ให้การรักษาเบ็ดเสร็จได้ในหน่วยอนามัย เช่น ให้ยา บ่งเสี้ยน ทำแผล รองลงมา คือ คิดเป็นร้อยละ 2.56 คือ ให้การรักษาเบื้องต้นแล้วส่งตทอเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมในคลินิกหรือโรงพยาบาล และอันดับสาม คิดเป็นร้อยละ 1.95 คือ ให้เฉพาะคำแนะนำที่ถูกต้อง (ไม่ให้ยา)
Other Abstract: In this research articel, th edata of health service for grade 7-12 students of Chulalongkorn University Demonstration School from the school First Aid Room reports during the academic year 1993-1998 was studied and analyzed. The results were summarized as followed: 1. During the six years of this study, there were 34,179 services for th estudents, average of 5,697 services per year and 34 services per school day. 2. The ten most common symptoms or illness of the students were;- headache (16.81%),accident (16.51%), fever (13.66%), rhinorrhea (10.82%), abdominal pain (10.07%), dysmenorrhea (6.63%), diarrjea (6.20%), muscleache (5.70%), cough and /or score throat (4.64%) and urticaria (3.29%) 3. The three most common causes of illness, excluding accident, were: -anxiety and /or inadequately rest (24.84%), abnormal foods or meals (23.17%), and personal chronic illness such as asthma, peptic ulcer (18.56%). 4. The three most common types of accident were:- laceration (24.76%), compressio (19.85%) and punctual wound (18.42%). 5. The three most common causes of accident were:- carelessly (49.48%), lack of skill or inexperiencely (36.02%) and emotional uncontrollable (14.56%). 6. The three most common preliminary responses of the students to the illness, excluding accident, were:- using simple medications in combination with good health practices (47.04%), using only simple medications (21.68%) and only good health practices without any medications (16.64%). In case of accident, 57.50% of the cases could do the first aids, but without confidence. Only 22.03% could do with confidence. And those who could not do were 20.47%. 7. Almost all of the cases (95.45%) were totally treated within the school first aids room. Only 2.56% of cases, after preliminary treatment, were sent for further proper treatmnt in the clinic or hospitals. 1.96% of cases were given only proper advision.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6814
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirak(stud).pdf11.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.