Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68158
Title: | ผลกระทบของโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อคุณภาพชีวิตชุมชนหนองแฟบ เทศบาลตำบลมาบตาพุด |
Other Titles: | The impacts of Eastern Seaboard Development plan on quality of life of Nog Fab Community, Map ta Put Municipality |
Authors: | ขวัญศิริ เจริญทรัพย์ |
Advisors: | อมรา พงศาพิชญ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Amara.P@chula.ac.th |
Subjects: | นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ชุมชนหนองแฟบ (ระยอง) การพัฒนาที่ดิน -- ชายฝั่งทะเลตะวันออก คุณภาพชีวิต -- ไทย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม Quality of life -- Thailand Social change |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและคุณภาพชีวิตชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยการศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิต ได้กำหนดกรอบการศึกษาว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ 1) มิติของคุณภาพชีวิต 2) หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม และ 3) หลักการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาชุมชนหนองแฟบ เทศบาลตำบลมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามทางมานุษยวิทยา คือ การสัมภาษณ์โดยใช้แนวคำถาม การสังเกต และศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การที่ชุมชนหนองแฟบ มีพื้นที่ติดกับเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดส่งผลให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างชุมชน โดยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นแกนหลักและส่งผลกระทบต่อระบบอื่นของชุมชน เช่น วิถีชีวิต ระบบความสัมพันธ์ในชุมชน ในปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตจากมิติต่าง ๆ พบว่าชุมชนมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ มีสภาพเศรษฐกิจดี คนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข เยาวชนมีโอกาสทางการศึกษา คนในชุมชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ คนในชุมชนไม่มีปัญหาด้านจริยธรรมจนก่อให้เกิดความเดือดร้อน ชุมชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ครอบครัวมีศักยภาพในการเลี้ยงดูสมาชิก ส่วนสภาพปัญหาที่พบคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษในอากาศ น้ำ และ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง ในปัจจัยด้านการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม พบว่าชุนชนมีกิจกรรมพัฒนาโรงเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน เป็นการมีส่วนร่วมในลักษณะของการร่วมดำเนินการตามแผน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนคือ ระบบและการบริหารปกครองระดับเทศบาล ค่านิยมของข้าราชการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ในชุมชน ความผูกพันในท้องถิ่น ระดับความรุนแรงของปัญหา และทัศนะของชาวบ้านต่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ในปัจจัยด้านการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง พบว่าองค์ประกอบของการพึ่งตนเองที่พบในชุมชนคือ การบรรลุถึงระดับการประทังชีพในปัจจัยสี่ และการมีโครงสร้างทางด้านกายภาพและสังคมเพียงพอแก่ความต้องการพื้นฐานของชุมชน องค์ประกอบที่ไม่พบคือชุมชนมีการลงทุนหรือใช้ทรัพยากรภายในเป็นสำคัญเพื่อการประกอบอาชีพ และการมีสถาบันที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันในชุมชน |
Other Abstract: | The objective of the study is to study the social change and quality of life under impact of Eastern Seaboard Development Plan Quality of life was analysed in tern of quality of life dimensions. Participation and self-reliance. This research is to study at Nong Fab community. Map ta put Municipality. Amphoe Muang Rayong province Research methodology was documentary and anthropological field study; including in-depth interview and observation. In terms of field research, it was found that Nong Fab Community located in the proximity of the industrial zone was very much effected by the change by the change from agricultural to industrial economic structure. Meanwhile the way of life and the relation between members have also changed. Among eight dimensions of quality of life it was found that the community is functioning well in terms of economic conditions infrastructure medical services education opportunities availability of information, safety and family support. The problem is environment such as water and decrease of resources. The participation activities include interests in school development activities and cooperation in the implementation of plans. The obstacles against participation in community development are municipal government which do not support participation and lack of regulations municipal officers and people’s attitudes sense of belonging. Self – reliance factors in the community is seen in the achievement of survival goals. The physical and social structure which are sufficient for inner needs. The use of its own resource for investment of development activities in the community and organization of joint activities local are not found. |
Description: | วิทยานินพธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68158 |
ISBN: | 9746395092 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kwansiri_ch_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 915.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 872.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Kwansiri_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.