Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/681
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไชยันต์ ไชยพร | - |
dc.contributor.author | สุมาภรณ์ ศรีม่วง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-08T05:32:22Z | - |
dc.date.available | 2006-07-08T05:32:22Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741766947 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/681 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องอำนาจ ภาวะผู้นำ และการสงครามของซุนจื้อและมาคิอาเวลลีนั้น ผู้ศึกษาได้ใช้งานเขียนเรื่อง "ศิลปะแห่งสงครามของซุนจื้อ" ฉบับแปลของอธิคม สวัสดิญาณ และงานเขียนเรื่อง "The Art of War" ของมาคิอาเวลลีฉบับแปลของ Allan Gilbert เป็นหลักในการศึกษาเปรียบเทียบ โดยในส่วนของมาคิอาเวลลีนั้นผู้ศึกษาได้ใช้งานเขียนอื่นๆ ของมาคิอาเวลลีเช่น The Prince และ The Discourses มาเป็นกรอบในการทำความเข้าใจและการตีความในบางประเด็นด้วย ผลของการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าแนวคิดของซุนจื้อและมาคิอาเวลลีนั้นมีความแตกต่างกันในบางประเด็นด้วยซุนจื้อเป็นนักปฏิบัติ ขณะที่มาคิอาเวลลีเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ แต่ก็มีหลายประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกัน อย่างทัศนะในเรื่องธรรมชาติของสงครามที่เห็นพ้องว่าสงครามเป็นเรื่องของการแก่งแย่งวุ่นวายและเป็นที่มาของผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังเห็นว่าสงครามมีที่มาจากปัจจัยเดียวกันซึ่งก็คือธรรมชาติของมนุษย์ แม้ว่ามุมมองของทั้งสองอาจแตกต่างกันอยู่บ้างในจุดเริ่มต้นของความคิด แต่ก็ลงท้ายด้วยบทสรุปเดียวกัน สำหรับทัศนะในเรื่องอำนาจ ผู้ศึกษาได้อธิบายโดยแบ่งแนวคิดเรื่องอำนาจเป็นสามลักษณะได้แก่ การสูญเสียอำนาจ การขึ้นสู่อำนาจ และการรักษาอำนาจ โดยทั้งสองคนได้กล่าวถึงอำนาจในบริบทสงคราม ทั้งนี้มีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ทว่าที่มาแห่งการสูญเสีย การขึ้นสู่ และการรักษาอำนาจนั้นกลับเป็นสิ่งเดียวกันนั่นก็คือการมีคุณธรรม (virtu) หรือความรู้ความเข้าใจในศิลปะแห่งสงครามและความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างรอบคอบ เพราะหากขาดหรือด้อยในศิลปะแห่งสงครามย่อมทำให้สูญเสียอำนาจ ตรงกันข้ามการมีศิลปะแห่งสงครามย่อมทำให้ได้มาซึ่งอำนาจได้เช่นกัน ขณะเดียวกันหากมีแต่ไม่พัฒนาความรู้ในศิลปะแห่งสงครามก็จะไม่สามารถรักษาอำนาจนั้นไว้ได้นาน ในเรื่องภาวะผู้นำนั้น นำเสนอในประเด็นการจัดการภายในกองทัพของผู้นำ ซึ่งทั้งสองมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องระดับของผู้นำ โดยมาคิอาเวลลีจะเน้นไปที่ผู้ปกครองรัฐเป็นหลัก ขณะที่ซุนจื้อกลับให้ความสำคัญที่ตัวแม่ทัพมากกว่า อย่างไรก็ตามทั้งสองก็ยังมีความเห็นที่ตรงว่าหากผู้นำทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการไม่เข้าใจในศิลปะแห่งสงครามอย่างถ่องแท้แล้ว ก็ไม่สามารถจะนำพากองทัพไปสู่เป้าหมายซึ่งก็คือชัยชนะได้นั่นเอง จากการศึกษายังทำให้พบว่าอำนาจทางการทหารนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่ออำนาจการเมืองโดยเฉพาะในบริบทสงครามหรือในสภาวะการณ์ทางการเมืองที่มีความวุ่นวาย ดังนั้นเราจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการศึกษาอำนาจทางการทหารได้ เพราะอำนาจทางการทหารนั้นสามารถเป็นได้ทั้งปัจจัยที่เสริมแรงและอุปสรรคที่กีดขวางการมีอำนาจทางการเมือง | en |
dc.description.abstractalternative | As the comparative study of Power, Leadership and Warfare of Sun Tzu and Machiavelli, I have studied "Sun Tzu's The Art of War" translated by Atikom Sawatiyarn and Machiavelli's "The Art of War" translated by Allan Gilbert as the main of comparative study. In the part of Machiavelli, I also have elaborated others Machiavelli’s works such as The prince and The discourses in order to create more understanding and interpreting in some points. The result of comparative study has found out that Sun Tzu and Machiavelli concepts are different in some points. As Sun Tzu is the practitioner meanwhile Machiavelli is just only the observer but there are some familiar points too. Their concepts toward nature of war is common that the war is chaos and it can bring about the interest. Additionally, they thought that war come from common factor which is human nature. Eventhough, their point of view is different in some of original concept. However, both are ended by the same conclusion. For the conception of power, I have described this by separating the conception of power into 3 types; lose of power, acquiring of power and retaining of power. Their idea towards the power in the context of war is different in the detail but they both had agreed that cause of lose of power, acquiring of power and retaining of power was virtue or the acknowledgement in the Art of War and ability to apply prudently. Since if you are lack of or weak in the Art of War, you will lose the power. On the other hand, if you possess the Art of War then you can earn the power. But you do not develop the knowledge in the Art of War, you are not longer retaining the power. For the leadership, I have presented in the matter of leader's management inside the armed force. Both of their view is different in term of leader's level. Machiavelli would emphasize mainly in the Prince or Governor of the State. Meanwhile, Sun Tzu paid more attention to commander-in-chief. However they both agree that if the leader in the policy level and practical level seem to be not understanding the Art of War profoundly, they can not bring the army to the glory. From the study, it can find that military power is essential factor which effects the political power especially in the context of war or political disorder. Thus, we can not avoid the study of military power because military power is able to be supporting factor and obstacle in political power. | en |
dc.format.extent | 1812166 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ซุนวู | en |
dc.subject | มาคิอาเวลลี, นิโคโล, ค.ศ. 1469-1527 | en |
dc.subject | ภาวะผู้นำ | en |
dc.subject | สงคราม | en |
dc.title | แนวความคิดเรื่องอำนาจ ภาวะผู้นำ และการสงครามของซุนจื้อและมาคิอาเวลลี : การศึกษาเปรียบเทียบ | en |
dc.title.alternative | Power, leadership and warfare in Sun Tzu and Machiavelli: a comparative study | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การปกครอง | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chaiyand.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sumaporn.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.