Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68219
Title: | การคัดเลือก Pisolithus tinctorius ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าเพื่อใช้ในโครงการปลูกป่าในประเทศไทย |
Other Titles: | Selection of Pisolithus tinctorius ectomycorrhizal fungi for reforestation program in Thailand |
Authors: | เชิดชัย โพธิ์ศรี |
Advisors: | อนิวรรต เฉลิมพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | เอคโตไมคอร์ไรซา เชื้อรา สนสามใบ การปลูกป่า Pisolithus tirictorius |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ราเอคโตไมคอร์ไรซ่า Pisolithus tinctorius (Pers.) Coker & Couch. ที่มีสมบัติที่ดีเหมาะต่อการทำหัวเชื้อเพื่อสร้างไมคอร์ไรซ่า ให้แก่กล้าสนสามใบ (Pinus kesiya Royle ex Gordon) และยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis Dehnh.) การศึกษาปัจจัยของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อุณหภูมิ และความเป็นกรด- ด่าง ที่มีผลต่อการเจริญของเส้นใยราเอคโตไมคอร์เรซ่า ที่แยกจากเห็ด P. tinctorius จากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศ จำนวน 14 สายพันธุ์ โดยใช้แผนการ ทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely randomized design, CRD) พบว่า เส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซ่า P. tinctorius ทุกสายพันธุ์เจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในช่วงความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 5 -7 ที่ระดับความเชื่อมั่น P = 0.05 สามารถคัดเลือกรา P. tinctorius สายพันธุ์ที่มีการเจริญดี ได้ 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่ 1 จากสวนป่ายูคาลิปตัส จ.ยโสธร, สายพันธุ์ที่4 จากป่าสนเขา จ.เชียงใหม่, สายพันธุ์ที่ 12 จากสวนป่ายูคาลิปตัส จ.ตาก และสายพันธุ์ที่ 13 จากป่าสนเขา จ. เพชรบูรณ์ ผลของการใส่หัวเชื้อเส้นใยรา P. tinctorius สายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ในวัสดุเพาะ ต่อการสร้างไมคอร์ไรซ่า และผลต่อการตอบสนองการเจริญของกล้าไม้สนสามใบ และยูคาลิปตัส ในเรือนเพาะชำ เทียบกับชุดควบคุมที่ได้นำหัวเชื้อเส้นใยรา P. tinctorius มานึ่งฆ่าเชื้อก่อนใส่ให้กับกล้าไม้ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized complete block design, RCBD) พบว่า การใส่หัวเชื้อเส้นใยรา P. tinctorius มีผลทำให้การเจริญทางความสูงของลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอรากของลำต้น น้ำหนักแห้งในส่วนของลำต้น ใบ และราก และมวลชีวภาพรวม ของกล้าไม้สน สามใบ และยูคาลิปตัส เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับชุดควบคุม การใส่หัวเชื้อเส้นใย P. tinctorius สายพันธุ์ที่ 13 ทำให้กล้าไม้สนสามใบมีการเจริญทางความสูงของลำต้น น้ำหนักแห้งของลำต้น ใบ ราก และมวลชีวภาพรวม มากกว่าการใส่หัวเชื่อเส้นใย P. tinctorius สายพันธุ์อื่น การใส่หัวเชื้อเส้นใย P. tinctorius สายพันธุ์ที่ 12 ให้กับกล้าไม้ยูคาลิปตัส ทำให้กล้าไม้มีการเจริญทางด้านเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น น้ำหนักแห้งของลำต้น ใบ ราก และมวลชีวภาพรวม มากกว่าการใส่หัวเชื้อเส้นใย P. tinctorius สายพันธุ์อื่น ที่ระดับความเชื่อมั่น P = 0.05 ผลที่ได้จากการศึกษานี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับใช้เป็น แนวทางในการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับไมคอร์ไรซ่าในโครงการปลูกป่าในประเทศไทย |
Other Abstract: | The study objective was aimed to select the strains of Pisolithus tinctonus (Pers.) Coker & Couch ectomycorrhizal fungi, which have good properties for producing inocula and forming ectomycorrhiza on Pinus kesiya Royle ex Gordon and Eucalyptus camaldulensis Dehnh. Seedlings. Environtmental factors such as temperature and pH that affect the mycelial growth of 14 isolates of P. tinctonus which isolated from P. tinctonus fruiting bodies of different sources in the country were studied by using Completely randomized design (CRD), in order to select these strains for producing inocula. The results revealed the optimum temperature at 30 ℃ with the optimum pH between 5 to 7 with statistical confidence at P = 0.05. Selection of the suitable isolates under the optimum growth conditions obtained only 4 isolates, which were the isolates no. 1,4, 12, and 13 from Eucalyptus plantation in Yasothon province, Pine forest in Chiangmai province, Eucalyptus plantation in Tak province, and Pine forest in Petchaboon province, respectively. These isolates were used for making inocula, for mycorrhizal formation with P. kesiya and E. camaldulensis seedlings. The effect of inocula of selected P. tinctonus isolates in forming ectomycorrhizas and growth responses in P. kesiya and E. camaldulensis seedlings were studied by using Randomized complete block design (RCBD). The results revealed the increases in height, root collar diameter, dry matter of shoot, root, and total biomass of seedlings after inoculation by ectomycorrhizal P. tinctonus. For pine seedlings, inoculation with P. tinctonus isolate no. 13 increased more growth in height, root collar diameter, dry matter of shoot, root and total biomass in comparison with other isolates. Inoculation of P. tinctonus isolate no. 12 on eucalyptus seedlings increased more growth in stem diameter, dry matter of shoot, root and total biomass in comparison with other isolates. These were statistically verified the significant differences at P = 0.05. These research findings provide information on how to select the appropriate fungal strains to be used for research, development and production of ectomycorrhizal seedlings in reforestation program in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68219 |
ISBN: | 9743316973 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cherdchai_ph_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 722.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 947.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Cherdchai_ph_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.